วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

การกรีดเอาน้ำยาง


การกรีดเอาน้ำยาง

          ความเจริญงอกงามของต้นยางนั้น  ถ้าได้รับการบำรุงรักษาอย่างดีตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ต้นยางจะโตได้ขนาดกรีดเอาน้ำยางได้ภายใน ๕-๖ ปี แต่ถ้าปล่อยให้มีวัชพืชหรือหญ้าคารบกวนแล้ว กว่าจะกรีดได้อาจต้องรอไปเป็น ๙ หรือ ๑๐ ปี ทำให้ขาดรายได้ไปมาก ถ้าต้นยางได้รับการบำรุงรักษาดี หรือมีอาหารอยู่ในดินเพียงพอ  ต้นยางจะสูงและลำต้นจะโตได้ขนาดตามที่ควรจะเป็นดังนี้
ความเจริญของต้นยาง (ต้นติดตา) นับตั้งแต่วันปลูก
(วัดลำต้นตรงที่สูงจากพื้นดิน ๑.๕ เมตร)
อายุ
ลักษณะความเจริญ
๔ เดือน
๘ เดือน
๑๒ เดือน
๑๘ เดือน
๒๔ เดือน
๒ - ๓ ปี
๓ - ๔ ปี
๔ - ๕ ปี
๕ - ๖ ปี
  ควรจะแตกพุ่มใบ ๒ ชั้น
  ควรจะสูง ๑-๑.๕ เมตร
  ควรจะสูง ๒ เมตร
  วัดรอบลำต้นได้ ๘๑๐ เซนติเมตร
  วัดรอบลำต้นได้ ๑๐๑๗ เซนติเมตร
  วัดรอบลำต้นได้ ๒๐๒๘ เซนติเมตร
  วัดรอบลำต้นได้ ๓๐๓๙ เซนติเมตร
  วัดรอบลำต้นได้ ๔๐๔๘ เซนติเมตร
  วัดรอบลำต้นได้ ๕๐๕๘ เซนติเมตร

          โดยเฉลี่ยแล้วลำต้นจะโตขึ้นปีละประมาณ ๑๐  เซนติเมตร ถ้าปลูกด้วยเมล็ด ลำต้นส่วนที่ใกล้พื้นดินจะโตเร็วกว่าต้นติดตาเล็กน้อย หากปรากฏว่า ต้นยางที่ปลูกมิได้เจริญตามขนาดข้างต้น จะต้องรีบหาข้อบกพร่องเพื่อแก้ไขโดยเร็วที่สุด
          เมื่อต้นยางเจริญเติบโตอายุได้๕-๖ปีควรจะศึกษาต่อไปว่า
          (๑)    ควรจะเริ่มกรีดต้นยางเมื่อใด
          (๒)   ควรเริ่มกรีดตรงส่วนไหนของต้นยาง
          (๓)   วิธีกรีดต้นยางให้ถูกต้อง
          (๔)   ควรจะใช้ระบบกรีดยางอย่างไรเพื่อมิให้ต้นยางทรุดโทรม
          (๕)   การรองน้ำยางและการเก็บน้ำยาง 

ควรเริ่มกรีดต้นยางเมื่อใด
           ถ้าเป็นต้นยางที่เกิดจากเมล็ด  ลักษณะของโคนต้นจะใหญ่กว่าลำต้น เปลือกตรงโคนต้นจะหนากว่าส่วนบนและมีน้ำยางมากที่สุดเฉพาะตรงโคนต้นเท่านั้น ยิ่งสูงขึ้นไปเท่าใดเปลือกจะยิ่งบางลง  และน้ำยางก็จะยิ่งมีจำนวนน้อยลง   ถ้าทดลองกรีดในระยะสูงต่าง ๆ  กัน จะปรากฏว่า  การกรีดสูงจากพื้นดินเพียง ๑๕ เซนติเมตร  จะได้น้ำยางมากกว่ากรีดในระยะสูงจากพื้นดิน ๔๕-๖๐  เซนติเมตร ประมาณ ๑/๒ เท่า แต่การที่น้ำยางออกมากเกินไป จะเป็นอันตรายแก่ต้นยาง ต้นยางอาจแคระแกร็น  หรือเป็นโรคเปลือกแห้ง จึงควรกรีดให้ได้น้ำยางพอสมควร และเริ่มกรีดได้เมื่อวัดลำต้นโดยรอบตรงที่สูงจากพื้นดิน  ๗๕  เซนติเมตร  ได้ขนาดตั้งแต่๕๐เซนติเมตรขึ้นไปให้เริ่มกรีดตรงที่สูงจากพื้นดิน๗๕เซนติเมตร
                ถ้าเป็นต้นยางที่ติดตา  ลักษณะต้นยางติดตากับต้นยางที่เกิดจากเมล็ดไม่เหมือนกัน สังเกตได้จากลักษณะของลำต้น   ถ้าเป็นต้นติดตาตั้งแต่โคนขึ้นไป  จนถึงคบมีขนาดเกือบเท่ากัน ต้นที่ติดตานี้ ความหนาของเปลือกและน้ำยางตั้งแต่โคนต้นขึ้นไป  จนถึงระดับสูง ๙๐-๑๒๕ เซนติเมตรไม่ต่างกันมากนัก  จึงให้เริ่มกรีดได้  เมื่อวัดลำต้นโดยรอบตรงที่สูงจากรอยติดตา  ๑๒๕ เซนติเมตร ได้ขนาดกว่า  ๕๐ เซนติเมตร ให้เริ่มกรีดตรงที่สูงจากรอยติดตาขึ้นไป๑๒๕เซนติเมตร
          วิธีวัดขนาดต้นยาง   การวัดขนาดลำต้นของต้นยางนั้น ถ้าหากมีจำนวนต้นยางเป็นจำนวนมากหลายร้อย หลายพันต้น ควรใช้ไม้แบบสำหรับวัด โดยใช้ไม้คล้ายไม้บรรทัดขนาดใหญ่ ยาวเท่ากับความสูงจากพื้นดินถึงตรงที่จะวัดขนาดต้นยาง คือ สูง ๗๕ เซนติเมตร สำหรับต้นที่ปลูกด้วยเมล็ด  และ ๑๒๕ เซนติเมตรจากรอยติดตาสำหรับต้นติดตา ตรงปลายมีลวดยาว ๕๐ เซนติเมตร  ใช้ไม้วัดตั้งที่พื้นดินหรือตรงรอยติดตาแล้วแต่กรณีแล้วใช้ลวดโอบรอบต้นยาง ถ้าลวดชนกันพอดีหรือลวดไม่ถึงกัน แสดงว่าต้นยางนั้นมีขนาดโตพอที่จะกรีดได้แล้ว

          จำนวนต้นยางกรีดได้ต้องมี  ๓ ใน ๔ ของต้นยางทั้งหมดจึงค่อยเปิดกรีด ในการเปิดกรีดนั้น ควรรอให้ต้นยางโตสมบูรณ์ได้ขนาดกรีดไม่น้อยกว่า ๓  ใน    ของจำนวนต้นยางทั้งหมด มิฉะนั้น  จะทำให้เปลือกที่ใช้ไปในการกรีดของแต่ละต้นสูงไม่สม่ำเสมอ  ลักลั่นกันมากไป และจะมีต้นยางที่ละเว้นไม่กรีดไว้มาก จะไม่สะดวกแก่ผู้กรีดยาง แต่ถ้าเป็นสวนยางขนาดเล็กเนื้อที่ไม่เกิน ๕-๖ ไร่ เจ้าของสวนต้องการได้รายได้เร็วก็ไม่จำเป็นต้องรอ
                                                         ควรเริ่มกรีดตรงส่วนไหนของต้นยาง 
