วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

แมลวันผลไม้


แมลงวันผลไม้

แมลงวันผลไม้       (Oriental   fruit    fly )
ชื่อทางวิทยาศาสตร์    Bactrocera    dorsalis   Hendel
รูปร่างลักษณะ
                 เป็นแมลงขนาดเล็ก  ส่วนหัว  อก  และท้องมีสีน้ำตาลอ่อน  ที่สันหลังอกมีแถบสีเหลืองทองเป้งแห่งๆ  ส่วนอกกว้าง  2  มิลลิเมตร  ส่วนท้องกว้าง 3 มิลลิเมตร   ปีกใสจากปลายปีก   กว้าง  15 มิลลิเมตร  หลังการผสมพันธ์  ตัวเมียจะวางไข่โดย  ใช้อวัยวะวางไข่แทงลงใต้ผิวผลไม้  ไข่มีลักษณะยาวรี  ระยะไข่ 2-4 วัน  เมื่อฝักออกจากไข่ใหม่ๆ ตัวหนอนมีสีขาวใสเมื่อโตเต็มที่มีขนาด  8-10 มิลลิเมตร ระยะหนอน 7-8 วัน เมื่อเข้าดักแด้เริ่มแรกมีสีนวล  หรือสีเหลืองอ่อน  และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล  ระยะดักแด้ 7-9 วัน แล้วจึงออกเป็นตัวเต็มวัย   เมื่อตัวเต็มวัยอายุ 12-14 วัน จะเริ่มผสมพันธุ์และวางไข่  ตัวเมียมีการผสมพันธุ์  กับตัวผู้หลายครั้ง ตัวเมียตัวหนึ่งๆสามารถวางไข่ได้ประมาณ 1,300 ฟอง  วงจรชีวิตใช้เวลาประมาณ  3-4 สัปดาห์
การทำลาย



                  แมลงวันผลไม้จะทำความเสียหายกับผลไม้ช่วง  วางไข จนถึงระยะเป็นตัวหนอน  ซึ้งจะอาศัยอยู่ในผลไม้  ทำให้ผลไม่เน่าเสียหายร่วงหล่นลงพื้น    ตัวหนอนจะออกมาเพื่อเข้าดักแด้ในดินแล้วจึงออกเป็นตัวเต็มวัย    แมลงวันผลไม้จะวางไข่ผลไม้ใกล้สุกและมีเปลือกบาง  ในระยะแรกจะสังเกตได้ยาก  อาจพบอาการช้ำบริเวณผิวใต้ผิงเปลือกเมื่อหนอนโตขึ้นเรื่อยๆ  จะทำให้ผลไม้เน่าเละและมีน้ำไหลออกมาทางรูที่หนอนเจาะออกมาเพื่อเข้าดักแด้  ผลไม้ที่ถูกทำลายนี้มัก  จะมีโรคและแมลงชนิดอื่นๆ เข้าทำลายซ้ำ
  การป้องกันกำจัด
1.ทำความสะอาดบริเวณแปลงเพราะปลูก  โดยการทำลายผลไม่ที่เน่าเสียจากการทำลายของแมลงวันผลไม้  ซึ้งสามารถหยุดยั้งการเพิ่มจำนวนของประชากรได้ระดับหนึ่ง
2. ห่อผลไม้
3.ควบคุมโดยชีววิ ธี  แมลงวันผลไม้มีศัตรูทางธรรมชาติคือ มดคันไฟ  แตนเบียนหนอนดักแด้
4.ฉีดพ่นด้วยสารฆ่าแมลง    เป็นการลดปริมาณลงเท่านั้นและต้องพ่นซ้ำอยู่บ่อยๆจึงจะได้ผล
5.ใช้สารล่อ
                 การใช้สารล่อนี้สามารถดึงดูดได้เฉพาะตัวผู้เท่านั้น  และการใช้สารล่อนี้ต้องคำนึงถึงตัวที่จะล่อด้วย  เช่น  เมทธิล  ยูจินอล  ใช้ล่อ  Bactrocera  dorsalis เท่านั้น  ส่วน  คิว-ลัวร์  ใช้ล่อ B.cucurbitae   เป็นต้น
6. การใช้เหยื่อล่อทำลาย 
                 โดยการนำเอายีสต์โปรตีนออโตไลเสท  ผสมกับสารฆ่าแมลงมาเป็นเหยื่อล่อ  โดยใช้ ยีสต์โปรตีนออโตไลเสท  800  ซีซี  ผสมสารฆ่าแมลง  มาราไธออน 83%  จำนวน  280 ซีซี  ผสมน้ำ 20 ลิตร  พ่นเป็นจุดๆเท่านั้น   วิธีได้ผลดีมาก
7.การทำหมันแมลง
                  โดยการฉายแสงรังสีแกมมา  จากนั้นก็นำไปปล่อยในธรรมชาติ  เพื่อลดปริมาณลง  แต่วิธีนี้ใช้ค่าใช้จ่ายมากไม่เหมาะกับเกษตรกรทั่วไป
8.การกำจัดหลังเก็บเกี่ยว
               การเก็บผลไม้ช่วงแก่จัดอาจมีแมลงวันผลไม้แฝงอยู่  ฉะนั้นจึงต้องใช้วิธีกำจัดเช่น  การรมยา  โดยใช้สารรม  (FumiGant)  บางตัว  เข้ามารมแมลง  เช่น เมทธิลโบรไมด์  เป็นต้น
                 การใช้วิธีอบไอน้ำร้อน   เป็นวิธีที่ใช้กันอยู่ทางการค้าโดยทั่วไป  เช่น ฮาวาย  ไต้หวัน    และไทยเรา  เป็นต้น   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น