วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

ความรู้เรื่องธาตุอาหารพืช1 แมกนีเซียม


                         ความรู้เรื่องธาตุอาหารพืช     
                                        
 ธาตุแมกนีเซียมในดิน
               
แมกนีเซียม      เป็นธาตุอาหารที่อยู่ในกลุ่มของธาตุอาหารรองเช่นเดียวกับธาตุคัลเซียม ซึ่งมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช               เนื่องจากแมกนีเซียมเป็นองค์ประกอบสำคัญในโมเลกุลของคลอโรฟิลล์       เพื่อช่วยในขบวนการสังเคราะห์แสง  กระบวนการหายใจ ช่วยในการทำงานของระบบ เอนไซม์และ  ช่วยในการดูดธาตุฟอสฟอรัส     และช่วยในการเคลื่อนที่ของน้ำตาลในพืช         รูปของแมกนีเซียมในดิน  แมกนีเซียมที่อยู่ในดินแบ่งออกเป็น 2 รูปใหญ่ๆคือ
1. อินทรีย์แมกนีเซียม พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้น้อย ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของไพติน (phytin) และ แมกนีเซียมเพคเตต (magnesium pectate)     ถ้าพืชสามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์ได้จะต้องถูกจุลินทรีย์ย่อยสลายเปลี่ยนจากอินทรีย์แมกนีเซียมไปเป็นอนินทรีย์แมกนีเซียมอยู่ในรูปของแมกนีเซียมไอออน
2. อนินทรีย์แมกนีเซียมประกอบด้วยแมกนีเซียมที่ละลายยากได้แก่ แมกนีเซียมที่มาจากหินและแร่ได้แก่แร่ไบโอทิน [K (Mg , Fe)3 (Al Si3O10(OH)2] เซอร์เพนทีน [Mg6Si4O10 (OH)8] และ โดโลไมต์ [CaMg(CO3)2] เมื่อแร่ผุพังสลายตัวจะให้ แมกนีเซียมไอออน ลงไปในดิน พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้คือแมกนีเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ แมกนีเซียมประเภทนี้จะถูกยึดติดบริเวณผิวของคอลลอยด์เมื่อแมกนีเซียมไอออนในสารละลายในดินสูญหายไปโดยพืชหรือจุลินทรีย์ แมกนีเซียมชนิดนี้จะถูกปลดปล่อยออกมาเพื่อรักษาภาวะสมดุล (ภาพที่ 9.3) และสารละลายแมกนีเซียมไอออน ในดิน พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยตรง

ปัจจัยที่ควบคุมความเป็นประโยชน์ของแมกนีเซียมในดิน 
                แมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์ต่อพืชจะอยู่ในรูปของแมกนีเซียมไอออน ซึ่งสามารถแลกเปลี่ยนระหว่างแมกนีเซียมในสารละลายและแมกนีเซียมที่ยึดเหนียวอยู่บริเวณผิวของแร่ดินเหนียว ปัจจัยที่ควบคุมความเป็นประโยชน์ต่อพืชของแมกนีเซียมได้แก่ จำนวนแมกนีเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ที่มีอยู่ในดิน ความมากน้อยในการอิ่มตัวด้วยแมกนีเซียมในดินนั้น ชนิดของคอลลอยด์ของดิน และธรรมชาติของไอออนบวกชนิดอื่นๆถูกดูดยึดร่วมกับแมกนีเซียมไอออน
อาการของพืชที่ขาดธาตุแมกนีเซียม 



                พบใบล่าง (ใบแก่) ที่ขอบใบ และระหว่างเส้นใบ (vein) จะเป็นสีซีด ๆ สีขาวใส แผ่นใบจะมีสีเหลือง ใบจะเล็กลง ฉีกขาดง่าย กิ่ง ก้าน ของพืชอ่อนแอทำให้เชื้อราได้ ทำให้ใบแก่เร็วเกินไป เมื่อพืชมีอาการขาดธาตุแมกนีเซียมสามารถทำได้ดังต่อไปนี้ ใส่ปุ๋ยคอก ใส่ปุ๋ยเคมี
ประเภท แมกนีเซียมคาร์บอเนต (MgCO3) แมกนีเซียมซัลเฟต (MgSO4) และ คีเลต - แมกนีเซียม (Mg – EDTA)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น