วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

การว่าความ และการถามพยาน การร่างฟ้องคดีอาญา


การว่าความและการถามพยาน
การร่างฟ้อง คดีอาญา

โดย
นาย ชาฤทธิ์       พรมขำ



หลักการร่างฟ้องคดีอาญา
ปวิอ. มาตรา ๑๕๘ ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือ และมี
(๑)                        ชื่อศาลและวันเดือนปี
(๒)                       คดีระหว่างผู้ใดเป็นโจทก์ ผู้ใดจำเลย และฐานความผิด
(๓)                       ตำแหน่งพนักงานอัยการผู้เป็นโจทก์ ถ้าราษฎรเป็นโจทก์ให้ใส่ชื่อตัว  
       .    นามสกุล อายุ ที่อยู่ ชาติและบังคับ
(๔)                       ชื่อตัว นามสกุล อายุ ที่อยู่ ชาติและบังคับของจำเลย
(๕)                       การกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและ   
                 รายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้ง
                 บุคคลหรือสิ่งของทีเกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจ
                 ข้อหาได้ดี
ในคดีหมิ่นประมาท
              ถ้อยคำพูด หนังสือ ภาพขีดเขียนหรือสิ่งอื่นอันเกี่ยวข้องกับข้อหมิ่นประมาท ให้กล่าวไว้โดยสมบูรณ์หรือติดมาท้ายฟ้อง
(๑)                        อ้างมาตราในกฎหมายที่บัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด
(๒)                       ลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง

มาตรา ๑๕๘ (๑) ชื่อศาลและวันเดือนปีคือ
       1.  ศาลชั้นต้นที่โจทก์นำคดีมาฟ้อง
        2.   ทำให้ทราบถึงเขตอำนาจศาล
        3.   วันเดือนปี ที่โจทก์นำคดีมายื่นฟ้องต่อศาล
        4.   ทำให้ทราบว่าคดีขาดอายุความหรือไม่
        5.   คดีอาญา ศาลยกขึ้นยกฟ้องได้เลย (ฎีกา ๑๕๓๓/๒๕๔๘)
มาตรา ๑๕๘(๒) ผู้ใดเป็นโจทก์ จำเลยและฐานความผิดทำให้
1.              ทราบในเบื้องต้นว่า การเป็นการฟ้องคดีระหว่างใคร
2.              หากราษฎรเป็นโจทก์  ต้องไต่สวนมูลฟ้อง
3.              ฐานความผิด ทำให้ทราบว่าความผิดที่ฟ้องนั้นมีโทษเท่าใด
4.              เป็นคดีอาญาแผ่นดิน หรือคดีความผิดต่อส่วนตัว
5.              ทำให้ทราบถึงอายุความคดี


