วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

ความรู้เรื่องธาตุอาหารพืช กำมะถัน


                                              ความรู้เรื่องธาตุอาหารพืช   
                                                                    S                                        
  ธาตุกำมะถันในดิน
                ธาตุกำมะถันจัดเป็นธาตุอาหารพืชในกลุ่มธาตุอาหารรองโดยทั่วไปพืชต้องการใช้ในปริมาณที่น้อยกว่าธาตุหลัก แต่มีความจำเป็นต่อพืชมาก เนื่องจากธาตุกำมะถันเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกรดอะมิโน(amino acid) 2 ตัว คือ ซีสเตอีน (cysteine) และ เมไทโอนีส (methiomine) กำมะถันยังเป็นองค์ประกอบของไวตามิน เช่น ไทอามีน (thiamine) ใน โคเอนไซม์ (coenzyme ) และกำมะถันเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสารระเหยของพืช ทำให้พืชมีกลิ่นเฉพาะตัวเช่นกลิ่นของกระเทียม และกลิ่นของทุเรียน เป็นต้น กำมะถันที่พบบนเปลือกโลก ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปซัลไฟด์ (sulfide) ซัลเฟต (sulfates) แร่ที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบ ส่วนใหญ่จะเป็นองค์ประกอบของหินอัคนีที่ผุพังสลายตัวในรูปของโลหะซัลไฟด์ เมื่อซัลไฟด์อยู่ในสภาพที่พอเหมาะก็จะถูกออกซิไดส์ให้อยู่ในรูปของซัลเฟต เช่น เกลือของซัลเฟตส่วนใหญ่พบในดินบริเวณแห้งแล้ง หรือกึ่งแห้งแล้ง กำมะถันบางส่วนได้มาจากซากพืชซากสัตว์ซึ่งสะสมอยู่ในรูปของอินทรียกำมะถัน บางส่วนได้มาจากการละลายมากับน้ำฝนของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ที่ตกลงมาสู่ดิน จากนั้นจะเปลี่ยนรูปจาก อนุมูลซัลเฟต(SO42-)ไปอยู่ในรูปของซัลไฟด์ด้วยกิจกรรมของจุลินทรีย์ และกำมะถันบางส่วนได้จากการใส่ปุ๋ยลงไปในดิน รูปของกำมะถันในดินที่เป็นประโยชน์ต่อพืช มี 2 รูปดังต่อไปนี้
1.รูปอนินทรีย์กำมะถัน
กำมะถันชนิดนี้มีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับสภาพของภูมิอากาศ เช่นภูมิอากาศแบบชื้น กำมะถันจะอยู่ในรูปของอนุมูลซัลเฟตละลายอยู่ในสารละลายดิน พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ และมีบางส่วนจะดูดยึดอยู่กับคอลลอยด์ของดิน ในภูมิอากาศแบบแห้งแล้ง หรือกึ่งแห้งแล้ง กำมะถันส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปซัลไฟด์ เช่น ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) และเฟอร์รัสซัลไฟด์ (FeS) ซึ่งพืชไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ต้องเปลี่ยนให้อยู่ในรูปอนุมูลซัลเฟตเสียก่อน ในภูมิอากาศแบบฝนตกชุก(ดินนา) กำมะถันส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปซัลไฟด์ เช่นไฮโดรเจนซัลไฟด์ซึ่งพืชไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ต้องเปลี่ยนให้อยู่ในรูปอนุมูลซัลเฟต เสียก่อน
2.รูปอินทรีย์กำมะถัน 
พบได้ในกรดอะมิโนชนิด เมไทโอนีน (methiomine) และ ซีสทีน(cysteine) โดยมี
จุลินทรีย์ในดินเปลี่ยนอินทรียกำมะถันให้อยู่ในรูปของอนินทรียกำมะถัน โดยผ่านกระบวนการ
มิเนรัลไลเซซัน ซึ่งมีปฎิกิริยาที่สำคัญ 2 ปฎิกิริยาคือ ปฎิกริยาออกซิเดชัน (oxidation) หมายถึงสภาพที่ดินมีการถ่ายเทอากาศได้ดีมีออกซิเจนเพียงพอ พบในดินไร่โดยเปลี่ยนจากอินทรียกำมะถันไปเป็นอนุมูลซัลเฟต ดังสมการ และ ปฎิกิริยารีดักชัน (reduction) หมายถึงสภาพที่ดินมีการถ่ายเทอากาศได้ไม่ดี ดินขาดออกซิเจนพบได้ในดินนาน้ำขัง โดยเปลี่ยนจากอินทรียกำมะถันไปเป็นก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ สะสมในดินพืชไม่สามารถเอาไปใช้ประโยชน์ได้ ถ้าสะสมมากก็จะเป็นอันตรายต่อรากพืชได้ ดังสมการ
อาการขาดธาตุกำมะถัน 
                                                                                   รูปข้าวที่ขาดธาตุกำมะถัน

