ความรู้เรื่องธาตุอาหารพืช
P
ธาตุฟอสฟอรัสในพืช
ฟอสฟอรัสเป็นธาตุอาหารที่จัดอยู่ในกลุ่มธาตุอาหารหลักเช่นเดียวกับไนโตรเจนและ
โพแทสเซียม แต่ปริมาณฟอสฟอรัสทั้งหมดในดินมีน้อยกว่าไนโตรเจนและโพแทสเซียม โดยมีอยู่ในช่วง 0.02 – 0.15 เปอร์เซ็นต์ (ชัยฤกษ์ สุวรรณรัตน์, 2536) แต่พืชมีความต้องการฟอสฟอรัส
0.3 – 0.5 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักแห้ง เพื่อให้การเจริญเติบโตเป็นไปตามปกติ หากพืชขาดธาตุฟอสฟอรัสการเจริญเติบโตจะหยุดชะงักใบมีสีแดงแซม เนื่องจากพืชมีการสังเคราะห์รงค์วัตถุแอนโทไซยานินเพิ่มขึ้น จึงทำให้สีของใบกลายเป็นสีม่วงเข้ม โดยเฉพาะเกิดที่ใบแก่ อย่างไรก็ตามในช่วงแรกของการขาดธาตุนี้อาจพบว่าใบมีสีเขียวเข้มเกิดขึ้นก่อน เนื่องจากผลด้านการลดการเจริญของพื้นที่ผิวใบมีมากกว่าการลดอัตราการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ทำให้ขณะนั้นความเข้มข้นของคลอโรฟิลล์ต่อหน่วยพื้นที่ผิวใบเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ฟอสฟอรัสเป็นธาตุอาหารที่จัดอยู่ในกลุ่มธาตุอาหารหลักเช่นเดียวกับไนโตรเจนและ
โพแทสเซียม แต่ปริมาณฟอสฟอรัสทั้งหมดในดินมีน้อยกว่าไนโตรเจนและโพแทสเซียม โดยมีอยู่ในช่วง 0.02 – 0.15 เปอร์เซ็นต์ (ชัยฤกษ์ สุวรรณรัตน์, 2536) แต่พืชมีความต้องการฟอสฟอรัส
0.3 – 0.5 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักแห้ง เพื่อให้การเจริญเติบโตเป็นไปตามปกติ หากพืชขาดธาตุฟอสฟอรัสการเจริญเติบโตจะหยุดชะงักใบมีสีแดงแซม เนื่องจากพืชมีการสังเคราะห์รงค์วัตถุแอนโทไซยานินเพิ่มขึ้น จึงทำให้สีของใบกลายเป็นสีม่วงเข้ม โดยเฉพาะเกิดที่ใบแก่ อย่างไรก็ตามในช่วงแรกของการขาดธาตุนี้อาจพบว่าใบมีสีเขียวเข้มเกิดขึ้นก่อน เนื่องจากผลด้านการลดการเจริญของพื้นที่ผิวใบมีมากกว่าการลดอัตราการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ทำให้ขณะนั้นความเข้มข้นของคลอโรฟิลล์ต่อหน่วยพื้นที่ผิวใบเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
นอกจากฟอสฟอรัสจะมีบทบาทในการควบคุมการสังเคราะห์ด้วยแสงและเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรตแล้ว
ยังมีบทบาทต่อสมดุลของฮอร์โมนพืชด้วย
เนื่องจากพืชที่ขาดฟอสฟอรัสมักออกดอกช้าและจำนวนดอกน้อยกว่าปกติ
ฟอสฟอรัสในพืชสามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปใหญ่ๆคือ อินทรีย์ฟอสฟอรัส