มาตรา ๑๕๘(๓) ตำแหน่งพนักงานอัยการ และรายละเอียดของราษฎรที่เป็นโจทก์
1.              สังเกตว่า กรณีอัยการ ระบุตำแหน่ง กรณีราษฎร ระบุชื่อ ฯลฯ
2.              ทำให้ทราบว่า โจทก์ใช่เป็นผู้เสียหายหรือไม่  โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่
3.              ทำให้ทราบอายุของโจทก์ ซึ่งเกี่ยวข้องถึงความสามารถของโจทก์
4.              ทำให้ทราบว่าโจทก์เป็นคนสัญชาติไทยหรือต่างชาติ
มาตรา ๑๕๘(๔) รายละเอียดของตัวจำเลย
1.              ชื่อตัวและนามสกุล เพื่อให้ทราบว่าเป็นบุคคลใดอายุจำเลย ทำให้ทราบว่า
2.              ฟ้องถูกศาลหรือไม่  หากอายุไม่เกิน ๑๘ ปีในวันที่โจทก์ยื่นฟ้อง ก็ต้องฟ้องยังศาลครอบครัวฯ (ม ๑๗๓ วรรคหนี่ง)
3.              เป็นข้อมูลพิจารณาลดมาตราส่วนโทษ ตาม ปอ. มาตรา ๗๓-๗๖
4.              อาจต้องถามและตั้งทนายความให้จำเลย ตาม ปวิอ. มาตรา ๑๗๓ วรรคหนึ่ง
5.              ที่อยู่ของจำเลย ทำให้ทราบว่ารู้ว่าจำเลยมีถิ่นที่อยู่ในไทยหรือต่างแดน
6.             การบรรยายที่อยู่ ไม่จำต้องระบุบ้านเลขที่  บรรยายเพียงหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัดก็เพียงพอ (ฎีกา ๒๙๖๐/๒๕๔๑)
มาตรา ๑๕๘ (๕) การกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิด
               เพื่อให้จำเลยสามารถเข้าใจสิ่งที่ถูกกล่าวหา ซึ่งทำให้สามารถต่อสู้คดีได้อย่างถูกต้อง  มีสาระสำคัญ ๔ ประการ คือ
               (๑) การกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิด
               (๒) ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับ เวลาและสถานที่ ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ
               (๓) ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับ บุคคลหรือสิ่งของ ที่เกี่ยวข้อง
                (๔) บรรยายพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี
กรณีฟ้องหมิ่นประมาท เพิ่มหลักเกณฑ์ตาม วรรคสอง
การเขียนฟ้องตาม ม ๑๕๘ (๕) วรรคแรก
มีหลักควรจำ ๗ ประการ
1.   บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิดโดยชัดแจ้ง
2.   ต้องกล่าวถึงวัน เวลา และสถานที่ที่เกิดเหตุโดยชัดแจ้ง
3.   บรรยายข้อเท็จจริงให้เป็นไปตามลำดับเหตุการณ์
4.  บรรยายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล หรือสิ่งของที่ใช้ในการกระทำผิดหรือได้มาจากการกระทำผิดให้ชัดเจนตามสมควร
5    .บรรยายข้อเท็จจริงให้กระชับ ชัดเจน ไม่ฟุ่มเฟือย
6.  บรรยายโดยเอาองค์ประกอบความผิดเป็นตัวตั้ง และนำข้อเท็จจริงมาผสมผสานเข้าไปในองค์ประกอบนั้น
7.    ข้อเท็จจริงอื่นในฟ้องที่เกี่ยวข้อง
๑.     บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิดโดยชัดแจ้ง
เป็นการบรรยายถึงองค์ประกอบความผิด จึงสำคัญ 
a.             บรรยายไม่ชัดเจน ฟ้องอาจขาดองค์ประกอบ  
b.            แม้จำเลยรับสารภาพ ศาลก็ยกฟ้อง
         ตัวอย่าง โจทก์เป็นทนายความ จำเลยจ้างว่าความแล้วไม่ชำระค่าว่าความให้  โจทก์ทวงถาม จำเลยหนีหน้า และโอนที่ดิน ๒ แปลงให้แก่บุคคลภายนอก ๒ คน โดยรู้ว่าโจทก์กำลังทวงถามหนี้ โจทก์จึงฟ้องจำเลยรวม ๓ คน ฐานโกงเจ้าหนี้
ตัวอย่างบรรยายฟ้อง
           โจทก์บรรยายว่า จำเลยที่ ๑ ตกลงให้ค่าจ้างว่าความแก่โจทก์ ถึงกำหนดแล้วไม่ชำระ โจทก์ทวงถาม จำเลยที่ ๑ ก็หลบหน้า  ต่อมาจำเลยที่ ๑ ก็โอนที่ดินของจำเลยที่ ๑ แก่จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ไป โดยจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ก็ทราบดีว่าจำเลยที่ ๑ ยังไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ อันเป็นการโอนโดยทุจริต ประสงค์มิให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ ทั้งที่ทราบดีว่าโจทก์ต้องฟ้องบังคับคดีอย่างแน่นอน เพราะจำเลยที่ ๑ ไม่มีทรัพย์สินอื่นใดพอที่จะชำระหนี้แก่โจทก์
           ศาลวินิจฉัยว่า โจทก์กล่าวในฟ้องเพียงว่า จำเลยน่าจะตระหนักดีว่าโจทก์จะต้องฟ้องคดีแน่นอน แต่ในความเป็นจริง โจทก์ฟ้องแล้วหรือเตรียมจะฟ้องอย่างไรหรือไม่ โจทก์ไม่บรรยายไว้ จึงเป็นคำฟ้องที่ขาดสาระสำคัญที่เป็นองค์ประกอบความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ตาม ปอ. มาตรา ๓๕๐ ซึ่งต้องปรากฎว่าเจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ลูกหนี้ชำระหนี้แล้ว หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ลูกหนี้ชำระหนี้  ให้ยกฟ้องโจทก์
ข้อเท็จจริงที่เป็นองค์ประกอบความผิด
องค์ประกอบความผิด อาจเป็น
1.              การกระทำของจำเลย เช่น ลักเอาไป หรือเข้าไปในเคหสถาน หรือ
2.              ข้อเท็จจริงบางอย่างที่เป็นสาระสำคัญก็ได้ เช่น การที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค
3.              ข้อเท็จจริงบางอย่างอาจไม่เป็นองค์ประกอบความผิด เช่น  เจตนาพิเศษ
4.              วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการกระทำผิดของจำเลยในคดีความผิดต่อส่วนตัว
5.               การร้องทุกข์



