วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554

ฮอร์โมนพืช

ฮอร์โมนออกซิน
                        ออกซิน (Auxin)  คือฮอร์โมนที่พืชสร้างขึ้นบริเวณปลายรากและปลายยอด  ทำหน้าที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของยอดแต่ยับยั้งการเจริญเติบโตของราก
                        ออกซินเป็นฮอร์โมนพืชชนิดแรกๆที่มนุษย์ค้นพบโดยในปี ค.ศ. 1880 ชาร์ล ดาวิน(Charles  Darwin) สังเกตว่ายอดอ่อนของหญ้าคานารี(Canary  grass) มักจะโค้งเข้าหาแสงเสมอ เขาจึงทำการทดลองและพบว่า หากส่วนของยอดอ่อนถูกเด็ดออกไป  ลำต้นจะไม่โค้งเข้าหาแสง  ซึ้งในทางตรงกันข้าม หากยอดอ่อนของพืชยังอยู่ ลำต้นมักจะโค้งเข้าหาแสงเสมอ  ดาวิน จึงสรุปว่า ส่วนปลายของยอดอ่อน สามารถควบคุมให้ส่วนลำต้นโค้งเขาหาแสง    หลังจากนั้น  นักวิทยาศาสตร์จึงค้นพบว่ามีสารชนิดหนึ่ง ถูกลำเลียงมาจากส่วนของปลายยอดอ่อนซึ้งส่งผลต่อการเจริญเติบโต รวมถึงการโค้งเข้าหาแสงของพืช และเรียกสารนั้นว่า ออกซิน (Auxin)ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า (auxein) แปลว่าการเติบโต 
                        นอกเหนือจากการที่ออกซินจะมีผลต่อยอด และ รากของพืชแล้ว ออกซินยังส่งผลต่อการแตกกิ่งก้านด้านข้างของพืชโดยออกซินจะยับยั้งการแตกกิ่งก้านด้านข้าง  แต่หากตัดปลายยอดออก ออกซินก็จะถูกสร้างขึ้น ส่งผลให้พืชสามารถแตกกิ่งก้านทางด้านข้างได้
                        มนุษย์จึงนำสารที่ค้นพบนี้มาใช้ประโยชน์ในหลายด้าน เช่น
1.การขยายพันธ์พืช  โดยการชุบกิ่งปักชำ กิ่งตอน
2.กระตุ้นการออกดอก  หรือเติบโตของผล
3.ใช้กำจัดวัชพืชได้ถ้ามีสารออกซินในปริมาณสูง





ไซโตไคนิน
ไซโตไคนิน (Cytokinin) เป็นกลุ่มของสารควบคุมการเจริญเติบโตที่เป็นอนุพันธ์ของอะดีนีนโดยมีโซ่ข้างมาเชื่อมต่อกับเบสที่ตำแหน่ง N6 ไซโตไคนินแบ่งได้เป็นสองชนิดตามชนิดของโซ่ข้างคือ ไอโซพรีนอยด์ ไซโตไคนิน (Isoprenoid cytokinin) มีโซ่ข้างเป็นสารกลุ่มไอโซพรีน กับ อะโรมาติก ไซโตไคนิน (Aromatic cytokinin) มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการขยายตัวและการเปลี่ยนแปลงของเซลล์พืช นอกจากนั้นยังควบคุมกระบวนการที่สำคัญต่างๆในการเจริญและพัฒนาการของพืช
การออกฤทธิ์ทางสรีรวิทยาที่สำคัญของไซโตไคนินได้แก่[1]
  • ควบคุมการแบ่งเซลล์หรือวัฏจักรของเซลล์ เป็นหน้าที่หลักของไซโตไคนิน * ควบคุมการเกิดรูปร่าง อัตราส่วนของไซโตไคนินต่อออกซินจะมีผลต่อการพัฒนาของแคลลัส โดยแคลลัสที่ได้รับอัตราส่วนของไซโตไคนินต่อออกซินต่ำ (ออกซินมากกว่าไซโตไคนิน) จะเกิดราก แคลลัสที่ได้รับอัตราส่วนของไซโตไคนินต่อออกซินสูง (ไซโตไคนินมากกว่าออกซิน) จะเกิดตายอด[2]
  • สนับสนุนการขยายตัวของเซลล์ ที่เกี่ยวข้องกับการดูดน้ำเข้าไปภายในเซลล์ เพราะไม่ทำให้น้ำหนักแห้งเพิ่มขึ้น [3]
  • สนับสนุนการพัฒนาและการแตกตาข้าง ไซโตไคนินสามารถกระตุ้นให้ตาข้างที่ถูกยับยั้งด้วยตายอดเจริญออกมาได้ [4]
  • การชลอการชรา ความชราของพืชเกิดจากกระบวนการแก่ตัวของเซลล์ มีการสูญเสียคลอโรฟิลล์ RNA โปรตีน และไขมัน ไซโตไคนินช่วยให้พืชหลายชนิด เช่น หน่อไม้ฝรั่ง ต้นหอม คงความเขียวสดอยู่ได้นาน