(organic phosphorus) ได้แก่สารประกอบอินทรีย์
พวกกรดนิวคลีอิก (nucleic acid) ฟอสฟอลิปิด ( phospholipids)
และ ไพติน (phytin) พืชสามารถเอาสารประกอบเหล่านี้ไปใช้ได้ต้องเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของ
ไดไฮโดรเจนฟอสเฟตไอออน (H2PO4-) และไฮโดรเจนฟอสเฟตไอออน (HPO42-)
เสียก่อนและ อนินทรีย์ฟอสฟอรัส (inorganic phosphorus) แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆคือแคลเซียมฟอสเฟต อลูมิเนียมฟอสเฟต
และ เหล็กฟอสเฟต การละลายออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืช แคลเซียมฟอสเฟตจะละลายออกมาได้ง่ายกว่าอลูมิเนียมฟอสเฟตและเหล็กฟอสเฟต
ในสภาพดินด่าง แคลเซียมฟอสเฟตจะละลายออกมาได้ง่ายกว่าอลูมิเนียมฟอสเฟตและเหล็กฟอสเฟต
ในสภาพดินกรด อลูมิเนียมฟอสเฟตจะละลายออกมาได้ง่ายกว่าแคลเซียมและเหล็กฟอสเฟต
การตรึงฟอสฟอรัสในดิน
การตรึงฟอสฟอรัสในดินหมายถึง ฟอสเฟตที่ถูกเปลี่ยนรูปจากรูปที่ละลายน้ำได้
(soluble form) ไปอยู่ในรูปที่ไม่ละลายน้ำ (insoluble form) ขบวนการตรึงฟอสฟอรัสในดินขึ้นอยู่กับขบวนการที่สำคัญ 3 ขบวนการคือ
การตรึงฟอสฟอรัสในดินหมายถึง ฟอสเฟตที่ถูกเปลี่ยนรูปจากรูปที่ละลายน้ำได้
(soluble form) ไปอยู่ในรูปที่ไม่ละลายน้ำ (insoluble form) ขบวนการตรึงฟอสฟอรัสในดินขึ้นอยู่กับขบวนการที่สำคัญ 3 ขบวนการคือ
1. การตกตะกอนเชิงเคมี
(Chemical precipitation)
เป็นปฏิกิริยาระหว่างแคทไอออน (cation) พวก เหล็ก อลูมิเนียม แคลเซียมและแมกนีเซียมกับฟอสเฟตไอออนที่ไม่ละลายน้ำ สามารถแบ่งปฏิกิริยาออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้
1.1 ในสภาพของดินกรดเหล็กและอลูมิเนียมทำปฏิกิริยากับฟอสเฟตไอออนเกิดเป็น
สารประกอบฟอสเฟตที่ไม่ละลายน้ำ ดังสมการ
เป็นปฏิกิริยาระหว่างแคทไอออน (cation) พวก เหล็ก อลูมิเนียม แคลเซียมและแมกนีเซียมกับฟอสเฟตไอออนที่ไม่ละลายน้ำ สามารถแบ่งปฏิกิริยาออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้
1.1 ในสภาพของดินกรดเหล็กและอลูมิเนียมทำปฏิกิริยากับฟอสเฟตไอออนเกิดเป็น
สารประกอบฟอสเฟตที่ไม่ละลายน้ำ ดังสมการ
1.2 ในสภาพของดินด่าง แคลเซียมและแมกนีเซียมทำปฏิกิริยากับฟอสเฟตไอออน
เกิดเป็นสารประกอบฟอสเฟตที่ไม่ละลายน้ำ ดังสมการ
เกิดเป็นสารประกอบฟอสเฟตที่ไม่ละลายน้ำ ดังสมการ
2. ปรากฏการณ์การดูดซับ (adsorption phenomena)
