วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

โรคของสับปะรด


โรคของสับปะรด

                           จะว่าไปแล้วสับปะรดเป็นพืชเกิดโรคได้ยาก   เป็นพืชที่มีต้นตะกุลเดียวกับกระบองเพชร  จึงทนแล้งที่สุด  สามารถวางตากแดดได้นานเป็นเดือน โดยไม่เสียหาย  แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ต้องการน้ำ  จริงๆแล้วสับปะรดต้องการน้ำมากกว่าพืชหลายชนิดด้วยซ้ำไป  เนื่องจากต้องการน้ำไปเก็บไว้ในหัวเพราะเป็นที่ช่ำน้ำ   ส่วนประกอบหลักของมันคือน้ำ  แต่ถ้าน้ำมากไปก็ไม่เจริญเติบโตได้  นอกจากน้ำแสงแดดก็เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับสับปะรด  ยิ่งช่วงมีหัวต้องการมากแต่ถ้าแรงเกินไปก็อาจเกิดอาการหัวไหม้ได้  จึงต้องคุมหัวช่วยเสมอ 
                           โรคสับปะรด  จะว่าไปแล้วมีสาม สี่แบบ
1.โรคเกิดจากเชื้อโรค  เช่น  เน่าแห้งเกิดจากเชื้อไวรัส   เน่าช่ำน้ำเกิดจากเชื้อแบคทีเลีย เป็นต้น
2.โรคเกิดจากธรรมชาติทำลาย   เช่น หัวไหม้ เกิดจากแสงแดดที่ร้อนเกิน 
3.โรคที่เกิดจากการขาดธาตุอาหาร 
4.โรคที่เกิดจากศัตรูพืชทำหลาย
เพราะฉะนั้นก่อนที่จะตัดสินใจรักษาต้องดูให้แน่ก่อนว่าอาการที่สับปะรดเป็นเกิดจากอะไร
                แต่ส่วนใหญ่ที่พบว่าสับปะรดเป็นมากที่สุดคือเน่าแห้ง  เกิดจากเชื้อไวรัสเข้าทำลาย  ทำให้รากหยุดการเจริญเติบโต  เมื่อรากเริ่มเน่าจะไปแสดงอาการที่ใบ คือจะเปลี่ยนสีเป็นสีปูนแห้งจากปรายใบเข้าหาโคนใบ  เมื่อมีหัวก็จะแกรนไม่เจริญเติบโต  บางที่เรียกว่าโรคเออ  โรคนี้เป็นแล้วรักษาไม่หายต้องใช้สารกำจัดเชื้อรา ผสมสารฆ่าแมลงฉีดพ่นเพื่อป้องกันการลุกลามของโรค  ถือว่าเป็นโรคที่สำคัญอันดับที่หนึ่งก็ว่าได้  
             สารเคมีที่แนะนำคือ  ฟอสฟอรัส  แอซิด 40% อัตราการใช้  2000  ซีซีหรือ 2 ลิตรผสมน้ำ  1000  ลิตร(ราคาโดยเฉลี่ยอยู่ที่ ลิตรละ 290-350 บาท)
            สารฆ่าแมลงที่แนะนำ  ควรเป็นสารที่กำจัดมดได้ดี เพราะเป็นตัวพาหะของโรค  เช่น ไซเพอ เมทรีน35%    อัตราการใช้500 ซีซี หรือครึ่งลิตร ต่อน้ำ 1000  ลิตร      อีกตัวคือ คลอไพรีฟอส 40   อัตราการใช้   หนึ่งลิตร ต่อน้ำ 1000   ลิตร
             เพื่อความประหยัดค่าแรงฉีดพ่นก็สามารถผสมสารทั้งสองฉีดพ่นพร้อมกันก็ได้
             ที่สำคัญขณะเกิดโรคไม่ควรใส่ปุ๋ยกลุ่มไนโตรเจน  เพราะจะไปทำให้โรคระบาดได้ง่ายขึ้น    
