ปาล์มน้ำมัน
ปาล์มน้ำมัน
ปาล์มน้ำมัน (Oil palm) เป็นพืชตระกูลปาล์มลักษณะลำต้นเดี่ยว ขนาดลำต้นประมาณ 12 -20 นิ้ว
เมื่ออายุประมาณ 1-3 ปี ลำต้นจะถูกหุ้มด้วยโคนกาบใบ
แต่เมื่ออายุมากขึ้นโคนกาบใบจะหลุดร่วงเห็นลำต้นชัดเจน ผิวของลำต้นคล้ายๆ ต้นตาล
ลักษณะใบเป็นรูปก้างปลา โคนกาบใบจะมีลักษณะเป็นซี่ คล้ายหนามแต่ไม่คมมาก เมื่อไปถึงกลางใบหนามดังกล่าวจะพัฒนาเป็นใบ การออกดอกเป็นพืชที่แยกเพศ
คือต้นที่เป็นเพศผู้ก็จะให้เกสรตัวผู้อย่างเดียว ต้นที่ให้เกสรตัวเมียจึงจะติดผล
ลักษณะผลเป็นทะลายผลจะเกาะติดกันแน่นจนไม่สามารถสอดนิ้วมือเข้าไปที่ก้านผลได้
เวลาเก็บผลปาล์มจึงต้องใช้มีดงอเกี่ยวที่โคนทะลายแล้วดึงให้ขาด
ก่อนที่จะตัดทะลายปาล์มต้องตัดทางปาล์มก่อนเพราะผลปาล์มจะตั้งอยู่บนทางปาล์ม
กระบวนการตัดทาง(ใบ)ปาล์มและตัดเอาทะลายปาล์มลง เรียกรวมๆ ว่า แทงปาล์ม ปาล์มน้ำมันจัดเป็น พืชเศรษฐกิจ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา
เป็นพืชที่ให้ผลผลิต น้ำมันต่อหน่วยพื้นที่สูงกว่าพืชน้ำมันทุกชนิด
สามารถนำมาแปรรูปทำเป็นน้ำมันปาล์มประกอบอาหาร เนย รวมถึงเป็นส่วนผสมในใบโอดีเซลด้วย ใบมาบดเป็นอาหารสัตว์ กะลาปาล์มเป็นวัตถุดิบเชื้อเพลิง
ทะลายปาล์มใช้เพาะเห็ด
และกระทั่งการปลูกลงดินไปแล้วก็ช่วยในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ในการช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีก [1]
ในประเทศไทยมีการปลูกทั้งทางภาคใต้และภาคตะวันออก
พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก เป็นปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอรา โดยเฉพาะที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ช่วงปี
2547 - 2550 มีการส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่นาร้าง
โดยกรมพัฒนาที่ดิน มีการขุดร่องให้ฟรี ให้พันธุ์และปุ๋ย
โดยให้เหตุผลในการส่งเสริมการปลูกเนื่องจากเป็นปาล์มที่ให้นำมันใช้ได้ทั้งการบริโภคและใช้เป็นใบโอดีเซลได้
ปัจจุบัน
ประเทศที่ผลิตและส่งออกน้ำมันปาล์มรายใหญ่ที่สุดในโลกคือประเทศมาเลเซีย ผลิตเป็นสัดส่วนมากถึงร้อยละ 47 ของการผลิตของโลก พันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสม เทเนอรา DXP เป็นพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมคุณภาพดี” ซึ่งเป็นการผสมพันธุ์ปาล์มน้ำมันจาก 2 สายพันธุ์ คือ ดูรา (Dura) ใช้เป็นแม่พันธุ์ ผลมีเนื้อชั้นนอก 35-60% มีกะลาหนา 2-8 มิลลิเมตร เนื้อในหนาไม่มีเส้นใย กับพ่อพันธุ์ ฟิสิเฟอรา (Pisifera) มีลักษณะผลไม่มีกะลา เนื้อชั้นนอกหนา 