วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

การกำจัดวัชพืชในสวนยาง และการกรีดยาง




การกำจัดวัชพืชในสวนยาง
การกำจัดวัชพืชทำได้ วิธีคือ 
1. ใช้จอบถากหรือแทรกเตอร์ไถ วิธีนี้เกษตรกรนิยมใช้มากแต่มีข้อเสียคือจะกระทบกระเทือนต่อราก ทำให้ต้นยางชะงักการเจริญเติบโต 
2. ใช้วิธีปลูกพืชคลุมดิน โดยนำเมล็ดพืชคลุมดินแต่ละชนิดมาผสมกันแล้วนำไปปลูกโดยใช้เมล็ดพืชคลุมดินในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อพื้นที่ปลูกยาง ไร่ ยกเว้นในท้องที่แห้งแล้งใช้อัตรา 1.5 กิโลกรัมต่อไร่  

อัตราการผสมเมล็ดพืชคลุมดิน 
ภาคใต้และภาคตะวันออก 
- คาโลโปโกเนียม 2 ส่วน เซนโตรซีม่า 2 ส่วน เพอราเรีย 1 ส่วน 
-  คาโลโปโกเนียม ส่วน เซนโตรซีม่า 4 ส่วน เพอราเรีย ส่วน 
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
-  คาโลโปโกเนียม 1 ส่วน  เพอราเรีย 1 ส่วน 
โดยก่อนปลูกควรนำเมล็ดพืชคลุมดินไปแช่ในน้ำอุ่น (น้ำร้อน 2 ส่วนผสมกับน้ำเย็น 1 ส่วน) ทิ้งไว้ คืน แล้วเทน้ำทิ้ง ปล่อยให้เมล็ดแห้งพอหมาด จากนั้นนำเมล็ดไปคลุกกับปุ๋ยร้อคฟอสเฟตในปริมาณที่เท่ากันโดยน้ำหนัก แล้วจึงนำไปปลูกได้ 
- วิธีการปลูกพืชคลุมดิน ให้ใช้จอบขุดดินเป็นร่องลึกประมาณ 2-3 นิ้ว ให้เป็นแถว แถว โดยให้แถวริมที่อยู่ชิดแถวยางอยู่ห่างจากแถวยางข้างละ 2 เมตร ส่วนแถวกลางให้อยู่ระหว่างกลางของแถวริมทั้งสอง นำเมล็ดพืชคลุมดินโรยลงในร่องแล้วเกลี่ยดินกลบเมล็ด 
การปลูกพืชคลุมดินนี้จะลงมือปลูกพืชคลุมดินก่อนหรือจะปลูกพร้อมๆกับปลูกยาง หรือหลังปลูกยางแล้วก็ได้ แต่เพื่อความสะดวกและง่ายต่อการกำจัดวัชพืชควรปลูกพืชคลุมดินหลังจากได้เตรียมดินวางแนวและกะ ระยะปลูกยาง เสร็จเรียบร้อยแล้ว 
หลังจากปลูกพืชคลุมดินจนกระทั่งเมล็ดงอกเป็นต้นกล้าเล็กๆแล้ว ควรดูแลกำจัดวัชพืชอย่างสม่ำเสมอจนกระทั่งพืชคลุมดินเริ่มทอดเถาเลื้อยไปคลุมดินจึงใส่ปุ๋ยร้อคฟอสเฟต ในอัตรา กิโลกรัมต่อไร่เพื่อบำรุงพืชคลุมดิน 
 
3. การใช้สารเคมี เป็นวิธีที่ให้ผลดี ประหยัดแรงงาน และเวลา นิยมใช้กับต้นยางที่มีอายุ ปีขึ้นไป หรือต้นยางที่มีเปลือกบริเวณโคนต้นเป็นสีน้ำตาลสูงจากพื้นดินมากกว่า 75 เซนติเมตรไปแล้ว ส่วนต้นยางที่มีเปลือกบริเวณโคนต้นเป็นสีน้ำตาลสูงจากพื้นดินน้อยกว่า 75 เซนติเมตรไม่ควรใช้วิธีนี้ 
 
การใช้สารเคมีกำจัดพืชสำหรับยางอ่อน  
การปลูกยางโดยใช้ต้นตอตาหรือยางชำถุง จะใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชในแถวยางได้อย่างปลอดภัยต่อเมื่อต้นยางมีเปลือกสีน้ำตาลที่บริเวณ โคนต้นสูงจากพื้นดิน 75 เซนติเมตร 