ประจุลบของฟอสเฟตไอออนจะถูกดูดยึดอยู่กับไอออนบวกบริเวณผิวของ แร่ดินเหนียว (clay mineral) ด้วยแรงยึดเหนี่ยวทางด้านไฟฟ้า (electrostatic bonding) คือ ประจุลบของฟอสเฟตไอออนจะดูดยึดอยู่กับประจุบวกของแร่ดินเหนียว
3. ปฏิกิริยาการแลกเปลี่ยนแอนไอออน
(anion exchange reaction)
เป็นการแลกเปลี่ยนระหว่างไฮดรอกไซด์ไอออน (OH-) กับฟอสเฟตไอออนในสารละลายดิน เมื่อฟอสเฟตเข้าไปแทนที่ สามารถเกิดพันธะเคมีกับโครงสร้างของแร่ดินเหนียวได้ฟอสเฟตชนิดนี้ยากที่จะถูกปลดปล่อยออกมาทำให้เกิดเป็นสารประกอบฟอสเฟตที่ไม่ละลายน้ำ
เป็นการแลกเปลี่ยนระหว่างไฮดรอกไซด์ไอออน (OH-) กับฟอสเฟตไอออนในสารละลายดิน เมื่อฟอสเฟตเข้าไปแทนที่ สามารถเกิดพันธะเคมีกับโครงสร้างของแร่ดินเหนียวได้ฟอสเฟตชนิดนี้ยากที่จะถูกปลดปล่อยออกมาทำให้เกิดเป็นสารประกอบฟอสเฟตที่ไม่ละลายน้ำ
การจัดการเกี่ยวกับธาตุฟอสฟอรัสในดินที่ใช้ปลูกพืช
การจัดการเกี่ยวกับธาตุฟอสฟอรัสในดินเพื่อให้พืชได้ใช้ประโยชน์มากที่สุดทั้งจากส่วนของฟอสฟอรัสที่มีอยู่เดิม และส่วนที่ใส่เพิ่มเติมในรูปของปุ๋ยนับว่ามีความสำคัญ ทั้งนี้เพราะ ดินโดยทั่วไปมีความจุในการดูดตรึงฟอสฟอรัสไว้ได้มาก จึงจำเป็นต้องควบคุมปัจจัยบางประการเพื่อลดการดูดตรึงฟอสฟอรัสของดิน และช่วยส่งเสริมการใช้ประโยชน์ของธาตุฟอสฟอรัส ซึ่งมีการ จัดการได้ดังนี้
การจัดการเกี่ยวกับธาตุฟอสฟอรัสในดินเพื่อให้พืชได้ใช้ประโยชน์มากที่สุดทั้งจากส่วนของฟอสฟอรัสที่มีอยู่เดิม และส่วนที่ใส่เพิ่มเติมในรูปของปุ๋ยนับว่ามีความสำคัญ ทั้งนี้เพราะ ดินโดยทั่วไปมีความจุในการดูดตรึงฟอสฟอรัสไว้ได้มาก จึงจำเป็นต้องควบคุมปัจจัยบางประการเพื่อลดการดูดตรึงฟอสฟอรัสของดิน และช่วยส่งเสริมการใช้ประโยชน์ของธาตุฟอสฟอรัส ซึ่งมีการ จัดการได้ดังนี้
1. รักษาระดับพีเอช
หรือ ปรับระดับพีเอชของดินให้อยู่ในช่วง 6 - 7
2. รักษาระดับอินทรียวัตถุในดินให้สูงอยู่เสมอ
3 การใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสในรูปปุ๋ยเคมีให้ลดพื้นที่การสัมผัสระหว่างปุ๋ยกับดินโดยวิธีโรยเป็นแถวขนานกับแถวของพืช และควรใช้ปุ๋ยในรูปปุ๋ยเม็ดมากกว่า
2. รักษาระดับอินทรียวัตถุในดินให้สูงอยู่เสมอ
3 การใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสในรูปปุ๋ยเคมีให้ลดพื้นที่การสัมผัสระหว่างปุ๋ยกับดินโดยวิธีโรยเป็นแถวขนานกับแถวของพืช และควรใช้ปุ๋ยในรูปปุ๋ยเม็ดมากกว่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น