70-95% เนื้อในบางมีเยื่อรอบกะลา แม่พันธุ์ดูรา (Dura) นั้นทาง หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ได้นำมาจากประเทศมาเลเซีย และปลูกไว้ที่ สถานีสิทธิพรกฤดากร อำเภอบางเบิด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นำไปทดสอบคัดเลือก โดยจัดทำแปลงรวบรวมสายพันธุ์ไว้ที่แปลงจากนั้นนำ สายพันธุ์ฟิสิเฟอรา (Pisifera) มาผสม กันในแปลง...กระทั่งกลายมาเป็น DxP เทเนอรา (Tenera) ซึ่งเป็นพันธุ์ผสมจากทั้งสองสายพันธุ์ มีลักษณะผลออกมามีเนื้อชั้นเปลือกนอก 60-90% ของน้ำหนักผล กะลาบาง มีเส้นใยรอบกะลา ที่ให้ผลผลิตที่สูงกว่าสายพันธุ์เดิมๆและเหมาะสมกับทุกสภาพพื้นที่ในการนำไปปลูก
พันธุ์ Deli x Nigeria มีคุณสมบัติ ทะลายสดให้ ผลผลิต 4 ตันต่อไร่ต่อปี ทนแล้ง เหมาะกับพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง พันธุ์ Compact ลักษณะเด่น มีต้นเตี้ยเก็บผลผลิตง่าย ทางใบสั้นเหมาะกับพื้นที่ ภาคตะวันออก และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในบางจังหวัด
ส่วนอีกพันธุ์หนึ่ง เป็น สายพันธุ์สุราษฎร์ธานี 2 ต้นเตี้ย ทรงพุ่มปานกลาง แต่ทนแล้งให้ผลผลิตดี แม้จะมีสภาพที่ไม่เหมาะสม ผลดิบสีดำ ผลสุกจะมีสีแดงส้ม และ ให้น้ำมันดิบไม่ต่ำกว่า 26-28% ต่อ ทะลาย ซึ่งทุกสายพันธุ์เป็นที่ยอมรับและรับรอง โดย กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้นำเข้าสู่โครงการ
ข้อดี-ข้อเด่นของพันธุ์เทเนอร่า
1. มีเปอร์เซ็นต์น้ำมันดิบสูง ไม่ต่ำกว่า 26-28%
2. ให้ผลผลิตสม่ำเสมอ ไม่ต่ำกว่า 3,000-3,500 กก./ไร่/ปี เมื่ออายุ 6 ปีขึ้นไป
3. ขนาดทะลายและน้ำหนัก เพิ่มมากขึ้นตามอายุ
4. มีผลดิบสีม่วงดำ เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงแดง
5. รูปทรงของทะลายจะยาวรี ผลสุกตลอด ทำให้เก็บเกี่ยวง่าย
6. ต้านทานความแห้งแล้ง
พื้นที่เหมาะสมกับปาล์มน้ำมัน
1. ปริมาณน้ำฝนควรมากกว่า 1,800-2,000 ม.ม./ปี มีการกระจาย ตัวอย่างสม่ำเสมอ
2. มีแสงแดดตลอดวันอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 5-6 ชม.
3. อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 25-29 องศาเซลเซียส สูงสุดไม่ควรเกิน 29-33 องศาและต่ำสุดไม่เกิน 22-24 องศา
4. มีความชื้นสัมพัทธ์ในชั้นบรรยากาศมากกว่า 85%
5. ควรมีหน้าดินลึกไม่ต่ำกว่า 0.75-1.50 ม.
6. ดินมีค่าความเป็นกรด-ด่างระดับ 4.5-6.5
7. ดินร่วนและมีการระบายน้ำดี
ระยะปลูกที่เหมาะสม
1. ขึ้นอยู่กับลักษณะประจำพันธุ์ของแต่ละสายพันธุ์
2.โดยทั่วไปนิยมปลูกกัน 3 ระยะ คือ 8x8x8 ม. 9x9x9 ม. และ 10x10x10 ม.
3. ปลูกรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า
4.ช่วงที่เหมาะสมคือ ต้นฤดูฝน-กลางฤดูฝน หลังปลูกควรได้รับน้ำฝนไม่ต่ำกว่า 3 เดือน
การจัดการและการดูแลรักษา
1. ไม่ควรใช้สารเคมีฉีดพ่นจนถึงอายุ 19 เดือน หลังปลูก
2. ช่วงอายุ 16-24 เดือน ตัดช่อดอกทิ้งทั้งหมดและไม่ควรตัดทางใบออกจนอายุ 6 ปี ขึ้น
การเตรียมดิน กำจัดวัชพืชตอไม้ วางแผนทำถนนภายในแปลง เพื่อเป็นเส้นทางขนย้ายผลผลิตภายในแปลง โดยคำนึงถึงความสะดวก รวดเร็วตามสภาพของแปลงภูมิประเทศ พร้อมร่องน้ำภายในแปลง
วิธีปลูก ระบบการปลูกที่นิยมกันมาก คือ ปลูกแบบสามเหลี่ยมด้านเท่า 9 X 9 X 9 เมตร การปลูกควรปลูกต้นฤดูฝนให้ต้นกล้าที่ปลูกได้รับฝนอย่างน้อย 3 เดือน ต้นกล้าสำหรับปลูกควรเป็นต้นกล้าปาล์มที่อายุประมาณ 8 – 14 เดือน
การให้น้ำ ในสภาพฝนน้อยกว่า 250 มม./ปี ช่วงฤดูแล้งยาวนานพื้นที่กว้างใหญ่ ปริมาณน้ำน้อย ใช้ระบบ Dri[ irrigation ถ้าน้ำมากใช้ Mini Splingler
การตัดแต่งทางใบ ปาล์มน้ำมันอายุเริ่มปลูกถึง
6 ปี ควรให้ทางใบ 7 – 8 รอบ (56 – 64 ทางใบ) ปาล์มที่โตเต็มที่ควรไว้ทางใบ 4.5
– 6.5 รอบ (36 – 48 ทางใบ) ไม่ควรตัดแต่งทางใบจนกว่าจะเก็บเกี่ยวผลผลิต ควรเหลือทางใบอย่างน้อย
2 ทางใบ เพื่อรองรับทะลายปาล์ม ทางใบปาล์มควรนำมาเรียงในแปลงเพื่อลดการชะล้างฟังทะลายของดิน
แมลงที่สำคัญ
ได้แก่ หนอนหน้าแมว ด้วงกุหลาบ และด้วงแรด การป้องกันกำจัดควรสร้างแมลงศัตรูธรรมชาติและไม่ควรใช้สารเคมีโดยไม่จำเป็น
ให้กำจัดแหล่งขยายพันธุ์ กำจัดไข่
หนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัยวัชพืช
มีทั้งวัชพืชฤดูเดียว และวัชพืชหลายฤดู แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ วัชพืชใบแคบ วัชพืชใบกว้าง และเฟิร์น การควบคุมวัชพืชมีหลายวิธี เช่น การใช้เครื่องจักรตัดวัชพืช การใช้วัสดุคุลมดิน การปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน การปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน การใช้สารกำจัดวัชพืช เช่นไกลโฟเซต 48 สารพาราคอต เป็นต้น
โรคพืช
โรคปาล์มน้ำมันที่สำคัญ ได้แก่
โรคใบไหม้ พบมากในระยะต้นกล้า สาเหตุเกิดจากเชื้อรา การป้องกันกำจัดให้เผาทำลายใบ และต้นที่เป็นโรค
โรคก้านทางใบบิด พบในต้นปาล์มน้ำมันอายุ 1 – 3 ปี หลังจากนำลงปลูกในแปลง สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรม การป้องกันกำจัดตัดทางใบที่เป็นโรคออกให้ต่ำกว่าเนื้อเยื่อส่วนที่เน่า และเลือกต้นกล้าจากสายพันธุ์ที่ไม่มีประวัติการเป็นโรค
