วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

ลักใช้ไฟฟ้า


ลักใช้ไฟฟ้ามีความผิดฐานลักทรัพย์

ถ้าถามว่าลักใช้ไฟฟ้าจะมีความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่   เพราะไฟฟ้าไม่มีสัญฐานรูปร่าง  จับต้องไม่ได้เหมือน ทองคำ รถยนต์ ฯลฯแถมเวลาขึ้นศาลก็ไม่มีของกลางไปขึ้นศาลด้วยแต่ศาลก็เคยตัดสินมีความผิดฐานลักทรัพย์มาแล้วดั่งตัวอย่างคำตัดสินนี้
 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 699/2542 ของศาลชั้นต้น ได้ร่วมกันลักเอากระแสไฟฟ้า คิดเป็นมูลค่า 2,847 บาท ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอสังขะ ผู้เสียหาย ไปใช้ประโยชน์โดยทุจริต โดยจำเลยกับพวกร่วมกันแก้ไขดัดแปลงมิเตอร์ไฟฟ้าชำระรุดเสียหายไม่เคลื่อนที่ แล้วจำเลยกับพวกได้ใช้ไฟฟ้าโดยไม่เสียค่าไฟฟ้าให้แก่ผู้เสียหาย เหตุเหิดที่ตำบลเทพรักษา อำเภอสัง ขะ จังหวัดสุรินทร์ ต่อมาวันที่ 16 กรกฎาคม 2547 เจ้าพนักงานจับจำเลยได้ ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 335
                      

  จำเลยให้การรับสารภาพ

        ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ แต่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ จำคุก 1 ปี
                        จำเลยอุทธรณ์และฎีกา
            ศาลฎีกาพิพากษาว่า จำเลยกับพวกลักเอากระแสไฟฟ้าไปใช้ด้วยการทำให้มิเตอร์ไฟฟ้าไม่หมุนเพื่อให้ ตัวเลขวัดการใช้ไฟฟ้าไม่เคลื่อนที่ ซึ่งก็ตรงกับข้อเท็จจริงตามรายงานการสืบเสาะและพินิจ พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมแสดงว่าจำเลยกระทำโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเอากระแสไฟฟ้า ของผู้เสียหายไปใช้โดยไม่เสียค่าไฟฟ้าเป็นสำคัญ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ และตรงตามคำบรรยายฟ้องและคำขอให้ลงโทษของโจทก์แล้ว กรณีจึงไม่จำต้องพิจารณาต่อไปว่าการกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดฐานร่วมกันทำ ให้เสียทรัพย์หรือไม่ (คำพิพากษาฎีกาที่ 481/2549)
           จะเห็นได้ว่า ครั้งแรกศาลตัดสินไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์  เพราะไม่มีของกลางในทางคดีจึงมีแต่วิธีพิสูจน์เท่านั้น แม้แต่เวลาที่ใช้ไฟฟ้าก็พิสูจน์ไม่ได้อีกแระว่าลักไปจำนวนเท่าใด  เวลาเขาลักไปก็ไม่ได้ผ่านมิเตอร์เสียด้วย  การปริมาณการใช้ไฟฟ้าจะรู้ได้ก็ต้องใช้มิเตอร์วัดเท่านั้น  แต่ก็ไม่มีขโมยคนไหนเอามิเตอร์ไปวัดเวลาลักไฟฟ้าใช้แน่นอน 
           แต่คำว่าทรัพย์ทางพจนานุกรมไทย  ให้ความหมายไว้ว่า  ทรัพย์  คือ  เงินตรา  สมบัติพัสถาน  สิ่งมีค่า   และทรัพย์สิน  หมายถึงวัตถุที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่าง  ซึ่งอาจมีราคาและถือเอาเป็นกรรมสิทธิ์ได้   เห็นได้ไฟฟ้าเป็นทรัพย์สินที่ไม่มีรูปร่างแต่มีราคาและถือเป็นกรรมสิทธิ์ได้