          เมื่อคัดเลือกต้นยางที่โตได้ขนาดกรีดเอาน้ำยางได้แล้ว ก่อนเปิดกรีด ควรทำแนวที่จะตั้งต้นกรีดให้เห็นที่หน้ายางให้เสร็จเสียก่อนว่าจะเปิดตรงไหน สูงเท่าใด  จะให้ลาดเอียงลงมาเท่าใด  ตามวิธีที่ปฏิบัติอยู่ทั่วไป  ถ้าเป็นต้นที่ปลูกด้วยเมล็ดจะกรีดตรงที่สูงจากพื้นดิน  ๗๕ เซนติเมตร โดยกรีดจากซ้ายมือของคนกรีดขณะหันเข้าหาต้นยางลงมาทางขวา  โดยกรีดให้เอียงลงมาทำมุม ๒๕ องศา  มีความยาวของการกรีดเพียงครึ่งต้น  และถ้าเป็นต้นติดตาจะกรีดตรงที่สูง ๑๒๕ เซนติเมตร  ทำมุมเอียงลงมาทางขวา ๓๐ องศา เพื่อให้น้ำยางไหลลงเร็วขึ้น และกรีดยาวครึ่งต้นเช่นกัน ทั้งนี้เพราะมีน้ำยางมากกว่าต้นที่ปลูกด้วยเมล็ด
          เพื่อความสะดวกในการทำแนวตั้งต้นกรีด  ให้ได้ระดับสม่ำเสมอกันทุกต้น ควรจะใช้ไม้แบบเช่นเดียวกับไม้วัดขนาดต้นยาง
          ไม้แบบที่จะใช้ทำแนวตั้งต้นกรีดนี้  เป็นไม้ขนาดเดียวกันกับที่ใช้วัดลำต้นดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ตอนปลายแทนที่จะใช้ลวดให้ใช้สังกะสีกว้างประมาณ    เซนติเมตร  และยาวประมาณ  ๔๕  เซนติเมตร ตอกแนบติดเข้ากับทางแบนที่ปลายไม้ข้างหนึ่ง โดยหันชายไปทางซ้าย ไม้แบบที่จะใช้กับต้นที่เกิดจากเมล็ดให้เอียงสังกะสี  ทำมุมขึ้นไป ๒๕  องศา และสำหรับต้นติดตาให้ทำมุม ๓๐ องศา
          เมื่อจะทำแนวหน้ายางที่จะเปิดกรีด  จะใช้ไม้แบบที่เตรียมไว้ตั้งทาบเข้ากับส่วนสูงของลำต้น  แล้วแนบแผ่นสังกะสีพันวนไปทางด้านซ้ายมือ ใช้มือซ้ายจับปลายสังกะสีไว้ แล้วขีดเส้นตามแนวบนของแผ่นสังกะสี  ตั้งแต่จุดครึ่งต้นของลำต้นไปจนสุดสังกะสีที่ติดอยู่กับไม้  รอยที่เกิดขึ้นนี้ คือ แนวหน้ายางที่จะเปิดกรีดด้วยความยาวครึ่งต้น  ซึ่งมีความสูงและความลาดเอียงตามที่กำหนดไว้อย่างถูกต้อง การเปิดกรีดจะเปิดทางทิศเดียวกันทั้งหมด เช่น ทิศเหนือก็ให้เหมือนกันทุกต้น  เมื่อใช้ไม้แบบนี้แล้ว   ทุกต้นจะถูกกรีดในลักษณะเหมือนกันหมด  คือ กรีดในระดับสูงเท่ากัน และกรีดเอียงจากซ้ายไปขวาเหมือนกันหมด
                                                                   วิธีกรีดต้นยางที่ถูกต้อง 
          ต้นยาง  คือ  ขุมทรัพย์ จะต้องระมัดระวังรักษาเปลือกให้กรีดซ้ำได้นานไม่น้อยกว่า ๓๐  ปี  ถ้ากรีดไม่ดีต้นยางจะเสียหายกลายเป็นต้นฟืน การกรีดไม่ระมัดระวังจะเป็นเหตุให้