                  การเจริญเติบโตและขนาดของใบพืชจะเล็กลง บางครั้งใบอ่อนจะมีสีเหลืองซีด ถ้าขาดอย่างรุนแรง ใบจะเหี่ยวย่น ลำตันเล็ก พบในพืชที่ขึ้นอยู่บนดินที่อินทรีย์วัตถุต่ำ บริเวณที่ฝนตกปานกลางและตกหนัก ธาตุกำมะถันพืชต้องการในปริมาณที่น้อยกว่า ธาตุอาหารหลัก โดยปกติแล้วดินมักจะไม่ค่อยขาด ธาตุกำมะถันอาจจะสูญเสียไปจากดินในส่วนที่ติดไปกับผลผลิตของพืช หรือกระบวนการชะล้าง (leaching) ตลอดจนการระเหยไปในรูปของก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ ทำให้ดินมีโอกาสขาดธาตุกำมะถันได้ ดินที่ขาดธาตุกำมะถันมีวิธีแก้ไขดังต่อไปนี้ เพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วควรไถกลบไม่ควรเผาทิ้งและ ใส่ปุ๋ยเคมีประเภทโปตัสเซียมแมกนีเซียมซัลเฟต (K2SO4• 2MgSO4:22 เปอร์เซ็นต์ S) แอมโมเนียมซัลเฟต [( NH4)2SO4 : 24 เปอร์เซ็นต์ S] และแอมโมเนียมไธโอซัลเฟต [( NH4)2S2O3 : 26 เปอร์เซ็นต์ S , 12 เปอร์เซ็นต์ N]
                  สิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ต้องการอาหารสำหรับการเจริญเติบโตและดำรงชีวิตอยู่ได้ตลอดไปจนครบชีพจักร (life cycle) ธาตุต่าง ๆ ในโลกนี้ ทุกธาตุไม่ได้เป็นอาหารของพืช จะมีเพียงบางธาตุเท่านั้นที่ถูกจัดให้เป็นธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช (essential elements) โดยอาศัยหลักการดังต่อไปนี้คือ ถ้าพืชได้รับธาตุนั้นในปริมาณที่ไม่เพียงพอหรือพืชขาดธาตุนั้นๆจะมีผลทำให้พืชเจริญเติบโตหรือดำรงชีวิตอยู่ได้ไม่ครบชีพจักร โดยเริ่มตั้งแต่การงอกของเมล็ดจนถึงการออกดอกออกผล ปัจจุบันนี้จึงมีเพียง 16 ธาตุเท่านั้นที่จัดเป็นธาตุอาหารที่สำคัญของพืช ได้แก่ คาร์บอน (C ) ไฮโดรเจน (H) ออกซิเจน (O) ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โปตัสเซียม (K) คัลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) กำมะถัน (S) เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) สังกะสี (Zn) ทองแดง (Cu) โบรอน (B) โมลิบดินัม (Mo) และคลอรีน (Cl)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น