๒.  กล่าวถึงวัน เวลา และสถานที่เกิดเหตุโดยชัดเจน
1.               วัน หมายถึง วัน เดือน ปี
2.               เวลา ทางอาญา แบ่งเป็น ๒ ระยะ คือ
              2.1    เวลากลางวัน ได้แก่ เวลาตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก (ไม่ถือตามเวลานาฬิกา)
              2.2    เวลากลางคืน ได้แก่เวลาตั้งแต่พระอาทิตย์ตก ถึงพระอาทิตย์ขึ้น แบ่งเป็น ๒ ช่วง คือ
      3.    เวลากลางคืนก่อนเที่ยง คือเวลากลางคืนก่อนเที่ยงวัน
      4.    เวลากลางคืนหลังเที่ยง คือเวลากลางคืนหลังเที่ยงวัน

การบรรยายวันเวลาในคำฟ้อง
               ฎีกาที่ ๕๑๒/๒๔๙๓  การบรรยายเวลาตาม มาตรา ๑๕๘(๓) หมายถึงวันเดือนปีด้วย ไม่เฉพาะเวลากลางวันกลางคืน
               ฎีกาที่ ๕๐๘/๒๔๙๐ ฟ้องบรรยายวันที่หาว่ากระทำผิด แต่มิได้กล่าวถึง เวลาไว้ด้วย เป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์
               ฎีกาที่ ๒๐๑๐/๒๕๒๒ ฟ้องว่าบุกรุกเคหสถาน บรรยายวันเวลาเกิดเหตุว่า กลางเดือนกรกฎาคม ถึงปลายเดือนสิงหาคม ๒๕๑๘ วันใดไม่ปรากฎชัด เวลากลางวันไม่เคลือบคลุม
ตัวอย่างการบรรยายวันเวลา
           แม้ฟ้องไม่ระบุชัดว่ากลางวันหรือกลางคืน แต่หากรู้ว่าเป็นกลางวันหรือกลางคืนอยู่แล้ว ก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์  เช่น ฟ้องว่าโจทก์นำหนังสือมอบอำนาจปลอมไปใช้ในการโอนที่ดินต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ณ สำนักงานที่ดิน ก็ฟังได้อยู่ในตัวว่าเป็นเวลาราชการ ซึ่งก็รู้อยู่ว่าเป็นเวลากลางวัน
            บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกเล่นการพนัน สลากกินรวบในเวลากลาง” โดยพิมพ์ตกคำว่า วันหรือคืน ไป จึงไม่รู้ว่า กลางอะไร แต่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การเล่นพนันนั้น ไม่ว่ากลางวันหรือกลางคืนก็ผิดเช่นกัน การพิมพ์ตกไปคำหนึ่งจึงไม่เป็นสาระสำคัญ แต่ข้อสำคัญก็คือ จำเลยไม่หลงต่อสู้เรื่องเวลา เข้าใจดีว่าโจทก์หมายถึงกลางวัน (ฎีกาประชุมใหญ่ ๑๖๒๖/๒๕๐๖)
ตัวอย่างการบรรยายวันเวลา
             โจทก์บรรยายฟ้องคดีจำเลยสั่งจ่ายเช็คไม่มีเงินว่า ในวันที่...พฤษภาคม ๒๕๒๓ โจทก์ได้นำเช็คไปขึ้นเงินกับธนาคารและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โดยมิได้เติมวันที่ให้เรียบร้อยชัดเจนลงไป เมื่อเดือนพฤษภาคม มี ๓๑ วัน จึงไม่รู้ว่าจำเลยกระทำผิดวันไหน เพราะวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินนั้นถือเป็นวันที่ความผิดเกิดขึ้น (ฎีกา ๑๑๔๖/๒๕๒๖)
              คดีนี้โจทก์นำใบคืนเช็คของธนาคารส่งต่อศาลด้วย แต่มิได้แนบสำเนาท้ายฟ้อง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ไม่ทำให้ฟ้องที่ไม่สมบูรณ์กลายเป็นสมบูรณ์ขึ้นมาได้
เวลาและสถานที่ไม่ใช่องค์ประกอบความผิด
              เนื่องจากมาตรา ๑๕๘(๕) บัญญัติว่า รายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่จึงไม่ใช่องค์ประกอบของความผิด ในทางปฏิบัติ
(๑)                 ศาลสั่งให้โจทก์ไปแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม มาตรา ๑๖๑
(๒)โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องให้ถูกต้อง ตาม มาตรา ๑๖๓ แวละ ๑๖๔ ได้
(๓)                                              กรณีไม่มีการสั่งให้แก้ไข หรือโจทก์ไม่แก้ไข และศาลยกฟ้อง ถือว่าฟ้องมิได้บรรยายว่า จำเลยกระทำผิดเมื่อใด หรือกระทำผิด ณ สถานที่ใด เป็นการวินิจฉัยเนื้อหาของความผิดแล้ว ฟ้องใหม่ไม่ได้ เป็นฟ้องซ้ำ
การบรรยายสถานที่กระทำผิด

