วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ปัญหาการใช้ปริ้นเตอร์Cannon


ปัญหาการใช้ปรินเตอร์cannon
เครื่องแจ้งข้อผิดพลาดเป็น 
-E2 ให้นำกระดาษออกแล้วใส่ใหม่ให้ถูกต้อง แล้วกดปุ่ม  BLACK  หรือ COLOR  เพื่อลองพิมพ์ดู หากไม่หายต้องทำความสะอาดตาเซ็นเซอร์เช็คกระดาษเข้า
-E3    เป็นการแจ้งเตือนว่ามีกระดาษติดอยู่ในเครื่อง(PAPER  JAM )ให้นำกระดาษออก  หรือไม่ก็อาจมีวัสดุขวางทางกระดาษเข้าให้ทำความสะอาดทางเข้าของกระดาษ  ถ้ายังไม่หายให้แกะเครื่องแล้วใช้สเปร์ทำความสะอาดล้างตาเซนเซอร์  ถ้าไม่หายอีก ก็ต้องเปลี่ยนตาเซนเซอร์ไม่
-E4         เป็นการแจ้งเตือนเกี่ยวกับหมึก เช่นสีดำลองกด STOP  ค้างไว้ 5 วิ ถ้าไม่หายก็ทำการเคลียร์น้ำหมึกเสียใหม่
-E5        เป็นการแจ้งเตือนว่าเครื่องหาตลับหมึกไม่เจอ  แบบนี้ก็ถอดตลับหมึกออกมาทำความสะอาด หน้าทองเหลืองโดยใช้ยางลบขัดหน้าทองเหลืองเบาๆ รวบทั้งของตัวเครื่องด้วย  ถ้ายังไม่หายก็เปลี่ยนตลับหมึกใหม่ครับ
-E8          เป็นการแจ้งเตือนเกี่ยวกับผ้าซับหมึก   เมื่อเติมหมึกต้องทำความสะอาดผ้าซับหมึกด้วยหรือเปลี่ยนใหม่   พร้อมเคลียร์ซับหมึกที่ตัวเครื่องด้วย
-E16         เป็นการแจ้งเตือนว่ามีตลับหมึกบางตลับไม่ปกติหรือหมึกหมด
-E23         เป็นการแจ้งเตือนเกี่ยวกับตาเซนเซอร์ ระบบPE ENCODER  ลองใช้สเปร์ทำความสะอาดดู
-E42       เป็นการแจ้งเตือนเกี่ยวกับระบบ สแกนเนอร์  ให้เช็ดสายแพชุดสแกนเนอร์  ถ้าไม่หายต้องเปลี่ยนใหม่ครับ
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงปัญหาและการแก้ปัญหาเบื้องต้น