             อีกโรคหนึ่ง  ที่พบมากก็คือ ผลแกรนมักจะเกิดช่วงใกล้เก็บเกี่ยว  ทำให้ออกจำหน่ายไม่ได้    โรคเกิดจาก สภาพอากาศเปลี่ยนจากร้อนเป็นเย็นจนสับปะรดปรับตัวไม่ทัน  เช่นอากาศแล้งแล้วเกิดฝนตกอย่างมาก   ทำให้เชื้อราเข้าทำลายซึ่งจะมีอยู่สองชนิด  ทำให้สับปะรด มีอาการเป็นจุดสีน้ำตาลจนถึงดำที่เนื้อสับปะรด
             โรคนี้เป็นแล้วรักษาไม่ได้   และไม่ต้องใช้สารกำจัดเชื้อราฉีดพ้นแต่ประการได  เพียง แต่อย่าให้สับปะรดขาดน้ำนานๆๆ   บำรุงให้สับปะรดสมบูรณ์  เท่านั้น โดยการฉีดพ่นอาหารเสริมและปุ๋ยเคมีที่เป็นสูตรเสมอเช่น  21-21-21 , 20-20-20 , (ต้องเป็นปุ๋ยชนิดเกร็ดเท่านั้นหรือชนิดน้ำเพื่อป้องการสารตกค้างในสับปะรด)ผสม ธาตุแคลเซียม-โบรอน   และจูลธาตุ  ฉีดพ่นทุก 20 วันเท่านั้นก็พอ
              อีกอาการหนึ่งที่ไม่ใช้โรคแต่ก็เหมือนเป็นโรค  คือ  หัวไม่เจริญเติมโต หรือโตช้า  ต้นสับปะรดใหญ่แต่หัวเล็กถึงแม้มีจำนวนตามากก็ไม้เจริญเติบโตใหญ่เท่าที่ควร
             อาการนี้เกิดจากการพ่นสารที่ต้นเพื่อบังคับออกดอก  แล้วมีสับปะรดจำนวนหนึ่งกำลังจะออกหัวพอดีเมื่อโดนสารบังคับออกหัว ทำให้สับปะรดมีอาการแก่ทันที
            การป้องกันคือต้องสำรวจแปลงก่อนบังคับออกดอก  ถ้ามีสับปะรดออกปีหรือออกเองจำนวนหนึ่ง  ไม่ควรบังคับออกดอกโดยวิธีพ่นสารทับทั้งแปลง  ควรเปลี่ยนเป็นตักหยอดที่หัวแทนเพื่อป้องกันต้นที่กำลังออกปีเสียหายจากสาร อีทีฟอน  
            อาการโรคที่พบมากก็มีเพียง สามอาการเท่านั้นส่วนอื่นๆนั้นไม่คอยพบ  ส่วนเน่าทั้งต้นนั้นมักพบช่วงปลูกใหม่  เกิดจากการเก็บรักษาต้นไม่ดีเสียเป็นส่วนใหญ่  ทำให้เชื้อแบคทีเลียเข้าทำลายได้  เมื่อฝนตกมากก็ทำให้เน่าทั้งต้นเป็นปกติ  จึงควรลีกเลี่ยงไม่ปลูกในฤดูฝน  ช่วงที่เหมาะสมในการปลูกคือ  ธันวาคมถึงเมษายน  และไม่ควรไถแปลงปลูกในฤดูฝน นอกจากสับปะรดไม่งามแล้วทำให้ดินอมโรคแม้เป็นดินใหม่ก็ตาม  ควรไถแปลงช่วงแล้งเพราะมีแสงแดดมากซึ้งจะช่วยทำลายเชื้อโรคด้วย   การไถแปลงในฤดูแล้งดินจะโปรง  ระบายน้ำได้ดีจึงทำให้สับปะรดสมบูรณ์และต้านทานโรคด้วย

        เขียนจากประสพการณ์ล้วนๆๆ
            

3 ความคิดเห็น:

  1. ผมเคยทำงานวิจัยทำสารชีวภาพ รักษาโรคไวรัส ในสับปะรด (โรคใบม่วง) พริก มะละกอ และอื่นๆ ให้บริษัทๆต่างประเทศ ได้ผลดี
    ขอโอกาส นำเผยแพร่ผลงานนะครับ

    ลองแวะเข้าชมที่ –>> http://www.biocennk.com/

    ตอบลบ
  2. ความรู้ทั้งนั้นครับ ขออีกครับ เรื่องสับปะรด

    ตอบลบ
  3. ดีมากๆ เพิ่งปลูกได้2ปี ปันหาเยอะโดยเฉพาะเชื้อราอีกหลายอย่าง ขอบคุณให้ความรู้(พัทลุง)

    ตอบลบ