โรคยอดเน่า พบในปาล์มน้ำมันอายุ 1 – 3 ปี และระบาดมากในฤดูฝน สาเหตุเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม และเชื้อรา การป้องกันกำจัด ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคออก แล้วราดบริเวณกรวยยอดของต้นที่เป็นโรคด้วยสารเคมี
โรคทะลายเน่า โรคจะเข้าทำลายผลปาล์มก่อนที่จะสุก ในช่วงที่ปาล์มอายุ 3 – 9 ปี ระบาดมากในฤดูฝน สาเหตุเกิดจากเชื้อรา การป้องกันกำขัดโดย ตัดแต่งทางใบ กำจัดวัชพืช ให้มีอากาศถ่ายเทมากขึ้น ดอกที่ไม่ได้รับการผสมควรเผาทำลายนอกแปลง
โรคลำต้นเน่า
พบระบาดในปาล์มอายุ 10 – 15 ปี
สาเหตุเกิดจากเชื้อรา การป้องกันกำจัด หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่เคยปลูกมะพร้าวหรือปาล์มมาก่อน กำจัดต้นที่เป็นโรคออกจากแปลง
แมลง
ได้แก่ หนอนหน้าแมว ด้วงกุหลาบ และด้วงแรด การป้องกันกำจัดควรสร้างแมลงศัตรูธรรมชาติและไม่ควรใช้สารเคมีโดยไม่จำเป็น
ให้กำจัดแหล่งขยายพันธุ์ กำจัดไข่
หนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัยการเก็บเกี่ยว
1.วิธีการเก็บเกี่ยวผลปาล์มสด รวมถึงการรวมผลปาล์มส่งโรงงาน ซึ่งมีขั้นตอนโดยทั่วไปดังนี้
- ตกแต่งช่องทางลำเลียงระหว่างแถวปาล์มในแต่ละแปลงให้เรียบร้อย สะดวกกับการตัด การลำเลียง และการตรวจสอบทะลายปาล์มที่ตัด แล้วออกสู่แหล่งรวม หรือศูนย์รวมผลปาล์มที่กำหนดขึ้นแต่ละจุดภายในสวน
*ข้อควรระวังในการตกแต่งช่องทางลำเลียงปาล์ม คือจะต้องไม่ตัดทางปาล์มออกอีก เพราะถือว่าการตกแต่งทางปาล์มได้กระทำไปตามเทคนิคและขั้นตอนแล้ว หากมีทางใบอันใดกีดขวาง ก็อาจดึงหรือแหวกให้สะดวกในการทำงาน
- สำหรับกองทางใบที่ตัดแล้วอย่าให้กีดขวางทางเดิน
หรือปิดกั้นทางระบายน้ำจะทำให้เกิดน้ำท่วมขัง ระบายน้ำที่ขังตามทางเดิน
- คัดเลือกทะลายปาล์มสุกโดยยึดมาตรฐานจากการดูสีของผล ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง และจำนวนผลสุกที่ร่วงหล่นลงบนดินประมาณ10-12ผลให้ถือเป็นผลปาล์มสุกที่ใช้ได้
- หากปรากฎว่าทะลายปาล์มสุกที่จะคัดมีขนาดใหญ่ ที่ติดแน่นกับลำต้นมาก ไม่สะดวกกับการใช้เสียมแทงเพราะจะทำให้ผลร่วงมาก ก็ใช้มีดขอหรือมีดด้ามยาวธรรมดา ตัดแซะขั้วทะลายกันเสียก่อน แล้วจึงใช้เสียมแทงทะลายปาล์มก็จะหลุดออกจากคอต้นปาล์มได้ง่ายขึ้น
