วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

การขาดธาตุอาหารของพืช


                                    การขาดธาตุอาหารของพืช

ไนโตรเจน
                      การขาดไนโตรเจนของพืชจะทำให้พืชโตช้า  เพราะการสร้างโปรตีนผิดปกติไป  หรือสร้างได้น้อยลง  ทำให้ต้นไม่ผอมเกร็งไม่อ้วนเต็มที่   ถ้าขาดมากใบจะมีลักษณะเหลืองซีด เพราะมีคลอโรฟิลล์ลดลง ถ้ามีไนโตรเจนมากเกินไปจะทำให้พืชต้นอวบอ้วน      ใบใหญ่และเขียวมาก เรียกว่า ภาวะเฝือใบ พืชไม่ผอมแต่ล้มง่าย   ต้นเปราะหักง่าย ออกดอกยากขึ้น ศัตรูพืชมากขึ้น เราต้องให้พืชได้รับไนโตรเจนอย่างพอเหมาะไม่น้อยเกินไปไม่มากเกินไป
การป้องกันแก้ไข
                      ในธรรมชาติพืชจะได้รับฮิวมัสในดิน         จากการสลายตัวของซากพืชซากสัตว์เพราะพวกนี้เมื่อย่อยสลายแล้วจะปลดปล่อยไนโตรเจนออกมามากกว่าแร่ธาตุชนิดอื่นๆ          อาจจะใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยเคมีที่มีเลขตัวหน้าสูงๆ เช่น 30-20-1     ปุ๋ยสูตรเสมอต่างๆ  หรือ 46-0-0 (ยูเรีย)ซึ่งมีค่าไนโตรเจนสูงสำหรับพืช ในการเพิ่มไนโตรเจนแก่ดิน แต่ควรให้ในปริมาณที่พอเหมาะไม่มากเกินไป

ฟอสฟอรัส
                       ธาตุฟอสฟอรัสจะช่วยในการติดดอกผลในพืช        อาการของพืชที่ขาดฟอสฟอรัสคือ ต้นจะแคระแกร็น ใบเล็ก ขนาดต้นเล็กลง  ใบแก่จะมีสีม่วงตามแผ่นใบต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลร่วงหลุดง่าย การออกดอกน้อยลง ถ้าขาดมากไม่ออกจะดอก
การป้องกันแก้ไข
                       โดยการใช้หินฟอสเฟต  หรือภูไมท์ซัลเฟต 10-20 กก.ต่อไร่  ในการบำรุงต้น ส่วนการให้ทางใบจะใช้ปุ๋ยเกล็ด 6-54-18 , 0-52-34 ในอัตราส่วน 50-100กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทั้งนี้การใส่ปุ๋ยต้องดุตามอาการของพืชว่ามีภาวะเฝือใบ       หรือไม่ ถ้าใบเขียวอยู่แล้วให้ลดเลขตัวหน้าลงเป็นการลดไนโตรเจนที่ทำให้พืชเจริญเติบโตจนเกินไป

โพแทสเซียม
                       อาการของพืชที่ขาดธาตุโพแทสเซียมคือ ลำต้นแคระแกร็น แต่ว่าแตกกิ่งก้านสาขามากทำให้ลำต้นอ่อนแอ    การเจริญเติบโตช้า   แผ่นใบมักจะโค้งม้วนจากปลายใบหรือจากขอบใบ ใบอ่อนมีจุดประสีแดงหรือเหลืองระหว่างเส้นใบ  ผิวใบจะมันลื่นกว่าปกติ ใบแก่จะเกิดการไหม้แห้งตามขอบใบลามเข้ากลางใบ พืชจะอ่อนแอต่อโรค ติดเชื้อง่าย
การป้องกันแก้ไข
               โดยทั่วไป โพแทสเซียมจะมีอยู่ในอินทรียวัตถุอยู่แล้วแต่ไม่มากนะ แต่ถ้าเป็นปุ๋ยที่ใช้อยู่ทั่วๆไป ก็เป็นปุ๋ยละลายเร็ว ตัวอย่างปุ๋ยที่มีเลขท้ายสูง เช่น 13-0-46 , 0-21-28 หรือที่มีเลขท้ายอย่างเดียว เช่น 0-0-50 ถ้าจะให้ทางใบควรให้ในอัตราส่วน 50-100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เป็นต้น
แมกนีเซียม