          (๑)ต้นยางเป็นแผลตะปุ่มตะป่ำไม่มีที่ให้กรีดอีกต่อไป
          (๒)จะกรีดซ้ำที่เดิมในรอบที่๒และรอบที่๓ อีกไม่ได้
          (๓)ต้นยางจะทรุดโทรมให้น้ำยางน้อยลงหรือ อาจไม่ให้เลยก็ได้
          ตามธรรมชาติของเปลือกต้นยาง ลึกเข้าไปภายในเปลือกประมาณ ๖ - ๑๐ มิลลิเมตร ก่อนถึงเยื่อเจริญจะมีท่อน้ำยางเรียงกันอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้น  ถ้าจะกรีดให้ได้น้ำยางมากที่สุด จะต้องกรีดให้ใกล้เยื่อเจริญ แต่ไม่ต้องชิดกับเยื่อเจริญมากนัก เพราะจะเป็นอันตรายแก่เยื่อเจริญ เยื่อเจริญมีหน้าที่เพิ่มเปลือกใหม่ให้งอกมาแทนเปลือกเก่าที่ถูกกรีดทิ้งไป ถ้าเยื่อเจริญไม่ได้รับอันตราย เปลือกที่งอกขึ้นใหม่จะเรียบสม่ำเสมอ กรีดซ้ำอีกได้ การกรีดต้องอาศัยความชำนาญมาก  การหัดกรีดโดยใช้เวลาเพียง  ๒-๓  เดือน  จะเป็นคนกรีดยางที่ชำนาญยังไม่ได้
          การกรีดยางจำเป็นต้องใช้มีดกรีดยางอย่างคม และจำเป็นจะต้องฝึกกรีดให้ชำนาญเสียก่อน
          นอกจากกรีดไม่ให้ลึกเกินไปแล้ว จะต้องพยายามกรีดให้เปลือกบางที่สุดครั้งละประมาณ ๑.๕ มิลลิเมตร  เดือนหนึ่ง ๆ  กรีดเปลือกออกไม่ควรเกิน ๒.๕  เซนติเมตร ต้นยางต้นหนึ่ง ๆ  ควรถนอมเปลือกไว้ให้กรีดได้อย่างน้อย    รอบ  โดยใช้เวลากรีดให้ได้กว่า  ๓๐  ปี  ถ้าเปลือกยังดีเมื่อต้นยางอายุกว่า ๑๕ - ๒๐ ปีแล้ว ยังมีทางที่จะใช้ยาเร่งน้ำยาง จะช่วยให้ได้น้ำยางเพิ่มมากขึ้น  จะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับพันธุ์ยางด้วย บางพันธุ์เพิ่มได้อีกเท่าตัว
          คนกรีดยางคนหนึ่งควรให้กรีดได้ประมาณ ๓๕๐-๔๕๐ ต้นเท่านั้น โดยให้กรีดอย่างประณีต ระมัดระวัง ไม่ต้องรีบร้อน และควรให้กรีดตั้งแต่เช้ามืดเมื่อมองเห็นเปลือกต้นยางแล้ว การกรีดอย่างรีบร้อนและกรีดในตอนดึก นอกจากทำให้ต้นยางเสียหายได้ง่ายแล้ว สุขภาพของคนงานจะไม่สมบูรณ์ และอาจได้รับ
ต้องใช้ระบบกรีดที่ให้น้ำยางออกพอสมควร