  • การเกิดปม ปมที่เกิดในพืชเป็นเนื้อเยื่อที่ไม่มีการกำหนดพัฒนาและมีลักษณะคล้ายเนื้องอก เกิดจากเชื้อ Agrobacterium tumefaciens [5]
  • ทำให้เกิดสีเขียว สนับสนุนการเกิดคลอโรฟิลล์และการเปลี่ยนอีทิโอพลาสต์ไปเป็นคลอโรพลาสต์
  • ไซโตไคนินจากปลายรากมีผลต่อการเจริญของลำต้นและราก การตัดรากออกไปจะทำให้การเจริญเติบโตของลำต้นหยุดชะงัก
  • การเพิ่มไซโตไคนินจากภายนอกลดขนาดของเนื้อเยื่อเจริญที่ปลายรากลงโดยไม่กระทบต่ออัตราการขยายตัวของเซลล์ภายในเนื้อเยื่อเจริญ แต่ไซโตไคนินปริมาณมากจะมีความจำเป็นในการรักษากิจกรรมของเนื้อเยื่อเจริญที่ปลายยอด[6]
  • กระตุ้นการออกดอกของพืชวันสั้นบางชนิด เช่นในแหนเป็ด ไซโตไคนินกระตุ้นให้พืชสร้างสารฟลอริเจน (Florigen) ซึ่งชักนำให้พืชออกดอกได้ ไซโตไคนินยังช่วยให้เกิดดอกตัวเมียมากขึ้น [7]
  • ทำลายระยะพักตัวของพืช ของเมล็ดพืชหลายชนิดได้ เช่น ผักกาดหอม [8]


วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554

การฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา

การฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
           หมายถึง  คดีที่ผู้เสียหายตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา     มีอำนาจกล่าวหาร้องทุกข์หรือฟ้องร้องคดีอาญา  แก่ผู้กระทำความผิดได้เช่นเดียวกับคดีอาญาทั่วๆ ไปและในขณะเดียวกัน  ยังมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย  ในทางกฎหมายแพ่งลักษณะละเมิด เพื่อให้ผู้กระทำความผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน  ความเสียหายที่ตนได้รับเนื่องจากการกระทำความผิดทางอาญานั้นอีกด้วย
บุคคลซึ่งมีอำนาจฟ้อง
         ผู้เสียหายและอัยการ                                                                                            .          ผู้เสียหายตาม ปวิ.อาญา ม.2(4) หมายถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดฐานใดฐานหนึ่ง  รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดกานแทนได้  ดั่งบัญญัติไว้ในมาตรา ๔ ๕ และ๖ 
.      บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายทางแพ่ง จากการกระทำที่ไม่เข้าองค์ประกอบความรับผิด  ทางอาญา  ย่อมไม่ใช้ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  และไม่มีสิทธิดำเนินคดีอาญา  จึงต้องดำเนินคดีแพ่งเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้กระทำตามลำพัง  
.    บุคคลซึ่งเป็นผู้เสียหาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  อาจไม่ใช้ผู้เสียหายที่จะดำเนินคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาหากตามพฤติการณ์ผู้นั้นไม่ได้เป็นผู้เสียหายในทางละเมิด
.      ผู้เสียหายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หมายความรวมถึงผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายด้วย ตาม  ปวิ.อาญา ม.3(3)  มาตรา  3  บุคคลดั่งระบุในมาตรา  4  5และ  6   มีอำนาจจัดการต่อไปนี้แทนผู้เสียหายตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ      .   