               เป็นธาตุรองที่ขาดไม่ได้ ช่วยในการงอกของเมล็ด การสร้างน้ำมันในพืช การสร้างแป้งในพืชตระxxxลมัน    ถ้าพืชขาดแมกนีเซียมจะทำให้พืชมีใบแก่มีสีเหลือง ยกเว้นเส้นใบ ใบแก่ร่วงเร็ว สีของต้นพืชเขียวไม่เต็มที่ โตช้า ผลผลิตต่ำ ทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ มักจะพบในดินที่ร่วนจัดหรือเป็นทราย ดินที่หมุนเวียนปลูกพืชมานานและขาดการเติมปุ๋ย อีกลักษณะก็คือดินที่เปรี้ยวจัด ,กรดจัด ทำให้ธาตุอาหารถูกชะล้างไปได้โดยง่าย
การป้องกันแก้ไข
ในระยะการเตรียมดินก่อนการปลูก ควรใช้ภูไมท์ซัลเฟตหว่านหรือรองก้นหลุม 10-20 กก.ต่อไร่ (ขึ้นอยู่กับค่า pH ของดิน) หรือเติมวัสดุปูนลงไปเช่นโดโลไมท์ ที่มีส่วนประกอบของ แคลเซียมและแมกนีเซียม คาร์บอเนต ออกฤทธิ์เป็นด่าง นิยมใช้แก้ความเปรี้ยวของดิน   ซึ่งจะให้แร่ธาตุแมกนีเซียม ในกรณีที่ต้องการให้พืชได้รับ แมกนีเซียม ทันที่โดยการฉีดพ่นควรให้ แมกนีเซียมพืช ในอัตราส่วน 20-40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรใช้ในช่วงกำลังออกใบ ติดผล และใช้ในการสะสมอาหารของใบแก่ก่อนการตัดแต่ง
แคลเซียม
                  เป็นธาตุที่จำเป็นมากในการเจริญเติบโต เพื่อสร้างผนังเซลล์ ช่วยในการผสมเกสร รู้จักกันดีในเกษตรกรที่ปลูก มะขามและมะม่วง คือจะช่วยในการติดผลติดฝักดีขึ้น และช่วยการงอกของเมล็ด การขาดแคลเซียมจะทำให้เมื่อมีดอกแล้วก้านดอกไม่แข็งแรง   หลุดร่วงง่าย ปลายยอดคดงอ การเจริญเติบโตช้าใบอ่อนหงิกงอ ใบก็จะคลี่ไม่ดี รากสั้น
การป้องกันแก้ไข
                 ในระยะยาวเราอาจใช้พวกหินฟอสเฟต โดโลไมท์ หินปูนบด ปูนมาร์ล หรือใช้ ภูไมท์ซัลเฟต ที่มีแคลเซียมผสมอยู่ ใส่ลงทางดินจะทำให้พืชมีแคลเซียมใช้อย่างเพียงพอ แต่ควรให้อยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ มากเกินไปจะเป็นด่าง ทำให้ธาตุอาหารถูกตรึงพืชไม่สามารถนำมาใช้ได้
โบรอน
               เป็นธาตุที่พืชต้องการเพียงเล็กน้อยแต่ขาดไม่ได้ การใส่ธาตุโบรอนจะช่วยให้แคลเซียมทำงานได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพยิ่งขึ้น พืชที่ขาดโบรอนจะมีลักษณะ ปลายยอด ปลายราก และใบอ่อนไม่เจริญ ตายอดและตาข้างจะไม่เจริญตายง่าย ใบบิดม้วน     แตกเปราะง่ายลำต้นแคระแเกร็นมักไม่ออกดอก จะพบในช่วงที่พืชพบกับอากาศหนาว     ,ร้อน และขาดน้ำ นอกจากนั้นยังช่วยในการป้องกันไม่ให้ ผลแตก ฝักแตก ไส้กลวง ไส้นิ่ม อีกด้วย
การป้องกันแก้ไข
                การให้โบรอนไม่นิยมให้ทางดินนิยมฉีดทางใบ โดยใช้โบรอนพืช 20-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในช่วงนี้ หรืจะใช้ปุ๋ยที่มีสูตร 14-10-30+0.25 B ใส่ทางดินก็ได้
สังกะสี
               พืชที่ขาดสังกะสีจะมีลักษณะ ใบอ่อนสีเหลืองซีด ปรากฏมีสีขาวประปราย ทำให้เกิดโรคใบแก้วในพืชตระส้ม สังกะสีมีส่วนทำให้พืช ทนหนาวทนร้อนได้ดีหรือที่เรียกกันตามภาษาปุ๋ยว่า เป็นผ้าห่มของพืช ช่วยในการออกดอกในหน้าหนาว
การป้องกันแก้ไข
