อายุความคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องคดีอาญา
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา ย่อมอยู่ใต้บังคับของอายุความการฟ้องคดีตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
1. กรณีไม่มีการฟ้องคดีส่วนอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคแรก บัญญัติว่า ถ้าไม่มีผู้ใดฟ้องทางอาญา สิทธิของผู้เสียหายที่จะฟ้องทางแพ่งเนื่องจากความผิดนั้น ย่อมระงับไปตามกำหนดเวลาดั่งที่กฎหมายลักษณะอาญาบัญญัติไว้ในเรื่องอายุความฟ้องคดีอาญา....หมายถึงให้ยึดอายุความคดีอาญาเป็นหลัก
2. กรณีมีการฟ้องคดีส่วนอาญาแล้วแต่ยังไม่เด็ดขาด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรค 2 บัญญัติว่า ถ้าคดีอาญาใดได้ฟ้องต่อศาลแล้ว แต่คดียังไม่เด็ดขาด อายุความซึ่งผู้เสียหายมีสิทธิจะฟ้องคดีแพ่งย่อมสะดุดหยุดลงตามมาตรา 79 แห่งกฎหมายลักษณะอาญา หมายถึงเมื่อฟ้องทางอาญาแล้วอายูความทางแพ่งหยุดลงก่อนจนกว่าคดีอาญาเสร็จเด็ดขาดแล้ว จึงค่อยนับอายุความทางแพ่งต่อจากเดิมที่หยุดลงนั้น
3. กรณีศาลลงโทษคดีอาญาเด็ดขาดก่อนฟ้องคดีแพ่ง ตามประมวลกฎหมายพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรค 3 บัญญัติว่า ถ้าโจทก์ได้ฟ้องคดีอาญาและศาลพิพากษาลงโทษจำเลยจนคดีเด็ดขาดแล้วก่อนที่ได้ยื่นฟ้องคดีแพ่ง สิทธิของผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีแพ่งย่อมมีตามกำหนดความในมาตรา 193/32 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งบัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุด หรือโดยสัญญาประนีประนอมยอมความ ให้มีกำหนดอายุความ 10 ปี ทั้งนี้ ไม่ว่าสิทธิเรียกร้องเดิมจะมีกำหนดอายุความเท่าใด หมายถึงอายุความทางแพ่งจะนับมาเท่าใดแล้วก็ตามเมื่อคดีอาญาพิพากษาแล้วก็ให้นับหนึ่งใหม่เป็นต้นไปจนครบสิบปี
4. กรณีศาลยกฟ้องคดีอาญาเด็ดขาดก่อนฟ้องคดีแพ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรค 3 บัญญัติว่า ถ้าโจทก์ได้ฟ้องคดีอาญาและศาลพิพากษายกฟ้องปล่อยจำเลยจนคดีเด็ดขาดแล้วก่อนที่ได้ยื่นฟ้องคดีแพ่ง สิทธิของผู้เสียหายจะฟ้องคดีแพ่งย่อมมีอายุความตามหลักทั่วไปในเรื่องอายุความแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมายถึงเมื่อคดีอาญาไม่มีความผิดก็เสมือนว่าไม่มีคดีอาญา การฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญาจึงไม่สามารถเกิดได้ จึงต้องใช้หลักการฟ้องแพ่งธรรมดา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น