n บรรยายเพียงให้จำเลยเข้าใจได้ว่าถูกกล่าวหาว่ากระทำผิด ณ ที่ใด โดยปกติระบุเพียง ตำบล อำเภอ จังหวัด ก็พอ
n ถ้าเหตุเกิดหลายแห่ง ควรบรรยายให้หมด
n การหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์ มักระบุ เหตุเกิดทั่วราชอาณาจักร
n ตัวอย่าง ฟ้องว่า จำเลยยื่นคำร้องเท็จต่อศาลอาญา โดยไม่ระบุว่าศาลอาญาอยู่ที่ตำบล อำเภอและจังหวัดใด จำเลยก็เข้าใจข้อหาได้ดี เพราะมีศาลอาญาเดียวในประเทศไทย (ฎีกาที่ ๘๘๘/๒๔๙๕)

๓. บรรยายข้อเท็จจริงให้เป็นไปตามลำดับเหตุการณ์
n เริ่มจากก่อนกระทำผิด เมื่อกระทำผิด และหลังกระทำผิด
n ถ้าทำผิดหลายครั้ง เช่นยักยอกหรือฉ้อโกงหลายครั้ง ให้บรรยายเรียงลำดับเหตุการณ์ไป
n บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดหลังวันฟ้อง โดยบรรยายว่า จำเลยกระทำผิดเมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ แต่โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลเมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๔๒ ถือเป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะเป็นไปไม่ได้ ศาลต้องยกฟ้อง (ฎีกา ๒๕๘๘/๒๕๔๓)
n ฟ้องเป็นว่า คดีรับของโจรเกิดก่อนลักทรัพย์ โดยบรรยายว่า เมื่อวันที่ ๑๗ พ.ย.. ๒๕๔๒ เวลากลางคืน คนร้ายได้บังอาจลักทรัพย์ของผู้เสียหายไปและในวรรคต่อมาบรรยายว่า เมื่อวันที่ ๘ พ.ย. ๒๕๔๒ จำเลยได้บังอาจร่วมกันรับของโจรทรัพย์ดังกล่าวที่มีคนรายลักไป  ความผิดรับของโจรต้องเกิดหลัง เมื่อมาบรรยายว่าเกิดก่อนการลักทรัพย์ จึงขัดต่อ มาตรา ๑๕๘ ลงโทษจำเลยไม่ได้ (ฎีกา ๒๓๗๐/๒๕๔๔)