                ใช้ ซิงก์คีเลต 75% ฉีดพ่นทางใบ 25-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร แต่วิธีที่นิยมโดยทั่วไปคือ การใช้ปุ๋ยจุลธาตุรวมฉีดพ่นทางใบ เช่น ซิลิโคเทรซ โดยให้สังเกตอ่านฉลาก ให้พบว่ามีสังกะสีอยู่ในจุลธาตุนั้นๆด้วย โดยจะฉีดพ่นในอัตราส่วน 5-10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7-15 วัน
กำมะถัน
                 เป็นธาตุอาหารรองที่พืชต้องการระดับปานกลาง พืชที่ขาดกำมะถันจะโตช้าเพราะติดขัดในการสร้างโปรตีน ทั้งใบแก่และใบอ่อนจะมีสีเหลืองซีด มองเห็นเป็นสีเขียวตองอ่อน ต้นอ่อนแอ
การป้องกันแก้ไข
โดยทั่วไปในธรรมชาติจะมีธาตุกำมะถันอยู่เพียงพอ โดยดินที่มีอินทรียวัตถุจะมีกำมะถันอยู่มากเช่นเดียวกับดินที่กำเนิดจากการทับถมของตะกอนแม่น้ำ ส่วนปุ๋ยที่ส่วนประกอบของกำมะถันอยู่เช่น 21-0-0 เป็นต้น
ทองแดง
               ถ้าพืชขาดทองแดง ตายอดชะงักการเจริญเติบโต ตาจะกลายเป็นสีดำ ใบอ่อนจะมีสีเหลือง แล้วต่อมาทั้งต้นก็ชะงักการเจริญเติบโต
การป้องกันแก้ไข
                พืชจะได้รับทองแดงบางส่วนอยู่แล้ว จากการใช้อินทรียวัตถุปรับปรุงดิน เช่น ใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกปุ๋ยอินทรีย์ และที่ได้จากการฉีดคอบเปอร์เพื่อใช้แก้ปัญหาโรคพืช การใช้มากหรือบ่อยเกินไปก็จะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโตเช่นกัน ทางที่ดีควรฉีดพ่นด้วยจุลธาตุรวมที่มีส่วนผสมของทองแดงอยู่ด้วยจะดีกว่า เช่น ซิลิโคเทรซ เป็นต้น
แมงกานีส
                มีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์แสง ถ้าขาด ใบอ่อนจะมีสีเหลือง เส้นใบจะมีสีเขียวต่อมาจะเหี่ยวแล้วร่วงไปซึ่งจะพบอยู่ในอินทรียวัตถุปรับปรุงดินอยู่แล้ว เช่น ใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกปุ๋ยอินทรีย์
การป้องกันและแก้ไข
                การเติมแมงกานีสลงไปในปริมาณมากจะเป็นพิษต่อพืช ทางที่ดีควรใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกปุ๋ยอินทรีย์ หรือให้สารจุลธาตุรวมที่มีแมงกานีสอยู่ด้วย ฉีดพ่นเช่นซิลิโคเทรซ เป็นต้น
เหล็ก
               เป็นจุลธาตุที่พืชต้องการเพียงเล็กน้อยแต่ขาดไม่ได้อีกอย่างหนึ่ง ช่วยในการสังเคราะห์แสง ในดินที่เป็นกรดมากๆจะทำให้ธาตุเหล็กละลายออกมามากจนเกินไปเป็นพิษต่อพืช แต่ถ้าขาด จะแสดงอาการใบอ่อนมีสีขาวซีด ในขณะที่ใบแก่ยังเขียวจัด
การป้องกันแก้ไข
                ใช้วัสดุปูน เช่นโดโลไมท์ และหินฟอตเฟต ป้องกันไม่ให้ดินเป็นกรดเกินไป ถ้าขาดธาตุเหล็ก ให้ใส่ดินลูกรังและใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ ใส่กลบลงไปด้วย ซึ่งดินลูกรังจะค่อยๆปลดปล่อยธาตุเหล็กออกมา หรืออาจใช้วิธีฉีดพ่นแร่ธาตุเสริมทางใบที่มีธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย เช่น ซิลิโคเทรซ ซึ่งการฉีดพ่นพืชจะตอบสนองโดยการสร้างคลอโรฟิลล์มากมายจนใบเขียวจัดหรือที่เรียกกันว่า เขียวจนดำ นั้นเอง
โมลิบดินัม