- ให้ตัดแต่งขั้วทะลายปาล์มที่ตัดออกมาแล้วให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อสะดวกในการขนส่ง หรือเมื่อถึงโรงงาน ทางโรงงานก็จะบรรจุลงในถังต้มลูกปาล์มได้สะดวก
-รวบรวมผลปาล์มทั้งที่เป็นทะลายย่อยและลูกร่วงไว้เป็นกองในที่ว่างโคนต้นเก็บผลปาล์มร่วงใส่ตะกร้าหรือเข่ง
-รวบรวมผลปาล์มทั้งทะลายสดและผลปาล์มร่วงไปยังศูนย์รวมผลปาล์มในกองย่อย เช่น ในกระบะบรรทุก ที่ลากด้วยแทรกเตอร์หรือรถอีแต๋น
- การเก็บเกี่ยวผลปาล์ม ฝ่ายสวนจะต้องสนับสนุนให้ผู้เก็บเกี่ยวร่วมทำงานกันเป็นทีม ในทีมก็แยกให้เข้าคู่กัน 2 คน คนหนึ่งตัดหรือแทงปาล์มอีกคนเก็บรวบรวมผลปาล์ม
- การเก็บรวบรวมผลปาล์ม พยายามลดจำนวนครั้งในการถ่ายเทย่อย ๆ เมื่อผลปาล์มชอกช้ำ มีบาดแผล ปริมาณของกรดไขมันอิสระจะเพิ่มมากขึ้น การส่งปาล์มออกจากสวน ควรมีการตรวจสอบลงทะเบียน มีตาข่ายคลุม เพื่อไม่ให้ผลปาล์มร่วงระหว่างทาง
- คัดเลือกทะลายปาล์มสุกโดยยึดมาตรฐานจากการดูสีของผล ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง และจำนวนผลสุกที่ร่วงหล่นลงบนดินประมาณ10-12ผลให้ถือเป็นผลปาล์มสุกที่ใช้ได้
- หากปรากฎว่าทะลายปาล์มสุกที่จะคัดมีขนาดใหญ่ ที่ติดแน่นกับลำต้นมาก ไม่สะดวกกับการใช้เสียมแทงเพราะจะทำให้ผลร่วงมาก ก็ใช้มีดขอหรือมีดด้ามยาวธรรมดา ตัดแซะขั้วทะลายกันเสียก่อน แล้วจึงใช้เสียมแทงทะลายปาล์มก็จะหลุดออกจากคอต้นปาล์มได้ง่ายขึ้น
- ให้ตัดแต่งขั้วทะลายปาล์มที่ตัดออกมาแล้วให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อสะดวกในการขนส่ง หรือเมื่อถึงโรงงาน ทางโรงงานก็จะบรรจุลงในถังต้มลูกปาล์มได้สะดวก
-รวบรวมผลปาล์มทั้งที่เป็นทะลายย่อยและลูกร่วงไว้เป็นกองในที่ว่างโคนต้นเก็บผลปาล์มร่วงใส่ตะกร้าหรือเข่ง
-รวบรวมผลปาล์มทั้งทะลายสดและผลปาล์มร่วงไปยังศูนย์รวมผลปาล์มในกองย่อย เช่น ในกระบะบรรทุก ที่ลากด้วยแทรกเตอร์หรือรถอีแต๋น
- การเก็บเกี่ยวผลปาล์ม ฝ่ายสวนจะต้องสนับสนุนให้ผู้เก็บเกี่ยวร่วมทำงานกันเป็นทีม ในทีมก็แยกให้เข้าคู่กัน 2 คน คนหนึ่งตัดหรือแทงปาล์มอีกคนเก็บรวบรวมผลปาล์ม
- การเก็บรวบรวมผลปาล์ม พยายามลดจำนวนครั้งในการถ่ายเทย่อย ๆ เมื่อผลปาล์มชอกช้ำ มีบาดแผล ปริมาณของกรดไขมันอิสระจะเพิ่มมากขึ้น การส่งปาล์มออกจากสวน ควรมีการตรวจสอบลงทะเบียน มีตาข่ายคลุม เพื่อไม่ให้ผลปาล์มร่วงระหว่างทาง
2. มาตรฐานในการเก็บเกี่ยวปาล์มน้ำมัน จะต้องไม่ตัดผลปาล์มดิบไปขาย เพราะจะถูกตัดราคา จะต้องไม่ปล่อยให้ผลสุกคาต้นเกินไป
3.ต้องเก็บผลปาล์มร่วงบนพื้นให้หมด
