วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ดัดแปลงรถ ว่าด้วยเรื่องยกสูง

การยกสูงหรือการทำให้ตัวรถสู้จากพื้นถนนมากกว่ารถยนต์ที่ผลิตจากโรงงานมักจะมีคำถามเสมอว่าสูงได้แค่ไหนถึงจะผิดกฎหมาย
                                                      ในพระราชบัญญัติรถยนต์ก็ระบุไว้อย่างชัดเจนเช่นกันว่าระดับกึ่งกลางไฟหน้ากับพื้นถนนต้องไม่สูงกว่า 135 เซนติเมตรแต่ถ้าไฟหน้าสูงไม่เกิน แต่ตัวรถสูงมาก มีการดัดแปลงสภาพมาก เช่นดัดแปลงเพลา ยกสูงมาก หรือล้อยืนออกมานอกตัวถังมากต้องมีวิศวกรรองรับการดัดแปลงสภาพ และต้องแจ้งกับกรมขนส่งทางบกให้เป็นที่เรียบร้อยก่อนจะใช้งานได้และถ้ามีการดัดแปลงให้ตัวรถสูงเกินกว่ากฎหมายกำหนดจะมีโทษปรับไม่เกิน 2000 บาทตาม พ.ร.บ รถยนต์ มาตร14และมาตรา 60 (ปัจจุบันกฎข้อนี้อยู่ในระหว่างการพิจรณา ในการเปลี่ยนความสูงให้ต่ำลงมาเนื่องจากรถจำพวก 4WD ที่มีการติดตั้งไฟหน้าแบบซีนอนและดัดแปลงสภาพให้สูงขึ้นจนสร้างอาจสร้างความเดือดร้อน แก่ผู้ใช้ถนนร่วม

ดัดแปลงรถ ว่าด้วยโหลดเตี้ย

โหลดต่ำ แค่ไหนถึงเรียกว่าผิด
                               ในพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ผู้ใดฝ่าฝืนตามมาตรา14รถใดที่จดทะเบียนแล้ว ห้ามมิให้ผู้ใดเปลี่ยนแปลงตัวรถหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของรถให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้และใช้รถนั้น เว้นแต่เจ้าของรถนำรถไปให้นายทะเบียนตรวจสภาพก่อนและมาตรา60ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาทเรื่องของระดับไฟหน้ากับพื้นถนนไม่ได้ระบุว่ารถจะเตี้ยโหลดต่ำแค่ไหนถึงจะผิด จึงอาศัยการวัดระยะกึ่งกลางของไฟหน้ากับระดับพื้นถนนต้องไม่ต่ำกว่า 40 เซนติเมตร และไฟตัดหมอกต้องไม่ต่ำกว่า 25 เซนติเมตร จากพื้นถนน แต่ถ้าไฟหน้า หรือไฟตัดหมอกสูงกว่า แต่รถใส่สปอยเลอร์จนเตี้ยต่ำแทบจะลากพื้น ที่ระบุในกฎกระทรวงเรื่องรถยนต์ พ.ศ. 2548 ไว้ชัดเจน เช่นต่ำมากจนต้องตะแคงรถเพื่อข้ามลูกระนาดหรือคอสะพานแบบนี้จะใช้ดุลพินิจจากเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือนายช่างตรวจสภาพกรมขนส่ง ว่าเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือสร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเอง และผู้อื่นหรือไม่ ถ้าพินิจว่าผิด ก็ถือว่าผิด

ดัดแปลงรถ ว่าด้วยเรื่องป้ายทะเบียน

                                                    กฎหมายที่ว่าถึงป้ายทะเบียนรถยนต์
                   ในพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ผู้ใดฝ่าฝืนตามมาตรา11รถที่จดทะเบียนแล้ว ต้องมีและแสดงแผ่นป้ายและเครื่องหมาย ครบถ้วนถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และมาตรา60 ในเรื่องเกี่ยวกับค่าปรับ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท เรื่องพระราชบัญัญติรถยนต์ ป้ายทะเบียนที่นำมาตัดต่ออัดกรอบใหม่เป็นป้ายยาว ผิดข้อหาดัดแปลง เปลี่ยนแปลงเอกสารของทางราชการเจ้าหน้าที่มีสิทธิเรียกปรับ ระบุโทษไม่เกิน 2,000 บาท รวมถึงการติดป้ายเอียง แบบแหงนขึ้น และ แหงนลง มีวัสดุมาปิดทับเช่นทองคำเปลว เจ้าหน้าที่อาจฟันธงว่า มองเห็นไม่ชัดเจนก็มีโทษปรับเช่นเดียวกัน  
ติดทองคำเปลวที่ทะเบียนรถ ผิดกฎหมาย

                      มาตรา 14 รถใดที่จดทะเบียนแล้ว ห้ามมิให้ผู้ใดเปลี่ยนแปลงตัวรถหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของรถให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้และใช้รถนั้นเว้นแต่เจ้าของรถนำรถไปให้นายทะเบียนตรวจสภาพก่อนมาตรา60ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 6 วรรคสองและวรรคสาม มาตรา 11 มาตรา 12 วรรคหนึ่ง มาตรา 13 วรรคหนึ่ง มาตรา 14 มาตรา 16 วรรคหนึ่ง มาตรา 17 วรรคหนึ่งและวรรคสอง มาตรา 18 วรรคหนึ่ง มาตรา 20 วรรคหนึ่ง มาตรา 21 มาตรา 22 วรรคหนึ่ง มาตรา 27 วรรคหนึ่ง มาตรา 56 หรือมาตรา 57 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
คนส่วนใหญ่มีความเชื่อส่วนบุคคลในการติดทองคำเปลวโดยไม่ทราบว่าการกระทำเช่นนี้ผิดกฎหมาย ป้ายทะเบียนรถควรมีลักษณะพื้นสีขาว สามารถเห็น หมวดอักษร หมายเลขทะเบียนรถ จังหวัด ได้ง่ายและชัดเจน ดังนั้น หากมีการติดทองคำเปลวในลักษณะที่ปิดบังตัวอังษร หมายเลขทะเบียน รวมถึงการตกแต่งในลักษณะอื่นๆ ด้วย เช่น การติดสติกเกอร์ ติดลวดลาย กราฟฟิก ต่างๆ อาจทำให้ป้ายทะเบียนนั้นถูกปิดบัง ดังนั้น เพื่อไม่ให้ผู้ที่ใช้รถผิดกฎหมายมีช่องทางในการปิดบังตัวอักษรหมายเลขรถยนต์และจังหวัดจึงได้มีกฎหมายบังคับเรื่องนี้ตามพระราชบัญญัติรถยนต์พ.ศ.2522ตามมาตรา 14 ประกอบมาตรา 60 หากผู้ใดฝ่าฝืน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท นอกจากจะมีความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์แล้ว ยังมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ฐานปลอมแปลงเอกสาร