                 พืชต้องการโมลิบดินัมเพียงเล็กน้อยแต่ขาดไม่ได้ ช่วยทำให้พืชใช้ไนโตรเจนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ถ้าขาดจะแสดงอาการคล้ายๆกับการขาดไนโตรเจนคือ ใบโค้งคล้ายกับถ้วย อาจจะมีจุดเหลืองๆอยู่ตามแผ่นใบ
การป้องกันแก้ไข
                  สามารถแก้ไขโดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ หรือฉีดพ่นด้วยจุลธาตุรวมที่มีโมลิบดินัมอยู่ด้วย
คลอรีน
                 ในประเทศไทยไม่ค่อยมีปัญหาการขาดธาตุตัวนี้ ยกเว้นในห้องปฏิบัติการที่ทำให้ขาดคลอรีนจริงๆเท่านั้น เพราะว่าจะมีอยู่ในปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีต่างๆอยู่แล้ว จึงทำให้พืชได้รับคลอรีนอย่างเพียงพอตลอดเวลา ถ้าขาดคลอรีนจะทำให้พืชใบเหี่ยวง่าย ใบซีด และบางส่วนของใบก็ตาย แต่ไม่เคยพบปัญหาการขาดคลอรีน จึงไม่จำเป็นต้องหาวิธีแก้ไขแต่อย่างใด
                 โดยทั่วไปธาตุอาหารต่างๆที่มีอยู่ในดินจะถูกพืชนำมาใช้ได้ดี ในดินที่สภาพความเป็นกรดอ่อนๆในช่วง pH 6-7 ในการให้ธาตุอาหารต่างๆแก่พืชสิ่งสำคัญที่จำเป็นต้องทำคือ การตรวจค่าความเป็นกรดด่างของดินหรือ ค่า pH นั้นเอง ถ้าหากดินมีความเป็นกรดจัด หรือด่างจัด จะทำให้ธาตุอาหารต่างๆที่มีอยู่ในดินจะถูกจับตรึงเอาไว้พืชไม่สามารถดึงธาตุอาหารนั้นๆมาใช้ได้ ทั้งๆที่ในดินมีธาตุเหล่านั้นอยู่แล้วอย่างเพียงพอ ทำให้พืชแสดงอาการขาดธาตุอาหารตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ดังนั้นก่อนที่จะใช้ปุ๋ย ยา และฮอร์โมน แก่พืชทางดินจึงควรที่จะตรวจสอบความเป็นกรดเป็นด่างของดินเสียก่อน ก่อนที่จะพิจารณาการใช้ปุ๋ย ยาและฮอร์โมนต่อไป
                 ในกรณีที่ดินเป็นกรดจัด ควรเติมวัสดุปูนต่างๆเพื่อลดความเป็นกรดของดิน ก่อนที่จะทำการปลูกพืช ส่วนดินที่เป็นด่างก็ควรที่จะเติมอินทรียวัตถุ เช่นปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ซึ่งจะให้กรดอินทรีย์ทำลายความเป็นด่างของดินได้
              การใช้ภูไมท์ ภูไมท์ซัลเฟต หรือแร่ม้อนท์นอกจากจะสามารถลดความเป็นด่างของดินแล้ว ยัง ใช้ผสมร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยเคมี โดยปุ๋ยที่ถูกผสมจะกลายเป็นปุ๋ยละลายช้า คือปกติปุ๋ยที่มีอยู่ในปัจจุบันจะละลายหมดทันที 100% เมื่อถูกรดด้วยน้ำมากๆหรือฝนตกหนัก ปุ๋ยละลายออกมาหมดเมื่อน้ำไหลก็จะพาปุ๋ยไปด้วย ประมาณได้ว่าปุ๋ยจะถูกชะล้างไป 80-90 % พืชได้ใช้แค่ 10-20 % เท่านั้น การใช้ ภูไมท์ ภูไมท์ซัลเฟตหรือแร่ม้อนท์ ก็ตามแต่ พวกนี้จะมีความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวก ที่สูงมากจะจับปุ๋ยไว้ทั้งแอมโมเนีย และโพเทสเซียมให้กลายเป็นปุ๋ยละลายช้า พืชสามารถดึงแร่ธาตุเหล่านั้นไปใช้ตามความต้องการ จึงทำให้พืชใช้ประโยชน์จากปุ๋ยได้ถึง 80-90 % โดยที่ถูกชะล้างไปกับน้ำคาเพียง 10-20 % เท่านั้น เท่ากับเป็นการช่วยลดต้นทุนในการผลิตลงได้เป็นอย่างมาก และยังทำให้ดินของเราสามารถใช้ทำการเกษตรได้อย่างยั่งยืนต่อไป


















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น