สารเคมีที่ใช้ในสวนยางอ่อนมีอยู่หลายสูตร แต่จะแนะนำเฉพาะบางสูตรที่หาได้ง่ายเช่น 
สูตรที่ ใช้พาราควอท 80 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ ระวังอย่าให้สารเคมีถูกใบหรือส่วนที่เป็นสีเขียวของต้น สูตรนี้จะเหมาะกับต้นยางที่มีอายุตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป สามารถคุมวัชพืชได้นาน 3-5 สัปดาห์โดยหลังจากพ่นสารเคมีแล้วยภายใน 2-3 ชั่วโมง จะต้องไม่มีฝนตก การใช้สารเคมีจึงจะได้ผลสมบูรณ์ 
สูตรที่ 2 ใช้ดาลาพอน 800 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อพื้นที่ ไร่ ฉีดพ่น และหลังจากนั้นอีก 21 วัน ให้พ่นซ้ำด้วยพาราควอท 40 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ อีกครั้งหนึ่ง สูตรนี้เหมาะกับต้นยางที่มีอายุตั้งแต่ ปีขึ้นไป โดยส่วนใหญ่จะใช้กำจัดวัชพืชพวกใบเลี้ยงเดี่ยว 
สูตรที่ 3 ใช้พาราควอท 60 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) และ 2,4-ดี  150 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อพื้นที่ ไร่ สุตรนี้จะเหมาะกับต้นยางที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่จะใช้กำจัดวัชพืชพวกใบเลี้ยงคู่ รวมทั้งพืชคลุมที่เลื้อยเข้าไปพันต้นยาง 
สูตรที่ 4 ใช้ไกลโฟเสท 205 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ สามารถกำจัดวัชพืชได้หลายชนิดโดยไม่มีพิษตกค้างในดิน สามารถคุมวัชพืชได้นาน เดือน สูตรนี้เหมาะกับต้นยางที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป โดยหลังจากพ่นสารเคมีแล้วภายใน 6 ชั่วโมง จะต้องไม่มีฝนตก การใช้สารเคมีจึงจะได้ผลสมบูรณ์ 
การใช้สารเคมีกำจัดพืชสำหรับสวนยางที่กรีดแล้ว  
ใช้พาราควอท 80 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรฉีดพ่นในพื้นที่ 1 ไร่ โดยใช้หัวฉีดสีเหลือง 
การกำจัดหญ้าคา  
การใช้สารเคมีกำจัดหญ้าคานับว่าเป็นวิธีที่ประหยัดค่าใช้จ่ายและได้ผลดีกว่าวิธีอื่นๆ โดยมีสูตรการใช้สารเคมีให้เลือก สูตรคือ 
สูตรที่ 1 ใช้ดาราพอน 1.6 กิโลกรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 100 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ โดยใช้หัวฉีดสีแดง หลังจากฉีดพ่นแล้ว 21 วัน ให้ใช้ดาลาพอนในอัตราเดิมฉีดพ่นซ้ำอีกครั้ง จากนั้นประมาณ 3-4 เดือน หากมีหญ้าคางอกหรือหลงเหลืออยู่ ควรฉีดพ่นสารเคมีอีกครั้งในอัตราเดิม 