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

กฎเกณฑ์การอภัยโทษ


อภัยโทษมีกฎเกณฑ์อย่างไร
ตามพระราชกฤษฎีกา    พระราชทานอภัยโทษ  พ.ศ. ๒๕๕๓
มาตรา    ภายใต้บังคับมาตรมา ๘  มาตรา ๙  มาตรา  ๑๑ และมาตรา ๑๒  นักโทษเด็ดขาด ดั่งต่อไปนี้  ให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวไป
(๑) ผู้ต้องโทษจำคุกไม่ว่ากรณีความผิดคดีเดียวหรือหลายคดี  ซึ้งมีโทษจำคุกตามกำหนดโทษที่จะต้องได้รับต่อไปเหลืออยู่รวมกันไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
(๒)ผู้มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
        ก.เป็นคนพิการโดยตาบอดทั้งสองข้าง  มือหรือเท้าด้วนทั้งสองข้างหรือเป็นบุคคลซึ้งแพทย์ของทางราชการไม่น้อยกว่าสองคนได้ตรวจรับรองเป็นเอกฉันท์ว่าเป็นคนทุพพลมีลักษณะอันเห็นได้ชัด
       ข.เป็นคนเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อน  โรคไตวายเรื้อรัง  โรคมะเร็ง  โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง(โรคเอดส์) หรือโรคจิต ซึ่งทางราชการได้ทำการรักษามาแล้วไม่น้อยว่าสามเดือนในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ และแพทย์ทางราชการไม่น้อยกว่าสองคนได้ตรวจรับรองเป็นเอกฉันท์ว่าไม่สามารถรักษาในเรือนจำให้หายได้  และไม่ว่าในกรณีความผิดคดีเดียวหรือหลายคดี ต้องได้รับโทษจำคุกมาแล้วถึงวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับไม่น้อยกว่าสามปี หรือไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๒ ของโทษตามกำหนดโทษเว้นแต่เป็นคนเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย   หรือภูมิคุ้มกันบกพร่อง(โรคเอดส์)ระยะสุดท้าย ซึ่งแพทย์ทางราชการไม่น้อยกว่าสองคนได้ตรวจรับรองเป็นเอกฉันท์ว่าไม่สามารถรักษาในเรือนจำให้หายได้
      ค.เป็นหญิงซึ่งต้องโทษจำคุกเป็นครั้งแรก  และไม่ว่ากรณีความผิดคดีเดียวหรือหลายคดี ต้องได้รับการลงโทษจำคุกมาแล้วถึงวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับไม่น้อยกว่าหนึ่งในสองของทาตามกำหนดโทษ
      ง.เป็นคนมีอายุไม่ต่ำกว่าหกสิบปีบริบูรณ์ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับตามที่ปรากฏในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนบ้านราษฎรหรือทะเบียนรายตัวของเรือนจำในกรณีไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านและไม่ว่าในกรณีความผิดคดีเดียวหรือหลายคดี ต้องเหลือโทษจำคุกไม่เกินสามปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ หรือเป็นบุคคลมีอายุตั้งแต่เจ็ดสิบปีขึ้นไป
    จ.เป็นผู้ต้องโทษจำคุกเป็นครั้งแรก และมีอายุไม่ครบยี่สิบปีบริบูรณ์ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับตามที่ปรากฏในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนราษฎรหรือทะเบียนรายตัวของเรือนจำกรณีไม่มีรายชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านและไม่ว่าความผิดคดีเดียวหรือหลายคดี ต้องรับโทษจำคุกมาแล้วถึงวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับไม่น้อยกว่า  ๑ ใน ๒ ของโทษตามกำหนดโทษ หรือ
    ฉ.เป็นนักโทษเด็ดขาดชั้นเยี่ยม และไม่ว่าความผิดคดีเดียวหรือหลายคดี โทษจำคุกตามกำหนดโทษที่ต้องได้รับต่อไปเหลืออยู่รวมกันไม่เกินสองปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ

วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ปัญหาหมึกสีไม่ออก


ปัญหาหมึกสีไม่ออก

            การใช้พริ้นเตอร์คงหนีไม่พ้นปัญหาสีแดงไม่ออกบ้าง   สีเหลืองไม่ออกบ้าง     เป็นปกติของเครื่อง  ปัญหานี้อันที่จริงเกิดจากน้ำหมึกไม่ใช้พริ้นเตอร์    การที่สีไม่ออกก็คือ ช่องทางเดินของสีเกิดการอุดตันเมื่อไม่ใช้เครื่องเป็นเวลานาน  หมึกก็จะแห้งอุดทางเดินของสีครับ   แต่บางครั้งใช้ทุกวันก็ตันได้ครับถ้าคุณภาพน้ำหมึกไม่ดี   ดังนั้นการแก้ปัญหาจึงต้องแก้ที่น้ำหมึก 
            ถ้าเป็นระบบติดแท้ง  เวลาหมึกใกล้หมดจะพบปัญหานี้ นั้นเกิดจากคุณภาพหมึกไม่ดีมีการตกตะกอน  จึงส่งผลไปที่ตลับหมึกตัน  สีจึงไม่ออก 