ฮอร์โมนเพศชาย


                             การให้ฮอร์โมนเพศชายทดแทน article


                      ภาวะขาดฮอร์โมนเพศชายเริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นสำหรับชายสูงอายุ เพราะมีผลทั้งร่างกาย จิตใจและสุขภาพทางเพศรักษาโดยการให้ฮอร์โมนทดแทนเพื่อคงระดับฮอร์โมนให้อยู่ในระดับปกติ จะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของบุคคลนั้นๆ ให้ดียิ่งขึ้น
ผลดีของการให้ฮอร์โมนเพศชายทดแทน
  • ทำให้กระดูกมีความหนาแน่นขึ้น ป้องกันภาวะกระดูกพรุน
  • มวลกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น
  • ลดไขมันส่วนเกิน ( ลงพุง )
  • ความจำและอารมณ์ดีขึ้น ลดอาการซึมเศร้า
  • ความรู้สึกและความต้องการทางเพศดีขึ้น
          ผลข้างเคียงต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย :: ก่อนได้รับฮอร์โมนเพศชายเสริม แพทย์จะซักประวัติ ตรวจร่างกายโดยทั่วไป รวมถึงตรวจความเข้มข้นของเลือด ระดับไขมันในเลือด การทำงานของตับ และต่อมลูกหมาก
          ผลต่อความเข้มข้นของเลือด :: การให้ฮอร์โมนเพศชายทดแทนในระยะยาว จะเพิ่มระดับความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงทำให้หัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้น ซึ่งไม่ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ สามารถป้องกันได้โดยการตรวจเลือดเป็นประจำ ถ้าระดับความเข้มข้นของเลือดสูงขึ้น  ก็ควรได้รับการลดขนาดฮอร์โมนลงหรือบริจาคโลหิต
           ผลต่อระบบไขมันในเลือด :: ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มากขึ้นที่แสดงให้เห็นว่า ฮอร์โมนเพศชายช่วยลดระดับไขมันที่ไม่ดี ( LDL - Cholesterol ) และเพิ่มระดับไขมันที่ดี ( HDL - Cholesterol ) ส่งผลให้ลดการเกิดอุดตันของหลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจและลดการเกิดการอุดตันของหลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจและลดการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ การให้ฮอร์โมนเพศชาย เสริมจึงมีความปลอดภัยต่อไขมัน
           ผลต่อตับ :: ขณะนี้มีฮอร์โมนเพศชายชื่อ เทสทอสเตโรน อันเดคาโนแอท ( Testosterone Undecanoate ) เป็นฮอร์โมนชนิดรับประทานที่ถูกดูดซึมผ่านระบบน้ำเหลืองโดยไม่ผ่านตับ จึงไม่เป็นพิษต่อตับ ความปลอดภัยจึงมีสูง ส่วนฮอร์โมนเพศชายชนิดอื่นๆ เช่น ชนิดฉีด ยังต้องคำนึงถึงผลข้าเคียงต่อตับ ต้องตรวจระดับการทำงานของตับอย่างสม่ำเสมอ
           ผลต่อต่อมลูกหมาก :: ต่อมลูกหมากโตเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้ชายสูงวัยสุภาพบุรุษบางท่านเมื่อได้ยินคำว่า " ฮอร์โมน " ก็จะกลัวว่าอาจทำให้เกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก จากการศึกษาพบว่าการใช้ฮอร์โมนเพศชายเสริมไม่ก่อให้เกิดโรคต่อมลูกหมากโตหรือมะเร็งต่อมลกหมาก แต่ถ้าหากมีโรคทั้งสองนี้อยู่แล้วการให้ฮอร์โมนเพศชายเสริมจะทำให้จะทำให้โรคเป็นมากขึ้นสามารถเปรียบเทียบฮอร์โมนเพศชายเหมือนออกซิเจน และโรคต่อมลูกหมากเหมือนไฟไหม้ กล่าวคือ ออกซิเจนทำให้ไฟไหม้ลุกลามมากขึ้น แต่มิได้เป็นต้นเหตุของไฟไหม้
สิ่งสำคัญก่อนการได้รับฮอร์โมนเพศชายเสริม คือ การตรวจต่อมลูกหมากโดยใช้นิ้วผ่านทางทวารหนัก การตรวจระดับค่า PSA ( Prostate specific Antigen ) ในเลือดหากต้องการความแม่นยำมากขึ้น สามารถทำการตรวจอัลตราซาวด์ต่อมลูกหมากทางทวารหนักและนำชิ้นเนื้อมาตรวจได้ถ้าผลการตรวจเป็นปกติ การใช้ฮอร์โมนเพศชายเสริมถือได้ว่ามีความปลอดภัยสูง และควรมีการตรวจร่างกายและตรวจเลือดเป็นประจำในระหว่างที่กินฮอร์โมนโดยอยู่ในความดูแลของ
แพทย์อย่างใกล้ชิด