4.ต้องไม่ทำให้ผลปาล์มที่เก็บเกี่ยวมีบาดแผล
5.ต้องคัดเลือกทะลายเปล่าหรือเขย่าผลที่มีอยู่น้อยออกแล้วทิ้งทะลายเปล่าไป
6.ตัดขั้วทะลายให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้
7.ต้องทำความสะดวกผลปาล์มที่เปื้อนดินอย่าให้มีเศษหินดินปน
8.ต้องรีบส่งผลปาล์มไปยังโรงงานโดยไม่ชักช้าข้อควรปฏิบัติในการเก็บเกี่ยวทะลายปาล์มน้ำมัน
1.ตัดทะลายปาล์มน้ำมันที่สุกพอดี คือทะลายปาล์มเริ่มมีผลร่วง ไม่ควรตัดทะลายที่ยังดิบอยู่เพราะในผลปาล์มดิบยังมีสภาพเป็นน้ำและแป้งอยู่ ยังไม่แปรสภาพเป็นน้ำมัน ส่วนทะลายที่สุกเกินไป จะมีกรดไขมันอิสระสุก และผลปาล์มสดอาจมีสารบางชนิดอยู่อาจเป็นอันตรายกับผู้บริโภคได้
2.รอบของการเก็บเกี่ยวในช่วงผลปาล์มออกชุกควรจะอยู่ในช่วง7-10วัน
3.ผลปาล์มลูกร่วงที่อยู่บริเวณโคนปาล์มน้ำมันและที่ค้างในกาบต้นควรเก็บออกมาให้หมด
4.ก้านทะลายควรตัดให้สั้นโดยต้องให้ติดกับทะลาย
5.พยายามให้ทะลายปาล์มช้ำน้อยที่สุด
น้ำมันปาล์ม (อังกฤษ: Palm oil) สกัดจาก ปาล์มน้ำมัน เป็นพืชน้ำมันที่ให้ปริมาณน้ำมันสูงถึง 0.6 - 0.8 ตัน/ไร่/ปี เมื่อเปรียบเทียบกับพืชน้ำมันชนิดอื่น สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารและใช้ในการประกอบอาหารเนื่องจากมีคุณสมบัติทนความร้อนได้สูง ไม่ทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง น้ำมันปาล์มมีราคาต่ำกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่น นอกจากนี้ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ปลอดจากสารตัดแต่งพันธุกรรม (GMOs) น้ำมันปาล์มผลิตได้เองในประเทศการใช้ประโยชน์จากปาล์มน้ำมันจะก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มและรายได้โดยรวมของประเทศ
ประเภท
น้ำมันปาล์ม
แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
1.
น้ำมันปาล์มดิบ
(Crude Palm Oil) สกัดได้จากส่วนเปลือกสดของผลปาล์มน้ำมัน
2.
น้ำมันปาล์มดิบจะสกัดมาจากผลปาล์มที่มีคุณภาพ
โดยนำผลปาล์มไปนึ่งให้สุก จากนั้นนำไปแยกเนื้อปาล์มออกจากกะลา เนื้อปาล์ม
ที่แยกออกมาได้จะถูกส่งเข้าเครื่องหีบเพื่อบีบเอาน้ำมันปาล์มดิบ Crude Palm Oil (CPO) และน้ำมันเมล็ดใน Crude
Palm Kernel Oil (CPKO) จากนั้นจะถูกส่งเข้าสู่กระบวนการกรองเพื่อทำให้น้ำมันปาล์มสะอาด
- น้ำมันเมล็ดในปาล์ม
(Crude
Palm Kernel Oil) สกัดได้จากเมล็ดในของผลปาล์มน้ำมัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น