วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

มรดก


มรดก

                     มรดก  ตามพจนานุกรมไทย  หมายความว่า  ทรัพย์สมบัติของผู้ตายที่ตกทอดแก่ทายาทดังนั้น  การที่จะเป็นมรดกได้เจ้าของสมบัติต้องตายก่อน  การหายตัวไปถ้าศาลยังไม่สั่งให้เป็นบุคคลสาบสูญ  ก็ยังไม่เป็นมรดก  
                    มรดก     ตามมาตรา 1600  ได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิด   และรวมถึงสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบต่างๆด้วย  คำว่าทรัพย์สินคงเข้าใจง่าย แต่คำว่าหน้าที่  อันนี้ต้องทำความเข้าใจก่อนเพราะผู้ตายอาจมีหน้าที่การงานอยู่  เช่นรับราชการ  อย่างนี้ไม่เป็นมรดก    สิทธิรับเงินปันผลต่างๆอันนี้เป็นมรดกแต่บำนาญไม่เป็นมรดก   เป็นต้น ดั่งนั้นหมายความว่าสิทธิหน้าที่ถ้าเป็นการเฉพาะตัวไม่เป็นมรดก
                  เมื่อมีมรดกก็ต้องมีทายาท คำว่าทายาท มีสองประเภท
1.ทายาทโดยธรรม เช่น บุตร หลาน พ่อแม่  พี่น้อง  ลุงป้า  น้าอา  เป็นต้น
2.ผู้รับพินัยกรรม  
                  การที่จะเป็นทายาทโดยธรรมนั้นจะต้องเป็นสภาพบุคคล  เด็กอยู่ในท้องมารดาถ้าคลอดภายในเวลา  310  วันหลังเจ้ามรดกตาย  ก็เป็นทายาทได้  แต่ถ้ามีการพิสูจน์ได้ว่าเด็กเกิดมานั้นไม่ใช้ลูกของเจ้ามรดกถึงแม้จะเกิดมาภายใน 310 วันก็ไม่เป็นทายาท
                 นอกจากนี้แล้วการที่ทายาทคนใดแอบยักย้ายทรัพย์มรดก  เพื่อหวังเอาคนเดียว อันนี้กฎหมายบอกให้ตัดสิทธิไปเลย แต่ถ้าแอบเอาไปไม่หมด เอาเฉพาะส่วนที่ตนควรได้ก็ให้ตัดส่วนส่วนที่แอบเอาไปนั้น  เท่านั้นส่วนที่เหลือได้เท่าไรก็รับเท่านั้นคือตัดไม่หมด  แต่ถ้าแอบเอาไปมากกว่าส่วนที่ตนควรได้อันนี้ตัดหมดเลยคือไม่มีสิทธิรับมรดกเลย
                และถ้าถูกศาลสั่งว่าเป็นผู้กำจัดเจ้ามรดกหรือทายาทคนอื่นคนนี้ไม่มีสิทธิรับ    เป็นผู้ฟ้องร้องเจ้ามรดกจนศาลสั่งประหารชีวิตเจ้ามรดกและตนเองถูกศาลพิพากษาว่าฟ้องเท็จคือใส่ร้ายเจ้ามรดกคนนี้ก็ไม่มีสิทธิรับ    รู้อยู่แล้วว่าใครฆ่าเจ้ามรดกแต่ไม่ดำเนินการหรือช่วยดำเนินการเอาคนผิดมาลงโทษคนนี้ก็ไม่มีสิทธิรับเว้นแต่อายุยังน้อยต่ำกว่า  16 ปีหรือเป็นคนปัญญาอ่อน  คนบ้า  วิกลจริตต่างอันนี้ไม่ตัดสิทธิ  และถ้าคนรู้นั้นคนฆ่าเจ้ามรดกเป็นสามีหรือภริยาเป็นบุพการี  เป็นลูกเป็นหลานของตนโดยตรงอันนี้ไม่ตัดสิทธิ    หรือทายาทคนใดก่อนเจ้ามรดกตายมีพฤติกรรมข่มขู่เจ้ามรดกคนนี้ก็ไม่มีสิทธิรับ   และถ้าทายาทคนใดปลอมเอกสารพินัยกรรม  หรือทำลาย หรือปิดบังไม่ให้คนอื่นรู้ว่ามีพินัยกรรมจะทั้งหมดหรือบางส่วนก็ตามคนนี้ก็ถูกตัดสิทธิไม่ให้รับมรดกด้วย