ทำไมฮอร์โมนเพศชายจึงลดลง ? article
                    เมื่ออายุมากขึ้นระดับฮอร์โมนในเพศชายจะลดลงอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป การลดลงของฮอร์โมนมิได้ลดลงเท่ากันในชายที่มีอายุเดียวกัน ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน การลดลงของฮอร์โมนนี้จะเริ่มเห็นได้ชัดเจนเมื่อมีอายุโดยประมาณ 50 ปีขึ้นไป โดยเฉลี่ยลดลงปีละ 1% สาเหตุของการลดลงของฮอร์โมนเพศชายเกิดจาก ::
  • มีการลดลงของเนื้อเยือในอัณฑะที่ใช้สร้างฮอร์โมนเพศชาย
  • มีการลดลงของฮอร์โมนจากสมองและต่อมใต้สมองที่ทำหน้าที่กระตุ้นอัณฑะให้สร้างฮอร์โมนเพศชาย
  • มีการเพิ่มขึ้นของโปรตีนที่จับกับฮอร์โมนเพศชายทำให้ปริมาณฮอร์โมนที่ออกฤทธิ์มีลดลง
  • สาเหตุที่กล่าวมานี้เป็นไปเองตามธรรมชาติของอายุที่มากขึ้น การดูแลสุขภาพกายใจให้ดี ก็มิอาจหลีกเลี่ยงภาวะลดลงของฮอร์โมนได้  แต่จะช่วยชะลอหรือยืดเวลาการลดลงให้นานขึ้น

คุณเข้าสู่ภาวะขาดฮอร์โมนเพศชายหรือยัง? article
แบบสอบถามทั้ง 10 คำถามนี้ คุณสามารถทำได้ด้วยตัวเอง เพื่อเป็นแนวทางให้ทราบว่า คุณมีโอกาสอยู่ในภาวะขาดฮอร์โมนเพศชายได้หรือไม่ ตอบคำถามแต่ละข้อโดยตอบว่า ใช่ หรือ ไม่ใช่
1.             คุณมีความต้องการทางเพศลดลงหรือไม่?
2.             คุณเคยรู้สึกเหนื่อยง่าย ไม่มีเรี่ยวแรงไม่กระปรี้กระเปร่าเหมือนร่างกายขาดพลังงานหรือไม่?
3.             คุณเคยรู้สึกว่าความแข็งแรงและความมีพละกำลังลดลงไปหรือไม่?
4.             ความสูงของคุณลดลงหรือไม่? (ภาวะกระดูกเสื่อม)
5.             คุณรู้สึกว่าความสุข ความสนุกสนานในชีวิตลดน้อยลงหรือถอยห่างออกไปหรือไม่?
6.             คุณรู้สึกเศร้า หดหู่ เหงาหงอยหรือไม่?
7.             คุณรู้สึกว่าช่วงเวลาปฏิบัติกิจกรรมทางเพศการแข็งตัวของอวัยวะเพศลดลงหรือไม่?
8.             คุณนอนหลับง่าย คล้ายคนหมดแรงหรือไม่?
9.             คุณเคยรูสึกว่าความสามารถในการเล่นกีฬาลดลงหรือไม่?
10.      ความสามารถในการทำงานของคุณลดลงหรือไม่?
ถ้าคุณตอบว่าใช่ในข้อ 1 หรือข้อ 7 เพียงข้อเดียวหรือตอบว่าใช่ในข้ออื่นๆ รวม 3 ข้อ แสดงว่าคุณอาจอยู่ในภาวะขาดฮอร์โมนในเพศชาย