             การแก้ปัญหาเบื้องต้นก็คือสั่งล้างจากเครื่องคอมฯ  แต่ถ้าสั่งล้างไปหลายครั้งแล้วก็ไม่ได้ผลอันนี้ต้องใช้ไม้ตาย  คือเป่าให้หลุดไปเลย  แต่ไม่ใช่ใช้ปากเป่านะ  แต่หมายถึงใช้หลอดฉีดยาที่แถมมากับน้ำหมึกนั้นแระดีที่สุด  ถ้าเป็นเครื่องติดแท้ง ก็ถอดหัวออกมาเลย แล้วใช้หลอดฉีดยา ดึงลมเข้าไปในหลอดแล้วเอาไปเป่าที่ช่องเล็กของแท้งอันที่สีไม่ออก  ถ้าแดงไม่ออกก็เป่าที่ ช่องสีแดงเลย(ปกติแท้งจะมีรูอยู่สองรูคือรูใหญ่ใช้เติมหมึก และช่องเล็กเป็นรูระบายลม  ก็รูเล็กนี้แระที่หลอดฉีดยาเป่าเลย  ให้น้ำหมึกซึมออกที่หัวเลย  แล้วใช้กระดาษทิชชูเช็ดให้แห้ง หรือรองซับไว้เลย  แล้วใช้กระดาษทิชชูนี้แระทดสอบดูว่าหายตันหรือยัง  โดยพับกระดาษสี่ชั้น แล้วซับที่หัวพ่นหมึก  จะเป็นเส้นสีสามสี ถ้าออกไม่ครบแสดงว่าหัวยังตันอยู่  ก็เป่าอีกจนออกครบทั้งสามสีนั้นแระจึงใช้ได้ 
           เสร็จแล้วใส่หัวเข้าไปอย่างเดิม   แล้วทดสอบดูว่าเป็นปกติแล้วหรือยังครับ  เท่านี่ก็เรียบร้อยแล้ว

วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

สารเคมีกำจัดแมลง



สารเคมีกำจัดแมลง



1. รูปแบบของสารเคมีกำจัดแมลง
      สารเคมีกำจัดแมลงส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปน้ำมันซึ่งไม่ละลายน้ำ บางชนิดก็ละลายได้แต่มีพิษสูงเกินไป จึงมีการผสมสารเคมีกำจัดแมลงในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมและสะดวกในการใช้ ได้ 8 ชนิดดังต่อไปนี้
      1.1 แบบผงผสมน้ำ มีชื่อย่อ WDP หรือ WP ติดมากับภาชนะที่บรรจุ สารเคมีกำจัดแมลงแบบนี้ประกอบด้วยสารออกฤทธิ์และสารพาหะหรือสารที่ทำให้เจือจาง ซึ่งได้แก่ผงดินขาว แป้งฝุ่น หรือสารอื่นที่เหมาะสมซึ่งจะช่วยให้ใบเปียกง่ายและช่วยในการกระจายตัว
      1.2 แบบน้ำมัน มีชื่อย่อ EC ติดมากับภาชนะที่บรรจุ สารเคมีกำจัดแมลงแบบนี้ประกอบด้วยสารออกฤทธิ์กับตัวทำละลายที่ไม่สามารถเข้ากับน้ำได้ ต่อมามีการเติมสาร emulsifier เพื่อช่วยให้สารออกฤทธิ์ผสมกับน้ำได้และยังช่วยให้เกาะใบพืช หรือติดตัวแมลงได้ดี เวลาใช้นำไปผสมกับน้ำให้ได้ความเข้มข้นตามต้องการ จะได้ส่วนผสมสีขาวขุ่นสารเคมีกำจัดแมลงแบบนี้มีใช้แพร่หลายที่สุด
      1.3 แบบน้ำเข้มข้นหรือน้ำ มีชื่อย่อ SC, WSC, SCW หรือ LC ติดมากับภาชนะที่บรรจุ สารเคมีกำจัดแมลงแบบนี้ ประกอบด้วยสารออกฤทธิ์และตัวทำละลายที่ผสมน้ำได้ ไม่มี emulsifier เวลาผสมน้ำแล้วจะไม่มีสีขาวขุ่น
      1.4 แบบน้ำเข้มข้นแขวนลอยหรือน้ำข้น มีชื่อย่อ F หรือ FL ติดมากับภาชนะที่บรรจุ สารเคมีจำกัดแมลงแบบนี้ทำได้โดยบดสารออกฤทธิ์กับพาหะ เช่น ผงดินขาวแล้วนำส่วนผสมที่ไม่ออกฤทธิ์ เช่น น้ำมาผสม มีลักษณะคล้ายกับสารเคมีกำจัดแมลงแบบผงผสมน้ำเวลาใช้นำมาใส่น้ำลงไปแล้วคนให้เข้ากัน สารเคมีกำจัดแมลงแบบนี้ใช้สะดวกและละลายน้ำได้ดีกว่าแบบผสมน้ำ
      1.5 แบบผงละลายน้ำ มีชื่อย่อ WSP หรื SP ติดมากับภาชนะที่บรรจุ สารเคมีกำจัดแมลงแบบนี้ ผลิตออกมาในรูปเม็ดหรือเกล็ด สามารถละลายน้ำได้ทันที อาจมีการเติมสารช่วยเกาะพื้นผิว สารเคมีกำจัดแมลงแบบนี้ละลายน้ำได้ง่ายและไม่ตกตะกอนแต่เมื่อเก็บไว้นานๆ จะดูดความชื้น มักจะจับตัวเป็นก้อนแข็ง
      1.6 แบบผงฝุ่น มีชื่อย่อ D ติดมากับภาชนะที่บรรจุ สารเคมีกำจัดแมลงแบบนี้ ผลิตโดยนำสารออกฤทธิ์มาบดละเอียดแล้วผสมกับผงของสารไม่ออกฤทธิ์ เช่น ผงทัลค์และเบนโธไนท์ ซึ่งส่วนผสมเหล่านี้จะทำให้เปอร์เซนต์ของสารออกฤทธิ์ลดลง สามารถใช้พ่นด้วยเครื่องพ่นผงได้ทันที มักใช้ในแหล่งที่ขาดน้ำ ข้อเสียเวลาใช้มีการฟุ้ง กระจาย
      1.7 แบบเม็ด มีชื่อย่อ G ติดมากับภาชนะที่บรรจุ สารเคมีกำจัดแมลงแบบนี้คล้ายกับแบบผง แต่มีขนาดใหญ่กว่า ส่วนประกอบได้แก่สารออกฤทธิ์และสารพาหะหรือสารที่ทำให้เจือจาง เช่น ทราย สารเคมีกำจัดแมลงแบบนี้ ใช้ได้ทันที โดยใช้ทางดินเท่านั้น ซึ่งจะออกฤทธิ์ซึมขึ้นไปทางระบบราก ห้ามนำไปละลายน้ำ เพราะนอกจากละลายยากแล้วยังมีอันตรายสูง
1.8 แบบยู แอล วี มีชื่อย่อ ULV ติดมากับภาชนะที่บรรจุสารเคมีกำจัดแมลงแบบนี้ ประกอบด้วยสารออกฤทธิ์ ผสมกับน้ำมันที่มีความหนืดและอัตราการระเหยต่ำเวลาใช้ต้องใช้กับเครื่องพ่น ยู แอส วี เท่านั้น

2. ชนิดของสารเคมีกำจัดแมลง
แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 4 กลุ่มดังนี้
3.1 คาร์บาเมท
3.2 ออร์กาโนฟอสเฟต
3.3 คลอริเนตเตต ไฮโดรฮาร์บอน
3.4 พัยริธรัม