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของที่ใช้ในการกระทำผิดหรือได้มาจากการกระทำผิด บรรยายให้ชัดเจนพอสมควร
มีบุคคลอื่นร่วมกระทำผิดหรือไม่ (อาจไม่ต้องระบุชื่อ)
ผู้เสียหายเป็นใคร (ระบุชื่อ)
จำเลยใช้อาวุธหรือไม่ เป็นอาวุธอะไร เช่น ใช้ปืน อาจบรรยายว่า จำเลยใช้อาวุธปืนรีวอลเวอร์ ขนาดกระสุน .๓๘ เล็งไปที่ผู้เสียหายและยิงผู้เสียหาย รวม ๓ นัด ถูกผู้เสียหายที่บริเวณหน้าอกเป็นบาดแผล...
สิ่งของที่ได้มาในการกระทำผิด  อาจบรรยายว่า จำเลยได้ลักจักรยานยนต์ยี่ห้อ... ทะเบียน...ขนาดเครื่องยนต์... ซีซีไปจากนายแดง ผู้เสียหาย
ตัวอย่างบรรยายฟ้อง
            ชิงทรัพย์ว่า จำเลยบังอาจกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ โดยลักเอากระเป๋าสตางค์ ๑ ใบราคา ๕๐ บาท เงินสด ๓๗๐ บาท...ของหญิงไม่ทราบชื่อ อายุประมาณ ๓๕ ปี ผู้เสียหายไปโดยทุจริต
            ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เป็นบรรยายฟ้องที่ครบถ้วน เพราะตามฟ้องจะทราบว่าเป็นการชิงทรัพย์ของผู้อื่นไป มิใช่เอาทรัพย์ของจำเลยเองหรือทรัพย์ไม่มีเจ้าของไป ฟ้องไม่เคลือบคลุม  แม้ความผิดประเภทนี้ตามลักษณะของความผิด จะต้องเป็นทรัพย์ของผู้อื่น ซึ่งตามปกติต้องระบุชื่อเจ้าของทรัพย์ เพื่อให้จำเลยต่อสู้คดีได้  แต่กฎหมายไม่ได้บังคับไว้เด็ดขาดว่าจะต้องระบุชื่อเจ้าของทรัพย์เสมอไป ในกรณีที่ไม่อาจทราบตัวเจ้าของทรัพย์ที่แน่นอนได้ คำฟ้องกล่าวเพียงพอสมควรเพื่อให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ก็เพียงพอแล้ว (ฎีกา ๑๔๓๓/๒๕๓๐)
๓.   เคยมีฎีกาเก่าที่วินิจฉัยว่า ฟ้องว่าลักทรัพย์ ไม่ระบุว่าทรัพย์ของใคร ลงโทษจำเลยไม่ได้ (ฎีกา ๕๓๓/๒๔๙๖)
๔.   สรุปว่าเรื่องลักหรือชิงทรัพย์ ต้องบรรยายว่าทรัพย์เป็นของผู้อื่น ซึ่งเป็นองค์ประกอบความผิด  แต่ไม่จำต้องระบุชื่อเจ้าของ ซึ่งอาจเป็นผู้ที่ไม่ทราบชื่อได้
ตัวอย่างบรรยายฟ้อง
          คดีเกี่ยวกับพนันสลากกินรวบ  ฟ้องว่า จำเลยเป็นเจ้ามือสลากกินรวบจากผู้เล่นทั่วไป ไม่บรรยายว่ารับแทงจากใคร ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะเป็นเพียงรายละเอียด (ฎีกา ๑๐๘๐/๒๕๐๘)
          ฟ้องว่า จำเลยแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานสอบสวน และสังฆมนตรี แต่ไม่ระบุว่าเป็นใคร เป็นฟ้องเคลือบคลุม ส่วนที่ฟ้องว่า แจ้งความเท็จต่อสังฆนายก แม้ไม่ระบุพระนาม ก็ไม่เคลือบคลุม เพราะขณะนั้นมีองค์เดียว (ฎีกา ๘๙๔-๘๙๗/๒๖๐๖)
สรุปความสำคัญการบรรยายถึงบุคคลและสิ่งของ
หากไม่บรรยายให้ชัดเจน หรือบรรยายข้ามไป มักเป็นฟ้องเคลือบคลุม
ผลของฟ้องเคลือบคลุม หากศาลยกฟ้อง จะฟ้องใหม่ได้ในอายุความ
เทียบกับ กรณีไม่บรรยายวันเวลา และสถานที่กระทำผิด ซึ่ง
ศาลสั่งให้โจทก์แก้ไขหรือโจทก์ขอแก้ไขได้
หากไม่แก้ไขและศาลวินิจฉัยว่าไม่มีวันเวลากระทำผิด หรือสถานที่กระทำผิด ถือว่าวินิจฉัยในเนื้อหาของความผิด ฟ้องใหม่ไม่ได้ เป็นฟ้องซ้ำ

