สารเคมีกำจัดแมลง
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1. รูปแบบของสารเคมีกำจัดแมลง
สารเคมีกำจัดแมลงส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปน้ำมันซึ่งไม่ละลายน้ำ
บางชนิดก็ละลายได้แต่มีพิษสูงเกินไป จึงมีการผสมสารเคมีกำจัดแมลงในรูปแบบต่างๆ
เพื่อให้เหมาะสมและสะดวกในการใช้ ได้ 8 ชนิดดังต่อไปนี้
1.1 แบบผงผสมน้ำ มีชื่อย่อ
WDP หรือ WP ติดมากับภาชนะที่บรรจุ
สารเคมีกำจัดแมลงแบบนี้ประกอบด้วยสารออกฤทธิ์และสารพาหะหรือสารที่ทำให้เจือจาง
ซึ่งได้แก่ผงดินขาว แป้งฝุ่น
หรือสารอื่นที่เหมาะสมซึ่งจะช่วยให้ใบเปียกง่ายและช่วยในการกระจายตัว
1.2 แบบน้ำมัน มีชื่อย่อ
EC ติดมากับภาชนะที่บรรจุ สารเคมีกำจัดแมลงแบบนี้ประกอบด้วยสารออกฤทธิ์กับตัวทำละลายที่ไม่สามารถเข้ากับน้ำได้
ต่อมามีการเติมสาร emulsifier เพื่อช่วยให้สารออกฤทธิ์ผสมกับน้ำได้และยังช่วยให้เกาะใบพืช
หรือติดตัวแมลงได้ดี เวลาใช้นำไปผสมกับน้ำให้ได้ความเข้มข้นตามต้องการ
จะได้ส่วนผสมสีขาวขุ่นสารเคมีกำจัดแมลงแบบนี้มีใช้แพร่หลายที่สุด
1.3 แบบน้ำเข้มข้นหรือน้ำ มีชื่อย่อ SC, WSC, SCW หรือ LC ติดมากับภาชนะที่บรรจุ สารเคมีกำจัดแมลงแบบนี้
ประกอบด้วยสารออกฤทธิ์และตัวทำละลายที่ผสมน้ำได้ ไม่มี emulsifier เวลาผสมน้ำแล้วจะไม่มีสีขาวขุ่น
1.4 แบบน้ำเข้มข้นแขวนลอยหรือน้ำข้น มีชื่อย่อ F หรือ FL ติดมากับภาชนะที่บรรจุ
สารเคมีจำกัดแมลงแบบนี้ทำได้โดยบดสารออกฤทธิ์กับพาหะ เช่น
ผงดินขาวแล้วนำส่วนผสมที่ไม่ออกฤทธิ์ เช่น น้ำมาผสม
มีลักษณะคล้ายกับสารเคมีกำจัดแมลงแบบผงผสมน้ำเวลาใช้นำมาใส่น้ำลงไปแล้วคนให้เข้ากัน
สารเคมีกำจัดแมลงแบบนี้ใช้สะดวกและละลายน้ำได้ดีกว่าแบบผสมน้ำ
1.5 แบบผงละลายน้ำ มีชื่อย่อ
WSP หรื SP ติดมากับภาชนะที่บรรจุ
สารเคมีกำจัดแมลงแบบนี้ ผลิตออกมาในรูปเม็ดหรือเกล็ด สามารถละลายน้ำได้ทันที
อาจมีการเติมสารช่วยเกาะพื้นผิว
สารเคมีกำจัดแมลงแบบนี้ละลายน้ำได้ง่ายและไม่ตกตะกอนแต่เมื่อเก็บไว้นานๆ
จะดูดความชื้น มักจะจับตัวเป็นก้อนแข็ง
1.6 แบบผงฝุ่น มีชื่อย่อ
D ติดมากับภาชนะที่บรรจุ สารเคมีกำจัดแมลงแบบนี้
ผลิตโดยนำสารออกฤทธิ์มาบดละเอียดแล้วผสมกับผงของสารไม่ออกฤทธิ์ เช่น
ผงทัลค์และเบนโธไนท์ ซึ่งส่วนผสมเหล่านี้จะทำให้เปอร์เซนต์ของสารออกฤทธิ์ลดลง
สามารถใช้พ่นด้วยเครื่องพ่นผงได้ทันที มักใช้ในแหล่งที่ขาดน้ำ
ข้อเสียเวลาใช้มีการฟุ้ง กระจาย
1.7 แบบเม็ด มีชื่อย่อ
G ติดมากับภาชนะที่บรรจุ
สารเคมีกำจัดแมลงแบบนี้คล้ายกับแบบผง แต่มีขนาดใหญ่กว่า
ส่วนประกอบได้แก่สารออกฤทธิ์และสารพาหะหรือสารที่ทำให้เจือจาง เช่น ทราย
สารเคมีกำจัดแมลงแบบนี้ ใช้ได้ทันที โดยใช้ทางดินเท่านั้น
ซึ่งจะออกฤทธิ์ซึมขึ้นไปทางระบบราก ห้ามนำไปละลายน้ำ
เพราะนอกจากละลายยากแล้วยังมีอันตรายสูง
1.8 แบบยู แอล วี มีชื่อย่อ
ULV ติดมากับภาชนะที่บรรจุสารเคมีกำจัดแมลงแบบนี้
ประกอบด้วยสารออกฤทธิ์
ผสมกับน้ำมันที่มีความหนืดและอัตราการระเหยต่ำเวลาใช้ต้องใช้กับเครื่องพ่น ยู
แอส วี เท่านั้น
2. ชนิดของสารเคมีกำจัดแมลง
แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่
ๆ ได้ 4 กลุ่มดังนี้
3.1 คาร์บาเมท
3.2 ออร์กาโนฟอสเฟต 3.3 คลอริเนตเตต ไฮโดรฮาร์บอน 3.4 พัยริธรัม
กลุ่มที่ 1 คาร์บาเมท
รูปแบบส่วนใหญ่ของกลุ่มนี้ เป็นสารเคมีกำจัดแมลงที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ
มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอ็นชัยม์โฆลีนเอสเตอเรสแบบชั่วคราวระยะเวลาออกฤทธิ์สั้น
และสลายตัวได้เร็ว ทำให้ความเป็นพิษลดลง เมื่อได้รับทางปาก
ผิวหนังและสูดดมจะมีอาการ มึนงง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย กระวนกระวาย ม่านตาหรี่
คลื่นไส้ อาเจียน น้ำตาและน้ำลายไหล เหงื่อออกมาก ปวดท้องเกร็ง ชีพจรเต้นช้า
กล้ามเนื้อเกร็ง
การรักษา
ใช้อะโธรปีน ซัลเฟต 2-4 มิลลิกรัม ฉีดเป็นระยะทุกๆ
10-15 นาที จนกระทั่งผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น
ไม่ต้องใช้สารพวก oxime เช่น 2-PAM สารเคมีกำจัดแมลงประเภทคาร์บาเมทที่มีจำหน่าย
เช่น
สารเคมีกำจัดแมลงประเภทคาร์บาเมท
กลุ่มที่ 2 ออร์กาโนฟอสเฟต
รูปแบบส่วนใหญ่ของกลุ่มนี้
เป็นสารเคมีกำจัดแมลงที่มีฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ
มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอ็นซัยม์ โฆลีนเอสเตอเรสแบบถาวร
เมื่อได้รับทั้งทางปาก ผิวหนัง และสูดดม จะมีอาการคลื่นไส้ วิงเวียนอ่อนเฉลีย
กล้ามเนื้อหดตัวเป็นหย่อมๆ แน่นหน้าอก อาเจียน ท้องเดิน ตาพร่า
น้ำลายออกมากกว่าปกติ อาการพิษรุนแรงจะหมดสติ น้ำลายฟูมปาก อุจจาระ ปัสสาวะราด
ชัก หายใจลำบาก และหยุดหายใจ
การรักษา
ใช้อะโธรปีน ซัลเฟต ร่วมกับ 2 PAM หรือสารประกอบ oxime
อื่นๆ ห้ามให้พวก morphine, theophylline, barbiturate,
phenothiazines และ respiratory depresssant อื่นๆ
สารเคมีกำจัดแมลงประเภทออร์กาโนฟอสเฟตที่จำหน่ายมีดังนี้
กลุ่ม 3 คลอริเนตเตด ไฮโดรคาร์บอน (chlorinated hydrocarbon compound)
เป็นสารเคมีกำจัดแมลงที่มีคลอรีน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ
กลไกออกฤทธิ์ยังไม่ทราบชัด อาการพิษเฉียบพลัน มีพิษต่อระบบประสาทส่วนกลาง
ผู้ป่วยจะแสดงอาการไวต่อสิ่งเร้ามาก กระวนกระวาย เวียนศีรษะ เสียการทรงตัว
บางครั้งมีการชักเกร็ง คล้ายกับได้สารสตริกนิน ผู้ป่วยอาจตายด้วยระบบหายใจล้มเหลว
ไม่นิยมใช้เพราะมีความคงทนในสภาวะแวดล้อมสูงทำให้เกิดพิษตกค้างมาก
การรักษา
ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะรักษาตามอาการสำหรับรายที่มีอาการหนักแก้ด้วยบาร์บิทุเรตชนิดออกฤทธิ์สั้น
หรือไดอะซีแพม ห้ามให้ยาพวก stimulants เช่น epinephrine
สารเคมีกำจัดแมลงประเภทคลอรินเนตเตด ไฮโดรคาร์บอน
ที่มีจำหน่ายมีดังนี้
กลุ่มที่ 4 ไพรีธรัม (Pyrethrum)
เป็นสารเคมีกำจัดแมลงที่มีในธรรมชาติ
สกัดได้จากดอกไม้ตระกูลเบญจมาศบางชนิด (Chrysanthemum sp.) มีประสิทธิภาพทำให้แมลงร่วงหล่นเร็ว (Knock down) มีพิษต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมต่ำเนื่องจากคุณสมบัติดังกล่าวจึงมีการสังเคราะห์สารเลียนแบบพัยรีธรัม
เรียกว่า พัยรีธรอยด์ (Pyrethroids) เช่น Allerthrin,
Tetramethrin เป็นต้น
การออกฤทธิ์โดยตรงที่เซลล์ประสาทในรายที่ได้รับเข้าไปจำนวนมาก
จะทำให้เกิดการชักกระดุก และเป็นอัมพาต อันตรายอาจเกิดจากตัวทำละลาย เช่น
น้ำมันก๊าด ซึ่งมีพิษมากกว่าพัยรีธรัม
การรักษา
ล้างกระเพาะอาหาร ด้วย 5% sodium bicarbonate แล้วสังเกตุอาการต่อไปอาจให้
diazepam เพื่อแก้อาการซัก ถ้าผู้ป่วยหายใจไม่ออก
ให้ออกซิเจนและอะโธรปีนซัลเฟต
สารเคมีกำจัดแมลงประเภทพัยริธรัม
ที่มีจำหน่ายดังนี้
LD50 (Lethal
dose) หมายถึง ค่าเฉลี่ยโดยวิธีวัดสถิติของวัตถุมีพิษ
ที่ทำให้สัต
|
ที่มาเคมีวิทยา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น