เรื่องของครอบครัว
บิดามารดาและก็บุตร
จริงๆมีแค่สามคนแต่ก็วุ้นวายพอสมควร
เมื่อหญิงท้องแต่ไม่มีพ่อรับเลี้ยงแล้วใครเป็นพ่อเด็ก และถ้าฝ่ายชายไม่ยอมรับจะทำอย่างไร
ปัญหานี้เกิดขึ้นทุกวันยิ่งคนดังออกข่าวอยู่บ่อยๆ จริงมั่งเท็จมั่ง กลั่นแกล้งกันบ้าง แล้วกฎหมายจะช่วยอย่างไร ตามมาตรา
1536
ให้ถือว่าเด็กเกิดแต่หญิงขณะเป็นภริยาชายหรือภายใน 310
วันนับแต่การสมรสสิ้นสุดลงให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชาย ผู้เป็นสามีหรือเคยเป็นสามี
กฎหมายใช้คำว่าสันนิษฐาน ไม่ได้ฟันธงนั้นแปลว่ายังต้องพิสูจน์กันอีก จะว่าไปแล้วกฎหมายข้อนี้ช่วยอะไรได้ไม่มาก เรื่องนี้ต้องอาศัยข้อเท็จจริงเป็นหลัก
สิ่งที่ต้องพิสูจน์ข้อแรกชายและหญิงเป็นสามีภริยากันจริงหรือไม่
ถ้าไม่จริงเด็กที่เกิดมาย่อมไม่ใช้ลูกของชายเป็นแน่ แต่ถ้าใช้แล้วหญิงคนนั้นมีสามีคนเดี่ยวหรือไม่ เรื่องแบบนี้พิสูจน์กันยากมันเป็นเรื่องของคนสองคนคนอื่นก็ไม่เคยตามไปดูเสียด้วย ถ้าหญิงมีสามีหลายคนเรื่องแบบนี้ห้ามไม่ได้แม้กฎหมายจะห้ามจดทะเบียนซ้อนแต่ก็ไม่ได้ห้ามหญิงมีสามีหลายคน และกฎหมายก็ไม่มีบทลงโทษแต่ประการใด เป็นสิทธิส่วนตัวจริงๆ แต่ก็มีกฎหมายใช้คำว่าสันนิษฐานอีก คือมาตรา
1537 ในกรณีที่หญิงทำการสมรสใหม่ที่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา
1536 และคลอดบุตรภายใน 310
วัน นับแต่วันที่การที่สมรสสิ้นสุดลง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเด็กที่เกิดมาเป็นบุตรของสามีใหม่ และห้ามนำข้อสันนิษฐานตามมาตรา 1536
มาใช้บังคับ
มีกฎหมายห้ามเรื่องการสมรสด้วย คือ
มาตรา 1453 ว่าถ้าสามีตายหรือเลิกกันจะด้วยสาเหตุใดก็แล้วแต่ห้ามสมรสใหม่ภายใน 310
แต่ก็มีข้อยกเว้น
ว่าถ้าคลอดลูกแล้วก็มีได้ทันที หรือคืนดีกับคนเดิม
หรือมีแพทย์ที่มีใบรับรองความรู้รับรองว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
อันนี้ก็มีได้ทันทีหรือจะขอให้ศาลสั่งก็ได้ เออแล้วจะมีใครไปขอไหมเนี่ย
อยากจะมีผัวทั้งทีต้องไปขอศาลเมื่อศาลสั่งแล้วจึงมีได้ แต่ก็มีกฎหมายเพื่อไว้แล้วก็ดีเหมือนกัน
มีอีกข้อ มาตรา 1452
ชายหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้
ทั้งนี้ก็มีเจตนาเพื่อความสงบของสังคม เวลาเด็กเกิดมาจะได้ไม่หลงทาง “เอ้ลูกใครหว่า” แต่การสมรสฝ่าฝืนกฎข้อนี้
ถ้าเด็กเกิดมาเขาให้สันนิษฐานว่าเป็นบุตรของชายที่เป็นสามีที่จดทะเบียนสมรสครั้งหลัง แต่ถ้าพิสูจน์ได้ว่าไม่ใช้ของคนหลัง ก็ให้ศาลมีคำพิพากษาว่าไม่ใช้คนหลัง กฎหมายก็ให้ใช้มาตรา 1536 มาใช้เพื่อแก้ปัญหา คือนับย้อนขึ้นไป 310
วันว่าอยู่กับใครก็ให้คนนั้นนั้นและเป็นพ่อไปก่อน
แต่ผู้เป็นสามีคนก่อนกฎหมายก็ให้สิทธิที่จะไม่รับได้ด้วยที่จะไม่รับเป็นบุตรของตน โดยฟ้องร้องทั้งแม่และเด็กเป็นจำเลยร่วมกันและพิสูจน์ได้ว่าตนไม่ได้อยู่ร่วมกันกับมารดาเด็กในระยะเวลาตั้งครรภ์คือระหว่าง
180วัน ถึง 310
วันก่อนเด็กเกิดหรือตนไม่สามารถเป็นพ่อเด็กได้เพราะเหตุอย่างอื่นได้ด้วย
แต่การทีฟ้องไม่รับเด็กนั้นถ้าตนเป็นคนไปแจ้งเกิดเองและแจ้งเป็นบุตรของตนอันนี้กฎหมายตัดสิทธิฟ้องไม่ได้ตามมาตรา
1541 คือรับแล้วจะไม่รับภายหลังไม่ได้
เมื่อไม่มีคนรับจะทำอย่างไร กฎหมายมีวิธีแก้อีกแระ มาตรา 1546
เด็กเกิดจากหญิงที่ไม่ได้สมรสกับชายให้ถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้นเลย
คำว่าสมรสกันถือการจดทะเบียนสมรสเป็นใหญ่
ถึงอยู่ด้วยกันจะเป็นบุตรของชายได้ก็ต้องไปจดทะเบียนสมรสก่อน หรือจดทะเบียนรับเป็นบุตร
แต่ทางฝ่ายมารดาเด็กและตัวเด็กต้องยอมรับด้วยถ้าไม่ยอมก็ไม่เป็น กฎหมายให้สิทธิเลือกได้ด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อคุณพ่อไปจดทะเบียนรับเป็นลูก คุณแม่และคุณลูกต้องไปให้ความยีนยอมต่อหน้านายทะเบียนด้วย ถ้าภายใน 60
วันไม่ไปถือว่าไม่ยอมรับตามมาตรา1548 ครับ
แต่คุณพ่อก็มีทางแก้โดยการยื่นคำฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาเป็นบุตรของตน
เมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้วนายทะเบียนไม่ต้องฟังใครจดทะเบียนเป็นบุตรได้ทันทีไม่ต้องรอแม่เด็กหรือเด็กก็ตาม
แต่ถ้าคุณแม่ก็ไม่ยอมสามารถแจ้งนายทะเบียนไม่ยอมรับโดยอ้างเหตุว่าไม่สมควรมาปกครองลูกของตนอย่างไรก็ได้ด้วย
และแล้วคุณพ่อก็ได้แค่สิทธิว่าเป็นของบุตรตนเท่านั้น
จะไปใช้สิทธิอำนาจปกครองไม่ได้ต้องไปฟ้องศาลอีกขออำนาจปกครองมาด้วย
เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้เข้าใจง่าย กฎหมายเขียนมาอย่างไรก็ชั่งเหอะ เขาถือเอาข้อเท็จจริงเป็นหลักกฎหมายเป็นรอง ความจริงเป็นเช่นไรก็เช่นนั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น