บรรยายข้อเท็จจริงให้กระชับ ชัดเจน ไม่ฟุ่มเฟือย
n การเขียนฟ้องอาญา ไม่ใช่การเรียงความ แต่เป็นการย่อความ ไม่ต้องท้าวความ หรือเล่าเรื่อง
n ฟ้องเพียงให้มีความชัดเจนว่าจำเลยกระทำอย่างไร ต่อใครหรือต่อสิ่งใด เพื่อให้จำเลยเข้าใจและรู้ว่า ถูกกล่าวหาเรื่องอะไร
ตัวอย่างการบรรยายฟ้อง
n ฟ้องว่า จำเลยให้การชั้นสอบสวนว่า...และจำเลยเบิกความต่อศาลว่า...ดังนั้น หากข้อความที่จำเลยเบิกความในชั้นศาลเป็นความจริง ที่จำเลยให้การต่อพนักงานสอบสวนย่อมเป็นเท็จ  และหากข้อความที่ให้การต่อพนักงานสอบสวนเป็นความจริง  การเบิกความต่อศาลก็ย่อมเป็นความเท็จ 
n ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า  การบรรยายฟ้องเช่นนี้ แสดงว่าโจทก์เองก็ไม่ทราบว่าความจริงเป็นอย่างไร เป็นฟ้องที่ขัดกันเอง ไม่อาจทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย มาตรา ๑๕๘ (๕) (ฎีกา ๑๙๗๖/๒๕๒๕)
ใช้องค์ประกอบความผิดเป็นเกณฑ์ตั้ง แล้วบรรยายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดให้รับกัน
n ความผิดฐานลักทรัพย์  มาตรา ๓๓๔ บัญญัติว่า ผู้ใดเอาทรัพย์ของผุ้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์...
n บรรยายว่าให้เข้าองค์ประกอบความผิดดังนี้  จำเลยได้บังอาจกระทำผิดกฎหมาย กล่าวคือ จำเลยได้ลักเอารถจักรยานยนต์ยี่ห้อ...อันเป็นทรัพย์ของนายแดง ผู้เสียหาย  ไปโดยทุจริต
ข้อเท็จจริงอื่นที่เกี่ยวข้อง
กรณีพนักงานอัยการเป็นโจทก์ ต้องบรรยายถึงผลการสอบสวน เช่น ในคดีเช็ค
ต่อมาเมื่อวันที่....เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมตัวจำเลยได้ นำส่งพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจ...ทำการสอบสวนตามกฎหมาย  ในชั้นสอบสวน จำเลยให้การปฏิเสธ คดีนี้ ผู้เสียหายได้มอบเช็คให้เจ้าพนักงานดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
กรณีมีประกันตัว ต้องบรรยายต่อว่า
จำเลยได้มีการประกันตัวออกไปในระหว่างการสอบสวน  โจทก์ได้นำส่งตัวจำเลยมาศาลพร้อมนี้แล้ว
กรณีราษฎรเป็นโจทก์ ควรบรรยายถึงเหตุผลที่นำคดีมาฟ้องเอง เช่น
คดีนี้ โจทก์ได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจแล้ว แต่โจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีเอง เพื่อความรวดเร็ว
การบรรยายฟ้องคดีหมิ่นประมาท
ตาม มาตรา ๑๕๘(๕) วรรคสอง
n ฟ้องต้องกล่าวถึงถ้อยคำพูด หรือติดมาท้ายฟ้อง บรรดาหนังสือ ภาพขีดเขียนหรือสิงอื่น อันเกี่ยวกับข้อหมิ่นประมาท มากับฟ้อง
n สิ่งเหล่านี้เป็นข้อเท็จจริง  ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่านี้เป็นหมิ่นประมาทหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายที่ศาลต้องวินิจฉัย
n ถ้าข้อความใดมีความหมายพิเศษ ก็ต้องระบุความหมาย หรือระบุว่าเป็นหมิ่นประมาทอย่างไร
n ฎีกา ๑๒๑/๒๔๙๐  ฟ้องว่าจำเลยหมิ่นประมาทโดยมีหนังสือ หากฟ้องโจทก์มิได้กล่าวให้ชัดแจ้งว่าข้อความใด วรรคใด ตอนใด เป็นการเสียหายต่อชื่อเสียงของโจทก์ ศาลก็ไม่อาจยกขึ้นวินิจฉัย
n ฎีกา ๑๘๖๔/๒๕๐๐ ฟ้องว่าหมิ่นประมาท ถ้าคำที่กล่าวไม่ชัดเจนว่าเป็นการใส่ความ โจทก์ต้องบรรยายถึงพฤติการณ์ประกอบให้เห็นว่า เป็นการใส่ความอย่างไร ถ้าโจทก์ว่าที่จำเลยกล่าวเป็นความเท็จ โจทก์ต้องบรรยายว่าความจริงเป็นอย่างไร

มาตรา ๑๕๘(๖) การอ้างมาตราที่กฎหมายบัญญัติว่า
การกระทำนั้นเป็นความผิด
n หลักควรจำ ๖ ประการ
n (๑) ถ้ามาตราที่ระบุว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด กับมาตราที่กำหนดโทษเป็นคนละมาตรากัน ต้องอ้างทั้งสองมาตรา
n       ฎีกา ที่ ๓๓๒๓/๒๕๒๗ ฟ้องว่าเจตนาฆ่าเพื่อชิงทรัพย์ แต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล เมื่อโจทก์ไม่ได้ระบุมาตรา ๒๘๙ มาในคำขอท้ายฟ้อง ไม่ใช่เป็นการอ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด แต่โจทก์ไม่ได้อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดไว้ ขัดต่อมาตรา ๑๕๘ (๖) เป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ ลงโทษจำเลยไม่ได้
n (๒) ต้องอ้างทั้งชื่อกฎหมายและมาตราที่ขอให้ลงโทษ
n (๓) ต้องอ้างกฎหมายปัจจุบันที่ใช้บังคับอยู่   การอ้างกฎหมายที่ถูกยกเลิกไปแล้ว ถือว่าเท่ากับไม่ได้อ้างกฎหมายเลย   แต่ถ้ามาตราที่ถูกยกเลิก มีกฎหมายใหม่เข้ามาแทน หรือแก้ไข ถือว่าได้อ้างแล้ว แม้จะไม่ได้อ้าง พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมมาด้วยก็ตาม (ฎีกา ๑๙๑๒/๒๕๒๓)