            ทั้งนี้บางคนไม่ถูกตัดสิทธิแต่เรียกร้องไม่ได้  เช่น พระถ้าจะเรียกร้องขอรับมรดกต้องสึกจากการเป็นพระก่อนและต้องเรียกร้องภายในอายุความหนึ่งปีด้วยไม่เช่นก็หมดสิทธิเรียกร้องไป
           อีกประเดนเรื่องมรดกของพระ     เมื่อมรณภาพแล้วมรดกไม่ตกแก่ทายาท  ถึงแม้จะมีลูกก็ตาม  สมบัติที่มีอยู่นั้นจะตกเป็นของวัดที่จำพรรษาอยู่ทันที  แต่ถ้ามีมรดกที่ได้มาก่อนบวช  อันนี้ไม่เป็นของวัดทายาทมีสิทธิรับได้ทั้งหมด
           เรื่องลูกนอกกฎหมาย  ถ้าบิดาได้จดทะเบียนรับรองแล้วและหรือบุตรบุญธรรม  ก็มีสิทธิเหมือนบุตรปกติทั่วไป 
          สามีภริยาแยกกันอยู่   แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนอย่า  ก็มีสิทธิรับมรดกของกันได้
          พินัยกรรมนั้นเป็นเจตนาของเจ้ามรดกต่างหากไม่เกี่ยวกับมรดก   เมื่อผู้ตายทำพินัยกรรมยกสมบัติให้แล้ว  ยังมีสิทธิขอแบ่งมรดกได้เต็มจำนวนด้วย 
 การแบ่งมรดก
ทายาทโดยธรรมมี  6  ลำดับ
1.ผู้สืบสันดาน 
2.พ่อแม่
3.พี่น้องร่วมพ่อแม่เดียวกัน
4.พี่น้องร่วมพ่อหรือร่วมแม่เดียวกัน
5.ปู่ ย่า ตา ยาย
6.ลุง ป้า น้า อา
           ส่วนคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่  ถ้าลูกยังอยู่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากับลูก  ถ้าลูกไม่มีแล้วมรดกไปตกแก่พ่อแม่พี่น้องก็ตาม     คู่สมรสจะได้มรดกครึ่งหนึ่งของมรดกทั้งหมด   แต่ถ้าพ่อแม่พี่น้องก็ไม่มีมรดกไปตกแก่ ปู่ ย่า ตา ยาย  ลุง ป้า น้า อา คู่สมรสจะได้  2 ใน 3 ของมรดกทั้งหมด   แต่ถ้าไม่มีทายทาทั้งหกลำดับคู่สมรสรับไปทั้งหมดแบบเต็มๆ
            กรณีผู้รับมรดกตายก่อนเจ้ามรดก  ถ้ามีลูกๆสามารถรับมรดกแทนได้ และไดรับสิทธิเต็มเท่าผู้รับมรดกด้วย  คือเจ้ามรดกมีลูกแล้วลูกตายก่อนแต่ลูกนั้นได้สมรสก่อนตายและลูกนั้นมีลูกอีกที่เรียกว่าหลานเจ้ามรดก  หลานคนนี้มีสิทธิรับมรดกก่อนทายาทลำดับอื่น  หรือหลานเจ้ามรดกก็ตายก่อนเจ้ามรดกอีก เหลนเจ้ามรดกก็มีสิทธิรับมรดกก่อนอีกเช่นเดิม เรียกว่าพิจารณากันจนหมดสายเลยไปก่อนจนกว่าไม่มีแล้วจึงข้ามลำดับไปได้
           อีกประเดนถ้าผู้มีสิทธิสละซึ้งมรดกนั้น ลูกของผู้มีสิทธิรับมรดกสามารถ ใช้สิทธิรับมรดกแทนได้พูดภาษาชาวบ้านพ่อแม่ไม่เอาลูกรับเองก็ได้
           อีกกรณีถ้าผู้รับมรดกมีเจ้าหนี้และเจ้าหนี้เห็นถ้าจะไม่ได้รับการใช้นี้แน่  ผู้รับมรดกจะสละมรดกนั้นเสีย  เจ้าหนี้สามารถใช้สิทธิร้องขอเพิกถอนการสละมรดกนั้นได้ด้วยนะ  และเมื่อเพิกถอนแล้วเจ้าหนี้ยังสามารถใช้สิทธิรับมรดกเพื่อใช้หนี้ของตนได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น