วิธีการคิดค่าไฟฟ้า


การคิดค่าไฟฟ้าด้วยตนเอง

                จากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปัจจุบัน ส่งผลทำให้หลายบ้านต้องสำรวจและควบคุมค่าใช้จ่าย ในการครองชีพของตัวเองไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในการกินอยู่ตลอดจนค่าใช้จ่ายในด้านสาธารณูปโภค เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าน้ำมันรถ เพื่อให้เพียงพอกับเงินรายได้ที่ตนได้รับ สำหรับค่าใช้จ่ายที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ค่าไฟฟ้านั้น เรามีวิธีตรวจสอบค่าใช้จ่ายว่า เราใช้ไฟฟ้าไปกี่หน่วย จะต้องเสียค่าใช้จ่าย เป็นจำนวนเงินเท่าไร อีกทั้งยังสามารถหาแนวทางการประหยัดไฟฟ้าได้อีกด้วย
ก่อนที่เราจะทราบอัตราค่าไฟฟ้านั้น เราควรจะทราบว่า เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ ใช้ไฟฟ้าหรือกินไฟเท่าไหร่เสียก่อน โดยสังเกตคู่มือการใช้งานหรือแถบป้ายที่ติดอยู่กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เขียนว่า กำลังไฟฟ้า มีหน่วยเป็นวัตต์ (Watt) ถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีจำนวนวัตต์มาก ก็กินไฟมากตามไปด้วย ดังนั้นท่านสามารถคำนวณดูจากเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดในบ้านท่านว่ามีเครื่องใช้ไฟฟ้ากี่ชนิดแต่ละชนิดกินไฟกี่วัตต์ และเปิดใช้งานประมาณเดือนละกี่ชั่วโมง หลังจากนั้นท่านก็นำมาคิดคำนวณ ท่านจะทราบว่าในแต่ละเดือนท่านใช้ไฟฟ้าไปประมาณกี่หน่วยเพื่อเป็นแนวทางในการประหยัดค่าไฟฟ้าได้
สำหรับการใช้ไฟฟ้า 1 หน่วยหรือ ยูนิต คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาด 1,000 วัตต์ที่ใช้งานใน ชั่วโมง หรือใช้สูตรการคำนวณดังนี้
กำลังไฟฟ้า (วัตต์)ชนิดนั้นๆ  x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า ÷1000 x จำนวนชั่วโมงที่ใช้งานใน วัน = จำนวนหน่วยหรือยูนิต
ตัวอย่าง บ้านอยู่อาศัยทั่วไป สมมุติว่าบ้านของท่านมีเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมด อย่างดังต่อไปนี้ สังเกตจำนวนวัตต์เพื่อ
คำนวณ การใช้ได้จากป้ายที่ติดหรือคู่มือของเครื่องใช้ไฟฟ้า
1. มีหลอดไฟฟ้าขนาด 40 วัตต์ (รวมบัลลาสต์อีก 10 วัตต์ เป็น 50 วัตต์) จำนวน 10 ดวง เปิดใช้ประมาณวันละ 6 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 50x10÷1,000x6 = 3 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x3)=90 หน่วย
2. หม้อหุงข้าว ขนาด 600 วัตต์ จำนวน ใบ เปิดใช้ประมาณวันละ 30 นาที จะใช้ไฟฟ้าวันละ 600x1÷1000x0.5=0.3 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x0.3)=9 หน่วย
3. ตู้เย็น ขนาด 125 วัตต์ จำนวน ตู้ เปิดตลอด 24 ชั่วโมง สมมุติคอมเพรสเซอร์ทำงาน ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 125x1÷1000x8= 1 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x1)= 30 หน่วย