  (3)เป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา
พนักงานอัยการ  ตาม  ปวิ.อาญา  มาตรา  43  คดีลักทรัพย์  วิ่งราว  ชิงทรัพย์   ปล้นทรัพย์   โจรสลัด  กรรโชก  ฉ้อโกง  ยักยอกหรือรับของโจรถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่เขาสูญเสียเนื่องจากการกระทำความผิดคืนเมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีอาญา  ก็ให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายด้วย 
และ ตาม  ปวิ.อาญา  มาตรา   44  การเรียกทรัพย์สินหรือราคาคืนตามมาตราก่อน  พนักงานอัยการจะขอรวมไปกับคดีอาญา  หรือจะยื่นคำร้องในระยะใดระหว่างคดีอาญากำลังพิจารณาอยู่ในศาลชั้นต้นก็ได้
         อำนาจของพนักงานอัยการมีจำกัดตาม ม.43  เท่านั้น คดีอื่นๆนอกจากนี้ผู้เสียหายจะต้องดำเนินการเอง
              อัยการฟ้องได้เฉพาะคดีที่ผู้เสียหายมีสิทธิเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่ผู้เสียหายไปนื่องจากการกระทำความผิดคดีอาญา
                มีได้เฉพาะการเรียกทรัพย์สินคืนหรือเรียกราคาทรัพย์สิน  ดังนั้น  การเรียกค่าเสียหายในทางละเมิด  เช่น ค่าใช้จ่ายที่ผู้เสียหายต้องเสียไปเนื่องจากการกระทำความผิด ฯลฯ  ผู้เสียหายจึงต้องดำเนินการเอง  รวมถึงการเรียกร้องในประการอื่นนอกเหนือจาการเรียกคืนทรัพย์หรือเรียกให้ชดใช้ราคาทรัพย์ด้วย
                 พนักงานอัยการจะต้องใช้สิทธิเรียกทรัพย์สินหรือราคาโดยขอรวมไปกับคดีอาญาในแบบพิมพ์คำฟ้องคดีอาญาของพนักงานอัยการ จะมีช่องคำขอท้ายฟ้องซึ่งเว้นว่างไว้ให้กรอกข้อความ  คดีเรื่องใดที่พนักงานอัยการถือว่าผู้เสียหายมีสิทธิเรียกทรัพย์สินหรือราคา ก็จะระบุไว้ในคำท้ายฟ้องดังกล่าว  นอกจากการขอรวมไปกับท้ายฟ้องคดีอาญาแล้วยังเปิดช่องให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องในระยะใดระหว่างที่คดีอาญากำลังพิจารณาอยู่ในศาลชั้นต้นก็ได้  ในทางปฏิบัติถ้ามิได้มีคำขอเรื่องทรัพย์สินหรือราคาในท้ายฟ้องคดีอาญา  เนื่องจากปรากฏข้อเท็จจริงภายหลังว่าผู้เสียหายมีสิทธิเรียกคืนทรัพย์หรือราคา  พนักงานอัยการจะทำคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องขอระบุข้อความในคำขอท้ายฟ้องดังกล่าว    ซึ่งสามารถกระทำได้ตาม ปวิ.อาญา มาตรา  163  ก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้น  มาตรา 163  เมื่อเหตุอันควร  โจทก์มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลขอแก้ไขหรือเพิ่มเติมคำฟ้องก่อนมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น    ถ้าศาลเห็นสมควรจะอนุญาตหรือจะสั่งให้ใต่สวนมูลฟ้องเสียก่อนก็ได้  เมื่ออนุญาตแล้วให้ส่งสำเนาแก่ฟ้องหรือฟ้องเพิ่มเติมแก่จำเลยที่แก้  และศาลจะสั่งแยกสำนวนพิจารณาฟ้องเพิ่มเติมนั้นก็ได้
            กฎหมายบังคับให้พนักงานอัยการต้องเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหาย  เนื่องจากตัวบท มาตรา 43 ระบุไว้