มาตรา ๑๕๘ (๖) ต่อ
n พระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวงที่กำหนดความผิดกรณีฝ่าฝืน ก็ต้องอ้างด้วย พร้อมกฎหมายแม่บท
n       ฟ้องตาม พรบ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า แต่ไม่ได้อ้างกฎกระทรวงฉบับ ๑๑/๑๒๕๒๐ เป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ (ฎีกา ๓๘๖๙/๒๔๒๖)
n (๕) ถ้ากฎหมายมีทั้งบทห้าม และบทลงโทษ ควรอ้างมาทั้งหมด
n (๖) กฎหมายในประมวลอาญา ภาค ๑ ไม่อ้างก็ได้ เพราะใช่มาตราที่บัญญัติเกี่ยวกับความผิด
๑๕๘(๗) ลายมือชื่อโจทก์
ลายมือชื่อโจทก์
ราษฎรเป็นโจทก์  ผู้เสียหายต้องลงชื่อเอง ทนายความไม่มีสิทธิลงชื่อ เพราะไม่ใช่โจทก์หากโจทก์ไม่ได้ลงชื่อ ควรรีบขอแก้ไขฟ้อง ตาม มาตรา ๑๖๓,๑๖๔ ทันที
แม้ใบแต่งทนายจะระบุให้ลงชื่อในฟ้องได้ ก็ไม่มีผล เป็นฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ฎีกา ๖๐๗/๒๕๑๔)
แต่ผู้รับมอบอำนาจ ลงชื่อในฟ้องได้ (ฎีกาประชุมใหญ่ ๘๙๐/๒๕๐๓)
อุทธรณ์หรือฎีกา ทนายความลงชื่อได้
คำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ไม่ใช่คำฟ้อง ทนายความลงชื่อได้
๑๕๘(๗) ผู้เรียง ผู้เขียนหรือผู้พิมพ์ฟ้อง
n ลายมือชื่อผู้เรียง ผู้เขียนหรือผู้พิมพ์ฟ้อง 
n ต้องระบุมาให้ถูกต้องครบถ้วน
n       ฟ้องที่ลงลายมือชื่อโจทก์ ผู้เขียนหรือผู้พิมพ์ แต่ไม่ลงชื่อผู้เรียง เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ปวิอ มาตรา ๑๕๘(๗) (ฎีกา ๑๒๖๑/๒๕๒๑)
ตัวอย่างคำฟ้อง
ความผิดฐานฆ่าผู้อื่น
             ข้อ ๑. เมื่อวันที่...เวลากลางวัน จำเลยกับพวกอีกหนึ่งคนที่ยังไม่ได้ตัวมาฟ้อง ได้ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน บังอาจใช้ขวานจามบริเวณลำตัวนายแดงหลายครั้ง เป็นบาดแผลฉกรรจ์หลายแห่ง โดยจำเลยกับพวกมีเจตนาฆ่านายแดงให้ตาย เป็นเหตุให้นายแดงถึงแก่ความตายเพราะพิษบาดแผลดังกล่าว รายละเอียดบาดแผลปรากฎตามรายงานชันสูตรผลิกศพท้ายฟ้อง
เหตุเกิดที่....................
มาตรา ๒๘๘  ผู้ใดฆ่าผู้อื่น...
ตัวอย่างร่างฟ้อง
n ความผิดฐานลักทรัพย์ในเคหสถาน
n ข้อ ๑. เมื่อวันที่...เวลา...จำเลยได้บังอาจเข้าไปในบ้าน อันเป็นเคหสถานทีอยู่อาศัยของนายแดงโดยไม่ได้รับอนุญาต แล้วเอาโทรทัศน์หนึ่งเครื่อง ราคา 10,000 บาท อันเป็นของนายแดง ซึ่งอยู่ในเคหสถาน ดังกล่าวไป โดยทุจริต
n       เหตุเกิดที่....
n มาตรา ๓๓๔ ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ไปโดยทุจริต
n มาตรา ๓๓๕ ผู้ใดลักทรัพย์ (๘) ในเคหสถาน

ตัวอย่างคำฟ้อง
ความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์
ข้อ ๑. เมื่อวันที่...เวลา...จำเลยได้บังอาจลักโทรศัพท์มือถือหนึ่งเครื่องราคา ๑๕,๐๐๐ บาท  ของนางสาวแดง ไปโดยทุจริต โดยการฉกฉวยเอาซึ่งหน้าของนางสาวแดงนั้นเอง
          เหตุเกิดที่...
มาตรา ผู้ใดลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า
n ตัวอย่างคำฟ้องความผิดฐานจ้างวานให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่น
ข้อ ๑. เมื่อวันที........เวลา..........จำเลยซึ่งมีเจตนาฆ่านายแดง ได้บังอาจกระทำผิดกฎหมายโดยก่อให้ผู้มีชื่อกระทำความผิดฐานฆ่านายแดงโดยเจตนา โดยจำเลยได้บังอาจจ้างวานให้ผู้มีชื่อไปทำการฆ่านายแดง  และในวันเวลาดังกล่าว ผู้มีชื่อที่จำเลยเป็นผู้จ้างวานได้กระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่น โดยใช้อาวุธปืนยิงนายแดงหลายนัด จนเป็นเหตุให้นายแดงถึงแก่ความตาย  รายละเอียดบาดแผลผู้ตายปรากฎตามรายงานการชันสูตรผลิกศพท้ายฟ้อง
เหตุเกิดที่.............
มาตรา ๒๘๘ ผู้ใดฆ่าผู้อื่น
มาตรา ๘๔ ผู้ใดก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด ไม่ว่าด้วยการใช้ บังคับ ขู่เข็ญ จ้างวาน หรือยุยงส่งเสริม หรือด้วยวิธีอื่นใด
ตัวอย่างคำฟ้อง