4. เครื่องปรับอากาศ ขนาด 2,000 วัตต์ จำนวน เครื่อง เปิดวันละ 12 ชั่วโมง สมมุติคอมเพรสเซอร์ทำงานวันละ ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 2,000x1÷1000x8= 16 หน่วย หรือประมาณดือนละ (30x16)= 480 หน่วย
5. เครื่องปรับอากาศ ขนาด 1,300 วัตต์ จำนวน เครื่อง เปิดใช้งานวันละ ชั่วโมง สมมุติคอมเรสเซอร์ทำงานวันละ ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 1,300x1÷1,000x5= 6.5 หน่วย หรือประมาณวันละ (30x6.5) = 195 หน่วย
6. เตารีดไฟฟ้า ขนาด 800 วัตต์ จำนวน เครื่อง เปิดวันละ ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 800x1÷1000x1 = 0.8 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x0.8)= 24 หน่วย
7. ทีวีสีขนาด 100 วัตต์ จำนวน เครื่อง เปิดใช้งานวันละ ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 100x1 ÷x3 = 0.3 หรือประมาณเดือนละ (30x0.3) = 9 หน่วย
8. เครื่องทำน้ำอุ่น ขนาด 4,500 วัตต์ จำนวน เครื่อง เปิดใช้งานวันละ ชั่วโมงจะใช้ไฟฟ้าวันละ 4,500x1÷1000x1=4.5 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x4.5) = 135 หน่วย
9. เตาไมโครเวฟ ขนาด 1,200 วัตต์ จำนวน เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 30 นาที จะใช้งานวันละ 1,200x1 ÷1000x0.5 = 0.6 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x0.6) = 18 หน่วย  
ดังนั้นในแต่ละเดือนบ้านของท่านใช้ไฟฟ้าไปทั้งหมดประมาณ 990 หน่วย จากนั้นท่านก็สามารถคำนวณค่าไฟฟ้าของท่านได้ตามอัตราค่าไฟฟ้าดังนี้
อัตราค่าไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย ซึ่งมีผู้ใช้ไฟฟ้าเป็นจำนวนมากแบ่งออกเป็น ประเภทได้แก่
1. ประเภทมีการใช้พลังงานไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือนมีอัตรา ดังต่อไปนี้ (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ค่าไฟฟ้าต่ำสุด
คือ
ไม่มีการใช้ไฟฟ้า
4.67
บาท
หน่วย (กิโลวัตต์ชั่วโมง) แรก
(หน่วยที่ 1-5)
เป็นเงิน
4.96
บาท
10 หน่วยต่อไป
(หน่วยที่ 6-15)
หน่วยละ
0.7124
บาท
10 หน่วยต่อไป
(หน่วยที่ 16-25)
หน่วยละ
0.8993
บาท
10 หน่วยต่อไป
(หน่วยที่ 26-35)
หน่วยละ
1.1516
บาท
65 หน่วยต่อไป
(หน่วยที่ 36-100)
หน่วยละ
1.5348
บาท
50 หน่วยต่อไป
(หน่วยที่ 101-150)
หน่วยละ
1.6282
บาท
250 หน่วยต่อไป
(หน่วยที่ 151-400)
หน่วยละ
2.1329
บาท
เกินกว่า 400 หน่วย
(หน่วยที่ 401เป็นต้นไป)
หน่วยละ
2.4226
บาท
ประเภทปริมาณการใช้ไฟฟ้าเกินกว่า 150 หน่วยต่อเดือนมีอัตราดังต่อไปนี้(ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ค่าไฟฟ้าต่ำสุด คือ
ไม่มีการใช้ไฟฟ้า
เดือนละ
83.18
บาท
35 หน่วย(กิโลวัตต์ชั่วโมง)
(หน่วยที่ 1-35)
เป็นเงิน
85.21
บาท
115 หน่วยต่อไป
(หน่วยที่ 36-150)
หน่วยละ
1.1236
บาท
250 หน่วยต่อไป
(หน่วยที่ 151-400)
หน่วยละ
2.1329
บาท
เกินกว่า 400 หน่วย
(หน่วยที่401เป็นต้นไป)
หน่วยละ
2.4226
บาท