การกำหนดราคาทรัพย์และค่าเสียหาย
           มาตรา  47  วรรคสอง  บัญญัติว่า  ราคาทรัพย์สินที่สั่งให้จำเลยใช้แก่ผู้เสียหาย  ให้ศาลกำหนดตามราคาอันแท้จริง  ส่วนจำนวนเงินค่าทดแทนที่ผู้เสียหายจะได้รับนั้น  ให้ศาลกำหนดให้ตามความเสียหายแต่ต้องไม่เกินคำขอ    นอกเหนือจากการชดใช้ราคาที่แท้จริงแล้ว  หากปรากฏว่าผู้เสียหายยังต้องเสียหายในประการอื่นเนื่องจากการกระทำของจำเลย  ผู้เสียหายก็ย่อมมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ฟ้องเรียกร้องให้มีการชำระค่าเสียหายนั้นตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงแก่ตน  ส่วนจำเลยย่อมมีฐานะเป็นลุกหนี้ชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าว  แต่ไม่ต้องชดใช้เป็นปริมาณสูงเกินแก่ความเสียหายแท้จริง  เพราะจะเป็นความรับผิดเกินกว่านี้ที่ตนผูกพัน
ข้อสังเกต
            เรื่องการถือข้อเท็จจริงในคำพิพากษาคดีอาญาดังกล่าว  หมายความเฉพาะคดีหลังเป็นคดีส่วนแพ่งเท่านั้น    แต่ถ้าเป็นเรื่องคดีอาญากับคดีอาญาแล้วมิได้มีกฎหมายบัญญัติไว้เช่นนี้  เนื่องจากหลักการของการดำเนินคดีอาญานั้น ตาม ปวิ.อาญา  มาตรา 227 วรรคแรก ได้วางหลักการไว้ว่า   ให้ศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวง อย่าพิพากษาลงโทษจนกว่าจะแน่ใจว่ามีการกระทำผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำผิดนั้น ตาม มาตรา 172 ก็ได้บัญญัติหลักการพิจารณาและสืบพยานโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลยไว้ดั่งนั้น  ในทางปฏิบัติ ศาลในคดีอาญาไม่อาจนำข้อเท็จจริงที่ปรากฏการชี้ขาดไว้แล้วตามคำพิพากษาคดีอาญาเรื่องหนึ่งมาเป็นหลักวินิจฉัยชี้ขาดอีกเรื่องหนึ่ง  ถึงแม้จะได้ทราบว่ามูลคดีทั้งสองเรื่องดั่งกล่าวมีความเกี่ยวข้องกันก็ตาม  หรือแม้แต่โดยจำเลยจะเป็นคู่ความเดี่ยวกัน  พยานชุดเดียวกัน  โดยนัยนี้ คำชี้ขาดข้อเท็จจริงในคดีอาญาเรื่องก่อนจึงถือว่ายุติระหว่างคู่ความในคดีนั้น  ส่วนคดีเรื่องหลังจะต้องมีการสืบพยานหลักฐานกันต่อไป  และศาลอาจรับฟังข้อเท็จจริงไปในทางแตกต่างจากข้อเท็จจริงที่ศาลคดีก่อนรับฟังก็ได้
             เมื่อศาลได้พิพากษาให้จำเลยคืนทรัพย์  หรือให้ใช้ราคาทรัพย์  หรือให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เสียหายแล้ว  ผู้เสียหายย่อมมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา  มีสิทธิที่จะดำเนินการบังคับคดี อันเป็นไปตามหลักการดำเนินการคดีแพ่งทั่วไป  เช่น อาจขอให้เจ้าพนักงานจัดการยึดทรัพย์ของจำเลยมาขายทอดตลาดเพื่อเอาเงินมาชำระแทนราคาทรัพย์หรือค่าเสียหายก็ได้   ทั้งนี้ไม่ว่าผู้เสียหายจะเป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาด้วยตนเองหรือเป็นกรณีที่พนักงานอัยการเรียกร้องแทนให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 หรือ 44  ก็ตามทั้งนี้เพราะตาม ปวิ.อาญา  มาตรา  50