กลุ่มที่ 1 คาร์บาเมท
      รูปแบบส่วนใหญ่ของกลุ่มนี้ เป็นสารเคมีกำจัดแมลงที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอ็นชัยม์โฆลีนเอสเตอเรสแบบชั่วคราวระยะเวลาออกฤทธิ์สั้น และสลายตัวได้เร็ว ทำให้ความเป็นพิษลดลง เมื่อได้รับทางปาก ผิวหนังและสูดดมจะมีอาการ มึนงง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย กระวนกระวาย ม่านตาหรี่ คลื่นไส้ อาเจียน น้ำตาและน้ำลายไหล เหงื่อออกมาก ปวดท้องเกร็ง ชีพจรเต้นช้า กล้ามเนื้อเกร็ง
การรักษา
      ใช้อะโธรปีน ซัลเฟต 2-4 มิลลิกรัม ฉีดเป็นระยะทุกๆ 10-15 นาที จนกระทั่งผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ไม่ต้องใช้สารพวก oxime เช่น 2-PAM สารเคมีกำจัดแมลงประเภทคาร์บาเมทที่มีจำหน่าย เช่น
สารเคมีกำจัดแมลงประเภทคาร์บาเมท
ชื่อสามัญ
ชื่อการค้า
ความเป็นพิษ LD50 (mg/kg)
ออลดิคาร์บ
(aldicarb)
เทมมิค 10% จี
7
เบนดิโอคาร์บ
(bendiocarb)
พีแคบ
40-120
เบนฟูราคาร์บ
(benfuracarb)
ออนโคล
138
บี พี เอ็ม ซี
(B P M C)
นาซิน
ไบขาบ 500 อีซี
410
คาร์บาริล
(carbaryl)
เซพวิน 50
เอส 85
500-850
คาร์โบฟูแรน
(carbofuran)
ฟูราดาน 3 จี และ 5 จี คูราแทร์
11
เมทธีโอคาร์บ
(methiocarb)
เมซูโรล
ไบโซล
15-35
เมทโธมิล
(methomyl)
แลนเนท
นิวดริน
17-24
เอ็ม ไอ พี ซี
(M I P C)
โมแซท
ท๊อกซิน
485
เอ็ม ที เอ็ม ซี
(M T N C)
ซูมาไซด์
286
อ๊อกซามิล
(oxamyl)
ไวย์เดทแอล
อ๊อกซามิล
5.4
โปรมีคาร์บ
(promecarb)
คาร์บามัลท์
74 - 90
โปร์โพเซอร์
(propoxur)
ไบกอน
อุนเด็น
95 - 104
ไธโอดิคาร์บ
(thiodicarb)
ลาร์ วิน
192

กลุ่มที่ 2 ออร์กาโนฟอสเฟต
      รูปแบบส่วนใหญ่ของกลุ่มนี้ เป็นสารเคมีกำจัดแมลงที่มีฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอ็นซัยม์ โฆลีนเอสเตอเรสแบบถาวร เมื่อได้รับทั้งทางปาก ผิวหนัง และสูดดม จะมีอาการคลื่นไส้ วิงเวียนอ่อนเฉลีย กล้ามเนื้อหดตัวเป็นหย่อมๆ แน่นหน้าอก อาเจียน ท้องเดิน ตาพร่า น้ำลายออกมากกว่าปกติ อาการพิษรุนแรงจะหมดสติ น้ำลายฟูมปาก อุจจาระ ปัสสาวะราด ชัก หายใจลำบาก และหยุดหายใจ

การรักษา
      ใช้อะโธรปีน ซัลเฟต ร่วมกับ 2 PAM หรือสารประกอบ oxime อื่นๆ ห้ามให้พวก morphine, theophylline, barbiturate, phenothiazines และ respiratory depresssant อื่นๆ