          เมื่อเริ่มกรีดควรกรีดโดยให้น้ำยางออกแต่น้อยก่อน  จะต้องกรีดครึ่งรอบต้น  กรีดวันเว้นสองวัน ไม่น้อยกว่า ๕-๖ เดือน แล้วจึงกรีดครึ่งต้นวันเว้นวัน และควรให้มีระยะพักอีกบ้าง มีข้อควรจำไว้เสมอว่า ถ้ากรีดเอาน้ำยางออกมากเกินไป  ต้นยางจะเป็นโรคเปลือกแห้ง  ยางพันธุ์ดีเกือบทุกชนิดมักเป็นโรคเปลือกแห้งง่ายกว่าต้นยางพันธุ์ธรรมดา และเมื่อเปิดกรีดแล้ว จะต้องสังเกตดูอาการของต้นยางต่อไปด้วยว่า ต้นยางต้นใดให้น้ำยางลดน้อยลง หรือมีต้นยางต้นใดเป็นโรคเปลือกแห้ง   (ไม่มีน้ำยางออกเลย)  กี่ต้น  ถ้าปรากฏว่า ต้นใดผิดสังเกตให้หยุดกรีด แต่ถ้าปรากฏว่า มีมากประมาณร้อยละ ๕  ของต้นยางทั้งสวน ให้เปลี่ยนเป็นกรีดครึ่งรอบต้นทุกวันที่สาม และให้พักต้นยางที่ทรุดโทรมเสียประมาณ ๖ เดือน  แล้วจึงทดลองกรีดต่อไปใหม่
          ระบบการกรีดยาง  เป็นวิธีวัดค่าโดยประมาณว่า  การกรีดระบบใดจะเกิดภาระแก่ต้นยางมากน้อยเท่าใด  แต่เดิมมาเรียกระบบกันหลายชื่อ  สถาบันค้นคว้าการยางแต่ละแห่งเรียกไม่เหมือนกัน  ในที่สุด ได้ตกลงเรียกและใช้สัญลักษณ์อย่างเดียวกัน โดยได้กำหนดความพอดีของความยาวของรอยกรีดกับความบ่อยครั้งของการกรีดไว้ดังนี้
          "การกรีดยางครึ่งต้นโดยกรีดวันเว้นวัน   เป็นการกรีดให้เกิดภาระแก่ต้นยางพอดี  ๑๐๐%" เมื่อได้กำหนดหลักเกณฑ์ขึ้นแล้ว

                                                     
                                                      

          ฉะนั้น การกรีดครึ่งรอบต้นโดยกรีดวันเว้นวัน  กับการกรีดรอบต้นแต่กรีดทุก ๆ ๔ วัน ต้นยางจะรับภาระจากการกรีด ๑๐๐% เท่ากัน การที่ให้มีทางคำนวณโดยประมาณได้เช่นนี้ เป็นประโยชน์มาก เพื่อให้เจ้าของสวนยางเลือกระบบกรีดเอาได้ เช่น การกรีด ๒ ระบบข้างต้น เจ้าของสวนยางเลือกใช้เอาได้ตามความจำเป็น  สมมุติว่า มีสวนยางอยู่  ๔๐๐  ไร่  คนหนึ่งกรีดได้ประมาณ  ๑๐  ไร่ (๔๐๐-๔๕๐ ต้น) ถ้ากรีดวันเว้นวัน ต้องใช้คนกรีด ๒๐ คน  เพื่อกรีดยางให้ได้วันละ  ๒๐๐ ไร่ แต่ถ้าในท้องที่นั้น หาคนงานที่มีฝีมือกรีดดี ๆ  ยาก ก็จำเป็นต้องใช้คนกรีดให้น้อยลง แต่ต้องการให้ได้ผลิตผลเท่าเดิมด้วย  จึงเปลี่ยนระบบกรีดเป็นกรีดรอบต้น  แต่กรีดทุก ๔ วัน ฉะนั้น จึงแบ่งสวนออกเป็น    ส่วน เพื่อหมุนเวียนกรีดวันละ  ๑ ส่วน วันหนึ่ง ๆ  จึงมีสวนที่จะกรีดเพียง  ๑๐๐ ไร่ และใช้คนงานเพียง ๑๐ คนเท่านั้น  ไม่จำเป็นต้องใช้ถึง ๒๐  คน  การจัดหาที่พัก  และการควบคุมก็ง่าย  ระบบกรีดจึงมีความสำคัญมาก   การที่จะใช้ระบบกรีดระบบใดได้ผลหรือไม่ได้ผล   ขึ้นอยู่กับพันธุ์ยางด้วยเหมือนกัน   บางพันธุ์ชอบอย่างนั้น   บางพันธุ์ชอบอย่างนี้ ฉะนั้น เจ้าของสวนยางจะต้องศึกษาและใช้ความสังเกตไปด้วย
                                                