n ความผิดฐานปลอมบัตรเครดิต
               ข้อ ๑. เมื่อวันที่...ถึงวันที่...วันเวลาใดไม่ปรากฎชัด  จำเลยบังอาจทำผิดกฎหมาย โดยทำบัตรเครดิต ซึ่งธนาคาร...ได้ออกให้แก่ผู้เสียหาย อันเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นทั้งฉบับ และได้ยึดถือบัตรดังกล่าวไว้เพื่อนำออกใช้  ทั้งนี้จำเลยได้กระทำเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าบัตรอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวนั้นเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่แท้จริง โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย
    เหตุเกิดที่...
มาตรา ๒๖๙/๑ ผู้ใดทำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใด ๆ ในบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่แท้จริง โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือปราชน ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่แท้จริงหรือเพื่อใช้ประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใด
ตัวอย่างคำฟ้อง
n ความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนถึงแก่ความตาย
ข้อ ๑. เมื่อวันที่.........เวลา..............จำเลยนี้ได้บังอาจใช้ร่มเป็นอาวุธทำร้ายร่างกายนางดี หลายครั้งถูกบริเวณลำตัว เป็นเหตุให้นางดีล้มลงศีรษะกระแทกฟื้นจนกระโหลกศีรษะร้าว ได้รับอันตรายสาหัสและถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา เพราะการกระทำของจำเลยดังกล่าว  รายละเอียดบาดแผลปรากฎตามรายงานแพทย์ที่แนบมาท้ายคำฟ้อง
เหตุเกิดที่.............
มาตรา ๒๙๐ ผู้ใดมิได้มีเจตนาฆ่า แต่ทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย
ตัวอย่างคำฟ้อง
n ความผิดฐานหมิ่นประมาท
ข้อ ๑. เมื่อวันที่.........................เวลา..................จำเลยได้บังอาจหมิ่นประมาท ด้วยการใส่ความ น.ส. จันทร์ ต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ น.ส. จันทร์ เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น และถูกเกลียดชัง โดยจำเลยได้กล่าวว่า น.ส. จันทร์..................(ใส่ข้อความเต็มตามที่ใส่ความ)
    เหตุเกิดที่...........
    อนึ่ง คดีนี้ ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ทำการสอบสวนและดำเนินคดีกับจำเลยไว้ตามกฎหมายแล้ว  
มาตรา ๓๒๖ ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหือถูกเกลียดชัง ฯ                                                                                                                                                 
การขอให้เพิ่มโทษ
เพิ่มโทษ เพราะจำเลยเคยต้องโทษมาก่อน
บรรยายตาม มาตรา ๑๕๙ และ
อ้างมาตรา ๙๒ คือพ้นโทษมาแล้วไม่เกิน ๕ ปี หรือ
อ้างมาตรา ๙๓ เพิ่มโทษในลักษณะที่ระบุไว้ ๑๓ ประเภท
บรรยายขอให้เพิ่มโทษในคำฟ้อง
       อนึ่ง จำเลยเคยต้องโทษมาตามคำพิพากษาของศาลอาญา คดีแดงเลขที่...ให้จำคุกมีกำหนด ๒ ปี ในข้อหาลักทรัพย์ คดีถึงที่สุดแล้ว และจำเลยได้พ้นโทษมาแล้ว แต่ได้กระทำผิดในคดีนี้อีก ภายในกำหนดเวลาไม่เกิน ๓ ปี นับแต่วันพ้นโทษ จึงขอให้ศาลโปรดเพิ่มโทษจำเลยฐานไม่เข็ดหลาบด้วย
บรรยายฟ้องสำหรับการกระทำผิดหลายกระทง
บรรยายตาม ปวิอ. มาตรา ๑๖๐ วรรคหนึ่ง               
ความผิดหลายกระทงจะรวมในฟ้องเดียวกันก็ได้ แต่ให้แยกกระทงเพียงเป็นลำดับไป
ข้อ ๑. เมื่อวันที่ ......เวลา....จำเลยได้บังอาจกระทำผิดกลายบทหลายกระทง ดังจะกล่าวต่อไปนี้
             ๑.๑ ...
ถ้าการกระทำใช้เวลาหลายวัน อาจบรรยายลักษณะนี้
ข้อ ๑. เมื่อระหว่างวันที่...ถึงวันที่...เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน (หรือวันเวลาใดไม่ปรากฎชัด) จำเลยได้บังอาจกระทำความผิดหลายบทหลายกระทง ดังจะกล่าวต่อไปนี้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น