สารเคมีกำจัดแมลงประเภทออร์กาโนฟอสเฟตที่จำหน่ายมีดังนี้
ชื่อสามัญ
ชื่อการค้า
ความเป็นพิษ
LD50 (mg/kg)
อะซีเฟต
(acephate)
ออธีน 75 เอสพี
อะซีเฟต
866 - 945
อะซินฟอส - เมทธิล
(azinphos - methyl)
กูไธออน
5 - 20
คาร์โบพีโนไธออน
(carbophenothion)
ไตรไธออน 4 อี
จีอราไมท์ 2 อี
6.8 - 36.9
คลอร์เฟนวินฟอส
(chlorfenvinphos)
เบอร์เลน 24 อีซี และ 10 จี
ซาฟิครอน 10 จี
10 - 30
คลอร์ไพริฟอส
(chlorpyrifos)
ลอร์สแบน
คลอร์ดิน
97 - 276
คูมาฟอส
(coumaphos)
โครอล
อะซุนโทล
56 - 230
ไซอาโนโฟนฟอส
(cyanofenphos)
ชัวไซด์
89
ดีมีตอน
(demeton)
ซีสทอก
2.5 -12
ไดอะซินอน
(diazinon)
พาโตฟูดอน 3 จี
300 - 400
ไดคลอวอส
(divhlovos)
วาโปน่า
ดีดีวีพี
56 - 80
ไดโครโตฟอส
(dicrotophos)
ไบดริน 24 อีซี
คาร์ไบครอน 24 และ 50
22
ไดเมทโธเอท
(dimethoate)
คาบาเมท 40
รอกซิน
215
ไดซันโฟตัน
(disulfoton)
ไดซินตอน
โชวิเร็กซ์
2 - 12
อี พี เอ็น
(EPN)
คูมิฟอส
ซันฟอส
26
อีทริมฟอส
(etrimfos)
อีคาเม็ท 50
1,800
เฟนิโตรไธออน
(fenitrothion)
ซูมิไธออน
โฟลิไธออน
800
เฟนไธออน
(fenthion)
เลไบซิด
ทิกูวอน
255 - 298
เฟนวาเลอเรท
(fenvalerate)
ซูมิไซดิน
ซูมิ 35
451
ฟอร์โมไธออน
(formothion)
แอนธิโอ
365 - 500
ไอโซซาไธออน
(isoxathion)
คาร์ฟอส
คาร์ไธออน
112
มาลาไธออน
(malathion)
มาลาเฟซ
มาลาท๊อกซ
1,000
มาธามิโดฟอส
(methamidophos)
พามาโกร
โมนิเตอร์ เอฟ 5
19 -21
เมทธิดาไธออน
(methidathion)
ซูปราไซด์
44
มีวินฟอส
(methidathion)
ไซฟอส
ฟอสดริน
37 - 12
โมโนโครโตฟอส
(monocrotophos)
อโซดริน
โมฟอส
8 - 23
นาเลด
(naled)
โบรโกร
นาบรอม
430
โอมีโธเอท
(omethoate)
โฟลิเมท
ลิมาเอท
50
ออกซิดีมีตอน-เมทธิล
(oxydemeton-methyl)
เมตาซิลตอกซ์-อาร์
65 - 75
พาราไธออน
(parathion)
โฟลิคอล
โซมาดิล
4 - 13
เฟนโธเอท
(phenthoate)
ไดนาฟอส
เอลโคซา
439
โฟเรท
(phorate)
ไทเมท
2.4
ฟอสซาโลน
(ghosalone)
โซโลน
120 - 170
ฟอสเมท
(ghosmet)
อิมิดาน
พาราเคน
147 - 316
ฟอสฟามิดอน
(ghosphamidon)
ไมดอน
อาพามิดอน
17 - 30
ฟอกซิม
(ghoxim)
โวลาตัน
ไบไธออน
1.845
ไพริมิฟอส - เมทธิล
(pirimiphos - methyl)
แอคเทลลิก
มากกว่า 2,000
โปรพีโนฟอส
(prothiphos)
คูราครอน
ซีลีครอน
400
โปรไธโอฟอส
(prothiophos)
โตกูไธออน
925 - 966
โปรโธเอท
(prothoate)
แฟค
8
ควินนัลฟอส
(quinalphos)
ไปรซิล
71
ซัลโปรฟอส
(sulprofos)
โบลสตาร์
107
ไตรอะโซฟอส
(triazophos)
ฮอสตาไธออน
64
ไตรคลอร์ฟอน
(trichlofon)
ดิพเทอร์เร็กซ์
พร๊อกซอล
150 - 400