ปัจจุบัน การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ยังไม่มีการปรับโครงสร้างค่ากระแสไฟฟ้าแต่อย่างใด ซึ่งอัตราค่าไฟฟ้าที่ใช้ในปัจจุบันได้เริ่มใช้มาตั้งแต่เดือนมกราคม 2540 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตามการคิดค่าไฟฟ้านั้น มีปัจจัยอย่างหนึ่งที่จะต้องมาคำนวณด้วย นั้นก็คือค่าการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ หรือที่เราเรียกว่าค่า Ft (Energy Adjustment charge) หลายท่านคงสงสัยว่าค่า Ft คืออะไร ความหมายของค่าดังกล่าวคือเป็นตัวประกอบ ที่ใช้ในการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติมีค่าเป็นสตางค์ต่อหน่วยใช้สำหรับปรับค่าไฟฟ้าที่ขึ้นลง ในแต่ละเดือนโดยนำไปคูณ กับหน่วยการใช้ประจำเดือน ค่า Ft ดังกล่าวอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง ทั้งนี้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถตรวจสอบได้จากใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีค่าไฟฟ้าประจำเดือนนั้นๆ

ตัวอย่างวิธีการคิดค่าไฟฟ้า
สมมุติว่าเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 1.2 ใช้ไฟฟ้าไป
 990 หน่วย
35 หน่วยแรก

85.21
บาท
115 หน่วยต่อไป
(115x1.1236 บาท)
129.21
บาท
250 หน่วยต่อไป
(250x2.1329 บาท)
533.22
บาท
ส่วนที่เกินกว่า 400 หน่วย
(990-400 = 590 x 2.4226 บาท)
1,429.33
บาท
รวมเป็นเงิน

2,176.97
บาท

คำนวณค่า
 Ft โดยดูได้จากใบแจ้งหนี้/ใบเสร็จรับเงิน หรือสอบถามจากการไฟฟ้านครหลวง
ตัวอย่าง       ค่า
 Ft มิถุนายน 2541 หน่วยละ 5.45 สตางค์
990 หน่วย x 0.05045 บาท

499.46
บาท
รวมเงิน
2,176.97+499.46 =
2,676.43
บาท
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
= 2,676.43 x 7/ 100 =
187.35
บาท
รวมเป็นเงิน 2,863.78 บาท
ค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บ
2,863.75
บาท

หมายเหตุ ในกรณีที่คำนวณค่าไฟฟ้าแล้วเศษสตางค์ที่คำนวณได้มีค่าต่ำกว่า 12.50 สตางค์ กฟน. จะทำการปัดเศษลง ให้เต็ม จำนวน ทุกๆ 25 สตางค์ และถ้าเศษสตางค์ มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 12.50 สตางค์ กฟน.จะปัดเศษขึ้นให้เต็มจำนวนทุก ๆ 25 สตางค์
สำหรับตัวอย่างการคิดค่าไฟฟ้าที่ให้มาข้างต้นนี้ท่านสามารถนำไปคำนวณการใช้ไฟฟ้าในบ้านของท่านได้ เพื่อเป็นแนวทางในการประหยัดค่าไฟฟ้า อย่างไรก็ตามการใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด และมีประสิทธิภาพนั้น ท่านควรรู้จักเลือกเครื่องไฟฟ้าให้เหมาะสมกับการใช้งาน และใช้เท่าที่จำเป็นซึ่งจะช่วยให้ท่าน สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้เป็นอย่างมาก