สารไนเตรท
สารไนเตรท คือไนโตรเจนที่ยังเปลี่ยนรูปยังไม่หมด
โดยธรรมชาติไนโตรเจนเมื่อถูกลำเลียงเข้าสู่ต้นพืช
จะมีจุลลีนทรีชนิดหนึ่งกระทำการเปลี่ยนรูปไนโตรเจนเป็นกรดอะมิโนเพื่อให้พืชนำไปสู่กระบวนการเจริญเติบโตคือสังเคราะห์ฮอร์โมนพืชต่อไป
สารไนเตรทมาจากไหน
1 ปุ๋ยต่างๆ ที่มีสารประกอบไนโตรเจน เช่น
21-0-0 15-15-15 13-13-21 46-0-0
เป็นต้น
2 ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก
ซากพืชและซากสัตว์
เมื่ออยู่ในดินจะถูกแบคทีเรีย
เปลี่ยนรูปเป็นไนเตรท ซึ่งพืชสามารถดูดซึมเข้าไปใช้ได้
3 อากาศ ในบรรยากาศทั่วไปจะมีไนโตรเจนอยู่ 79 %
เมื่อเกิดฟ้าแลบ ฟ้าผ่าและฝนตกไนโตรเจนก็จะติดมากับ
เมื่อฟ้าแลบไนโตรเจนในอากาศตกลงพื้นดิน |
ฝน
การสะสมในสับปะรด
การใช้ปุ๋ยประเภทไนโตรเจนในช่วงออกดอกจนถึงเก็บเกี่ยวเป็นปัญหาทำให้กระบวนการเปลี่ยนนำไปใช้ในสับปะรดไม่หมดจึงตกค้างในหัวของสับปะรด
จริงๆแล้วคนสามารถรับประทานสับประรดที่มีสารไนเตรทตกค้างในสับปะรดได้ แต่มีต่อสับปะรดกระป๋องเพราะสารไนเตรท จะไปกัดกร่อนกระป๋องที่ใส่สับปะรด ซึ้งจะทำให้สารดีบุกที่ใช้ในการเคลือบกระป๋องหลุดออกมาเป็นอันตรายต่อผู้ที่รับประทานสับปะรดกระป๋องได้
การป้องกันสารไนเตรทตกค้างในสับปะรด
ไม่ใส่ปุ๋ยทางดินช่วงที่สับปะรดมีหัวโดยเฉพาะปุ๋ยที่ธาตุไนโตรเจนผสมอยู่ เช่น
13-13+-21 46-0-0 15-15-15 21-0-0
เป็นต้น
ไม่ตอนจุก แต่อาจแคะจุกได้ที่อายุ 3
เดือน
เก็บผลที่สุกแล้วแต่ในทางปฏิบัติเป็นไปได้ยาก ดังนั้นก่อนเก็บเกี่ยว 15 วัน
อาจฉีดพ่นสารในกลุ่ม แมงกานิส สังกะสี
และกำมะถัน ก็ได้
การขยายหัวควรใช้แต่ฮอร์โมนและสารในกลุ่ม โปรแทชเซียม เช่น 0-0-60 0-0-50
ตัวแรกอาจทำให้สับปะรดเปรี้ยวได้เพราะมีคลอไรมากไม่เหมาะทำสับประรดขายผลสด
ส่วนตัวหลังทำให้สับปะรดหวานเหมาะกาการทำส่งแม่ค้าขายผลสด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น