กลุ่ม 3 คลอริเนตเตด ไฮโดรคาร์บอน (chlorinated hydrocarbon compound)
      เป็นสารเคมีกำจัดแมลงที่มีคลอรีน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ กลไกออกฤทธิ์ยังไม่ทราบชัด อาการพิษเฉียบพลัน มีพิษต่อระบบประสาทส่วนกลาง ผู้ป่วยจะแสดงอาการไวต่อสิ่งเร้ามาก กระวนกระวาย เวียนศีรษะ เสียการทรงตัว บางครั้งมีการชักเกร็ง คล้ายกับได้สารสตริกนิน ผู้ป่วยอาจตายด้วยระบบหายใจล้มเหลว ไม่นิยมใช้เพราะมีความคงทนในสภาวะแวดล้อมสูงทำให้เกิดพิษตกค้างมาก
การรักษา
      ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะรักษาตามอาการสำหรับรายที่มีอาการหนักแก้ด้วยบาร์บิทุเรตชนิดออกฤทธิ์สั้น หรือไดอะซีแพม ห้ามให้ยาพวก stimulants เช่น epinephrine

สารเคมีกำจัดแมลงประเภทคลอรินเนตเตด ไฮโดรคาร์บอน ที่มีจำหน่ายมีดังนี้
ชื่อสามัญ
ชื่อการค้า
ความเป็นพิษ LD50 (mg/kg)
ออลดริน
(aldrin)
ออลเดร็กซ
ออลดริน
67
คลอร์เดน
(chlordane)
คลอเดน
เทอร์ราซิด
367 - 515
ดีลดริน
(dieldrin)
ดิลเดร็กซ์
ดิลไซด์
46
เอ็นโดซัลแฟน
(endosulfan)
ธิโอดาน
เมโทรดาน
30 - 100
เอ็นดริน
endrin
เอ็นเดร็กซ์
7 - 15
เฮพตาคลอร์
(heptachlor)
อาลามอน
เฮบตาไซด์
147 - 220
ลินเดน
(lindane)
อาร์ซาแกม
ซอนดาแกม
88 -125

กลุ่มที่ 4 ไพรีธรัม (Pyrethrum)
      เป็นสารเคมีกำจัดแมลงที่มีในธรรมชาติ สกัดได้จากดอกไม้ตระกูลเบญจมาศบางชนิด (Chrysanthemum sp.) มีประสิทธิภาพทำให้แมลงร่วงหล่นเร็ว (Knock down) มีพิษต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมต่ำเนื่องจากคุณสมบัติดังกล่าวจึงมีการสังเคราะห์สารเลียนแบบพัยรีธรัม เรียกว่า พัยรีธรอยด์ (Pyrethroids) เช่น Allerthrin, Tetramethrin เป็นต้น การออกฤทธิ์โดยตรงที่เซลล์ประสาทในรายที่ได้รับเข้าไปจำนวนมาก จะทำให้เกิดการชักกระดุก และเป็นอัมพาต อันตรายอาจเกิดจากตัวทำละลาย เช่น น้ำมันก๊าด ซึ่งมีพิษมากกว่าพัยรีธรัม

การรักษา
      ล้างกระเพาะอาหาร ด้วย 5% sodium bicarbonate แล้วสังเกตุอาการต่อไปอาจให้ diazepam เพื่อแก้อาการซัก ถ้าผู้ป่วยหายใจไม่ออก ให้ออกซิเจนและอะโธรปีนซัลเฟต

สารเคมีกำจัดแมลงประเภทพัยริธรัม ที่มีจำหน่ายดังนี้
ชื่อสามัญ
ชื่อการค้า
ความเป็นพิษ
LD50 (mg/kg)
ไซเปอร์มีทริน
(cypermethrin)
ริพคอร์ด
ซิมบุช
4,123
ดีคามีธรินหรือเดลตามีธริน
(decamethrin or deltamethrin)
เดก้า
เดซิส
128.5-138.7
เปอร์มีธริน
(permethrin)
แอมบุซ
พีราทรอยด์
มากกว่า 4,000
LD50 (Lethal dose) หมายถึง ค่าเฉลี่ยโดยวิธีวัดสถิติของวัตถุมีพิษ ที่ทำให้สัต

ที่มาเคมีวิทยา