                                                  การรองน้ำยางและการเก็บรวบรวม
          เมื่อมีการเปิดกรีดต้นยาง จำเป็นต้องเตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ที่จะใช้รองน้ำยาง และรวบรวมน้ำยางให้พร้อมด้วย คือ
          (๑) รางรองน้ำยาง มีลักษณะเป็นรางเล็ก ๆ  ทำด้วยสังกะสี  มีขนาดเท่าด้ามช้อนสังกะสี สำหรับติดใต้รอยกรีด เพื่อรองน้ำยางให้ไหลลงถ้วย
          (๒) ถ้วยรองน้ำยาง  ควรเป็นวัตถุถาวร  เท่าที่ใช้กันอยู่ทั่วไป  ใช้ถ้วยดินเผาเคลือบภายใน ขนาดจุ ๒๐๐-๕๐๐ ซีซี
          (๓) ลวดวางถ้วยรองน้ำยาง เพื่อให้วางถ้วยรองน้ำยางได้สะดวก จะต้องมีลวดทำเป็นห่วง สำหรับวางถ้วยให้ติดกับต้นยางด้วย
          (๔) ถังเก็บน้ำยางและถังรวมน้ำยาง เมื่อกรีดยางแล้วประมาณ ๓  ชั่วโมง  น้ำยางจะหยุดไหล  (บางพันธุ์ อาจจะยังไหลต่อไปอีก ๑-๒  ชั่วโมง)  จึงใช้ถังหูหิ้วขนาดที่จะหิ้วไปได้ เช่น ขนาดจุ  ๑๐-๑๕  ลิตร  เมื่อเก็บน้ำยางเต็มแล้วก็เอาไปเทรวมไว้ในถังรวม ซึ่งมีหลายรูปหลายแบบ แล้วแต่ความสะดวกในการขนส่งเป็นสวน ๆ ไป  บางสวนทำเป็นถังสังกะสีหรืออะลูมิเนียมให้เหมาะที่จะวางท้ายรถจักรยานหรือรถจักรยานยนต์ได้และบางรายก็ทำให้ปากแคบ จะได้ไม่กระฉอก ถ้าสวนยางขนาดใหญ่ จะใช้รถยนต์บรรทุกมาลำเลียงเอาไป โดยเทรวมลงในถังใหญ่ ซึ่งมีรูปร่างคล้ายถังที่ใช้ในรถยนต์บรรทุกน้ำมัน
          น้ำยางทั้งหมดนี้มีสภาพเป็นน้ำและเสียได้เร็ว  จำเป็นต้องรีบส่งไปยังโรงงาน เพื่อทำเป็นยางชนิดต่าง ๆ ออกจำหน่ายต่อไป
          ข้อสำคัญในการกรีดเอาน้ำยาง ตั้งแต่การกรีดยาง ถ้วยยาง ถังเก็บน้ำยาง  ถังรวมน้ำยาง ทุก ๆ  ขั้นจะต้องรักษาความสะอาดอย่างดีที่สุด ไม่ให้สกปรก และไม่ให้มีผงลงไปในน้ำยาง เพื่อว่ายางที่ทำออกมาจะได้จำหน่ายได้ในราคาดี 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น