สูตรที่ 2 ถ้าต้นยางมีอายุตั้งแต่ ปี ลงมาและมีหญ้าคาขึ้นบริเวณโคนต้น ให้ฉีดพ่นด้วยด้วยดาลาพอน 1.6 กิโลกรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 100 ลิตรต่อพื้นที่ ไร่ หลังจากฉีดพ่นแล้ว 21 วัน ให้ใช้พาราควอท 80 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 100 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ เพื่อลดอันตรายของต้นยางอ่อนซึ่งอาจเกิดขึ้นจากดาลาพอน 
สูตรที่ 3 ใช้ไกลโฟเสท 410 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 100 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ฉีดพ่นเพียงครั้งเดียว 
ข้อสังเกต การกำจัดหญ้าคาควรฉีดพ่นสารเคมีในช่วงที่หญ้าคากำลังเจริญเติบโต (ต้นฤดูฝน) จะได้ผลดีที่สุด การกำจัดหญ้าคาด้วยไกลโฟเสทให้ผลดีกว่าดาลาพอน ซึ่งดาลาพอนต้องพ่นถึง 2 ครั้ง แต่เมื่อเปรียบเทียบทางด้านค่าใช้จ่ายแล้วการใช้ดาลาพอนจะประหยัดกว่า 
หมายเหตุ : เนื้อสารบริสุทธิ์ หมายถึง ปริมาณสารออกฤทธิ์ซึ่งจะต้องปรากฏในฉลากที่ภาชนะบรรจุเป็นภาษาไทยตามพระราชบัญญัติวัตถุมีพิษ พ.ศ. 2510 มาตรา 21 

การกรีดยาง 
การกรีดยางต้องยึดหลักที่ว่า เมื่อกรีดแล้วจะต้องได้น้ำยางมากที่สุด เปลือกเสียหายน้อยที่สุด กรีดได้นาน 25-30 ปี และประหยัดค่าใช้จ่ายมากที่สุด
ขนาดของต้นยางที่เปิดกรีดได้ 
1. ขนาดของต้นยางที่พร้อมเปิดกรีดต้องมีเส้นรอบต้นไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร วัดที่ความสูงจากพื้นดิน 150 เซนติเมตร 
2. เปิดกรีดครั้งแรกเมื่อมีจำนวนต้นยางที่พร้อมเปิดกรีดในสวนเกินกว่าครึ่งหนึ่งของต้นยางทั้งหมดในสวน 
3. ต้นยางติดตา สามารถเปิดกรีดครั้งแรกได้ที่ระดับความสูงจากพื้นดิน 50, 75, 100, 125, หรือ 150 เซนติเมตรระดับใดระดับหนึ่งก็ได้ แต่ถ้าเปิดกรีดต่ำจะได้รับผลผลิตมากกว่า 
 
 
วิธีติดรางและถ้วยรับน้ำยาง 
เวลาที่เหมาะสมในการกรีดยาง 
ควรจะเริ่มกรีดยางตั้งแต่ตอนเช้า ประมาณ 06.00-08.00 น. เพราะจำทำให้ปฏิบัติงานได้สะดวกเนื่องจากมองเห็นชัดเจนกว่ากลางคืนและผลผลิตที่ได้ใกล้เคียงกับการ กรีดในตอนกลางคืน
ขนาดของงานกรีดยาง 
คนกรีดยาง 1 คน จะสามารถกรีดยางในสวนยางที่ปลูกในพื้นที่ราบ ตามระบบครึ่งลำต้นวันเว้นวัน  
ได้ประมาณ 400-450 ต้นต่อวัน
วิธีการกรีดยาง 
