วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555

กระบวนการบังคับคดี







กระบวนการบังคับคดี EXECUTION PROCEEDING 
เมื่อศาลมีคำพิพากษาและได้ส่งคำบังคับให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ โจทก์จะต้องดำเนินการออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์สินของจำเลย โดยเมื่อหมายบังคับคดีถูกส่งไปยังกรมบังคับคดี โจทก์มีหน้าที่จะต้องไปตั้งเรื่องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี กรมบังคับคดีแบ่งเป็น การยึดและการอายัด

- การยึด ได้แก่ ยึดที่ดิน, บ้าน, อาคาร, รถยนต์, หุ้น, สังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

- การอายัด ได้แก่ อายัดเงินฝากธนาคาร, เงินเดือน (กรณีเอกชน, รัฐวิสาหกิจ) สิทธิเรียกร้องจากบุคคลภายนอก

หลักฐานที่ต้องยื่นต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีในการตั้งเรื่อง
1. หนังสือมอบอำนาจยึดทรัพย์ (ใช้แบบฟอร์มของกรมบังคับคดี)

2. บัตรประชาชน, หนังสือรับรองบริษัทของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ (กรณีโจทก์เป็นบริษัท)

3. หลักฐานแสดงสถานะของจำเลย, หนังสือรับรองบริษัท, หนังสือทะเบียนราษฎร

4. หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ของจำเลย เช่น โฉนดที่ดิน, สัญญาซื้อขาย, สัญญาจำนอง, หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด, ทะเบียนบ้าน, คู่มือการจดทะเบียนรถยนต์, ใบหุ้น และอื่น ๆ

5. กรณีอายัดเงินฝากธนาคาร เช่น เลขบัญชีธนาคาร, ประเภทบัญชี, ชื่อธนาคาร, อายัดเงินเดือน เช่น ชื่อสถานที่ทำงาน, อัตราเงินเดือน, จำนวนเงินที่ขออายัด, อายัดสิทธิเรียกร้อง เช่น สัญญาเช่า, สิทธิการเช่า, สิทธิเก็บกิน, ค่าชดเชย, ค่าทดแทนโดยการขออายัดจะต้องมีข้อมูลและเอกสารเพียงพอที่จะให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกหมายให้ถูกต้องครบถ้วน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะต้องสืบหาให้พร้อมเสียก่อนจึงจะดำเนินการได้

6. ค่าธรรมเนียมการยึดและการอายัด อย่างละ 600 บาท

7. ระยะเวลาการยึดเมื่อตั้งเรื่องในวันใด และมีหลักฐานครบถ้วน ในวันรุ่งขึ้นสามารถนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์ได้ทันที

8. ระยะเวลาการอายัดจะใช้เวลาในการพิมพ์หมายอายัด 2 วันทำการ รวมทั้งการตรวจสอบหลักฐานด้วย เมื่อหมายอายัดพิมพ์เสร็จโจทก์สามารถนำส่งได้เอง หรือจะให้เจ้าพนักงานบังคับคดีนำส่งบุคคลภายนอกก็ได้

 การยึดทรัพย์อสังหาริมทรัพย์
โจทก์จะนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์สินของจำเลยงงงในกรณีที่เป็นอสังหาริมทรัพย์งง โดยจะต้องส่งหลักฐานเพิ่มเติมในวันยึด คือ

1. สำเนาทะเบียนบ้านของจำเลย หรือหนังสือรับรองนิติบุคคล ซึ่งจะต้องรับรองไว้ไม่เกิน 1 เดือน

2. แผนที่การเดินทางไปยังที่ตั้งของทรัพย์ที่ยึด

3. ภาพถ่ายปัจจุบันของทรัพย์ที่ยึด

4. ราคาประเมินที่ดิน, ห้องชุด ที่เจ้าพนักงานรับรอง

5. ค่าธรรมเนียมการขายทอดตลาด 2,000 บาท

6. รายชื่อเจ้าของที่ดินข้างเดียว 4 ทิศ ในกรณีทรัพย์สินอยู่ในเขตอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีกรุงเทพมหานคร การยึดทรัพย์ใช้เวลา 1 วันทำการ

แต่ถ้าทรัพย์สินอยู่ในเขตต่างจังหวัดจะต้องให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกหนังสือบังคับคดีแทนไปยังเขตอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีในจังหวัดนั้น ๆ โดยจะต้องไม่ตั้งเรื่องใหม่ เสียค่าธรรมเนียม 600 บาท แล้วจึงนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์สิน

 กระบวนการหลังจากยึดอสังหาริมทรัพย์
1. เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสืออายัดไปยังสำนักงานที่ดิน

2. ส่งหมายแจ้งจำเลย

3. ส่งหมายสอบถามราคาประเมินไปยังสำนักงานประเมินทรัพย์สินกลาง

4. ส่งหมายแจ้งผู้รับจำนองเพื่อให้ส่งโฉนดมาใช้ในการขายทอดตลาด

5. ขออนุญาตศาลเพื่อขายทอดตลาด

6. พิมพ์หมายประกาศขายทอดตลาด

7. ขายทอดตลาด

ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 6 เดือน 

การขายทอดตลาด



กฎระเบียบ/การขายทอดตลาด
ระเบียบข้อกฎหมายการขายทอดตลาด

1. การขายทอดตลาดที่ดิน หรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ให้ผู้เข้าสู้ราคาลงชื่อ พร้อมที่อยู่ในสมุดรายงานการขายทอดตลาด

2. ผู้ที่เข้าสู้ราคาในนามบุคคลอื่น ต้องแสดงใบมอบอำนาจต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ก่อนการขายทอดตลาด ถ้าไม่แสดงใบมอบอำนาจ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะถือว่า ผู้เข้าสู้ราคากระทำในนามของตนเอง ซึ่งถ้ามีกรณีจะต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ผู้เข้าสู้ราคาจะขอเปลี่ยนใส่ชื่อบุคคลอื่น โดยอ้างว่าตนเป็นตัวแทนมิได้

3. การเข้าสู้ราคาใช้วิธีให้ราคาด้วยปากเปล่า หากเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่า ราคาต่ำไป เจ้าพนักงานบังคับคดี มีอำนาจถอนทรัพย์ออกจากการขายทอดตลาดได้

4. เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นราคาสมควรจะขานราคา พร้อมทั้งนับ 1 - 3 ในระหว่างนี้ผู้อื่นอาจเข้าสู้ราคาอีกได้ และก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ ผู้ให้ราคาสูงสุด อาจถอนคำสู้ราคาได้ โดยไม่ต้องผูกพันการให้ราคาของตน

5. การขายทอดตลาดบริบูรณ์ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขานราคา พร้อมทั้งนับ 3 และเคาะไม้

6. ผู้ซื้อทรัพย์จะต้องวางเงินเป็นประกันในการเสนอราคาต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นจำนวนเงินคนละ50,000.- บาท หรือตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดไว้เป็นกรณีพิเศษ และหากซื้อได้ให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการชำระราคาพร้อมทำสัญญาชำระเงินส่วนที่เหลือภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันซื้อเป็นต้นไป

7. หากผู้ซื้อได้จากการขายทอดตลาดไม่วางเงินตามเงื่อนไข และเจ้าพนักงานบังคับคดีนำทรัพย์นั้น ขายทอดตลาดใหม่ได้ราคาต่ำกว่าราคาที่ผู้ซื้อเดิมให้ไว้ ผู้ซื้อเดิมจะต้องรับผิดชอบในส่วนที่ขาดพร้อมทั้งค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น