ควรกรีดยางโดยใช้วิธีกระตุกข้อมือหรือการซอย พร้อมกับย่อตัวและสลับเท้าไปตามรอยกรีดของต้นยาง อย่ากรีดโดยวิธีใช้ท่อนแขนลากหรือกระชากเป็นอันขาด การกรีดโดยวิธีกระตุกข้อมือจะทำให้กรีดได้เร็ว ควบคุมการกรีดง่าย กรีดเปลือกได้บาง แม้จะกรีดบาดเนื้อไม้ก็จะบาดเป็นแผลเล็กๆเท่านั้น
ระบบการกรีดยาง 
เนื่องจากในระยะ 2-3 ปีแรกของการกรีด ต้นยางยังอยู่ในระยะการเจริญเติบโตค่อนข้างสูง การกรีดยางมากเกินไปจะทำให้ต้นยางชะงักการเจริญเติบโต ดังนั้นจึงควรกรีดยางในระบบครึ่งต้นวันเว้นวันโดยหยุดกรีดในช่วงผลัดใบและไม่มีการกรีดชดเชยเพื่อ ทดแทน วันที่ฝนตกจนกระทั่งปีที่ ของการกรีดเป็นต้นไป จึงสามารถกรีดชดเชยได้ระบบกรีดครึ่งลำต้นวันเว้นวันนี้ใช้ได้กับยางเกือบทุกพันธุ์ ยกเว้นบางพันธุ์ที่เป็นโรคเปลือกแห้งได้ง่ายเท่านั้นที่ควรใช้ระบบกรีดครึ่งลำต้นวันเว้นสองวัน
ข้อควรปฏิบัติในการกรีดยาง 
1. ควรกรีดยางตอนเช้าหลังจากที่มีแสงสว่างแล้ว 
2. กรีดยางเฉพาะต้นที่ได้ขนาดแล้ว 
3. รอยกรีดจะต้องเริ่มจากซ้ายบนมาขวาล่าง เอียงประมาณ 30 องศากับแนวระดับ 
4. อย่ากรีดเปลือกหนา เพราะจะทำให้เปลือกงอกใหม่เสียหาย 
5. อย่ากรีดเปลือกหนา ภายใน 1 เดือน ไม่ควรกรีดให้เปลืองเปลือกเกิน 2.5 เซนติเมตร หรือภายใน ปี ไม่ควรกรีดให้เปลืองเปลือกเกิน 25 เซนติเมตร 
6. หยุดกรีดเมื่อยางผลัดใบหรือเป็นโรคหน้ายาง 
7. มีดกรีดยางต้องคมอยู่เสมอ 
8. การเปิดกรีดยางหน้าที่สองและหน้าต่อไปให้เปิดกรีดที่ระดับความสูงจากพื้นดิน 150 เซนติเมตร
การกรีดยางหน้าสูง  
การกรีดยางหน้าสูง หมายถึง การกรีดยางหน้าบนเหนือหน้ากรีดปกติซึ่งเป็นส่วนที่ไม่เคยกรีดยางมาก่อน ต้นยางที่เหมาะสมที่จะทำการกรีดยางหน้าสูงคือ ต้นยางก่อนโค่นซึ่งมีอายุมาก หรือหน้ากรีดปกติเสียหาย 
โดยทั่วไปการกรีดยางหน้าสูงจะต้องใช้สารเคมีเร่งน้ำยาควบคู่กันไปด้วย เพื่อต้องการให้ได้รับยางมากที่สุดก่อนที่จะโค่นยางเก่าเพื่อปลูกแทน 2-4 ปี โดยใช้สารเคมีเร่งน้ำยางอีเทรล 2.5 เปอร์เซ็นต์เป็นตัวเร่ง
การใช้สารเคมีเร่งน้ำยางกับรอยกรีดหน้าล่าง  
วิธีนี้เหมาะสำหรับต้นยางที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป โดยใช้สารเคมีเร่งน้ำยางเข้มข้น 2.5 เปอร์เซ็นต์ทาเหนือรอยกรีดหน้าล่างทุก 3 สัปดาห์โดยไม่ต้องขูดเปลือกและลอกขี้ยาง แต่ต้องกรีดครึ่งต้นวันเว้นสองวันโดยเคร่งครัดเพื่อป้องกันการเกิดอาการโรคเปลือกแห้ง ไม่แนะนำให้ใช้สารเคมีเร่งน้ำยายางกับยางที่เพิ่งเปิดกรีดใหม่ ยกเว้นยางบางพันธุ์ที่มักจะให้น้ำยางน้อยในช่วงแรกของการเปิดกรีด เช่น พันธุ์จีที (GT) 1 อาจใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง 2.5 เปอร์เซ็นต์ทาในรอยกรีด โดยลอกขี้ยางออกก่อนจากที่เปิดกรีดไปแล้ว เดือนก็ได้และทาสารเคมีเร่งน้ำยางทุก 3-4 เดือนหรือปีละ 3-4 ครั้ง ใช้ระบบกรีดครึ่งลำต้นวันเว้นสองวัน แต่ในปีถัดไปถ้าผลผลิตสูงขึ้น แล้วควรหยุดใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง
สรุปคำแนะนำการกรีดยางและการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง  
เรื่อง
คำแนะนำ
การเปิดกรีด
- ต้นติดตา
- เปิดกรีดเมื่อเส้นรอบวงของลำต้นมีขนาดตั้งแต่ 50 เซนติเมตรขึ้นไป โดยวัดตรงบริเวณที่สูงจากพื้นดิน 150 เซนติเมตร
- รอยกรีดทำมุม 30 องศากับแนวระดับ เอียงจากซ้ายบนลงมาขวาล่าง
หน้าที่ 1 เปิดกรีดที่ระดับ 50, 75, 100, 125 หรือ 150 เซนติเมตรจากพื้นดิน ระดับใดระดับหนึ่งก็ได้ แต่หน้าที่ และเปลือกงอกใหม่เปิดกรีดที่ระดับ 150 เซนติเมตรจากพื้นดิน
ระบบกรีด
-กรีดยางหน้าล่าง
กรีดครึ่งลำต้นวันเว้นวันสำหรับ ยางทุกพันธุ์ยกเว้นบางพันธุ์ที่เป็นโรคเปลือกแห้งได้ง่าย เช่น พันธุ์อาร์อาร์ไอเอ็ม 628, พีบี 28/59, พีบี 5/63
-กรีดยางหน้าสูง
- การกรีดมากกว่า 3 ปีขึ้นไป ใช้ระบบกรีดขึ้นหนึ่งในสามของลำต้นวันเว้นวัน ควบคู่กับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง
การกรีดน้อยกว่า ปี ใช้ระบบกรีดขึ้นหนึ่งในสี่ของลำต้น รอย กรีดสลับรอยทุกวัน ควบคู่กับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง
- การกรีดหักโหม ( เดือนก่อนโค่น) ใช้ระบบกรีดขึ้นครึ่งลำต้น รอยสลับวันกัน ควบคู่กับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยางเมื่อถึงเดือนสุดท้ายก่อนโค่น ให้กรีดทั้ง รอยพร้อมกัน
การใช้สารเคมีเร่งน้ำยางกับการกรีดยางหน้าล่าง
-ใช้กัเปลือกงอกใหม่
ทาสารเคมีเร่งน้ำยาง 2.5 เปอร์เซ็นต์ เหนือรอยกรีดทาเป็นรอยกว้าง 1.25 เซนติเมตรใช้ปีละ 3-4 ครั้ง
ควรกรีดวันเว้นสองวัน
- ใส่ปุ๋ยเป็นประจำทุกปี
-ใช้กับเปลือกเดิม
- ทาสารเคมีเร่งน้ำยาง 2.5 เปอร์เซ็นต์ โดยวิธีลอกขี้ยางออกแล้วทาในรอยกรีด ใช้ปีละ 3-4 ครั้ง
- ควรกรีดวันเว้นสองวัน
ทาสารเคมีเร่งน้ำยางทันทีที่ลอกขี้ยางเสร็จ
-การกรีดยางหน้าสูง
ทาสารเคมีเร่งน้ำยาง 2.5 เปอร์เซ็นต์ บนรอยขูดเปลือกในแนวตั้ง 3 รอย ความยาวของรอยที่ขูด 40-50 เซนติเมตร กว้าง 1.5 เซนติเมตร
- ทาทุก 1-2 เดือน
**ควรใช้เฉพาะกับยางพันธุ์จีที (GT) 1 ในช่วง 1-3 ปีแรกของการเปิดกรีด 

 
  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น