การใช้สาร อีทีฟอน เร่งน้ำยาง
เป็นที่เข้าใจกันในหมู่ส่วนยางในอดีตว่า หากจะใช้สารเคมีเร่งน้ำยางจะต้องใช้กับต้นยางที่จะโค่นใน 1-2 ปีแต่ปัจจุบันกลับตรงกันข้าม เมื่อสถานบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตรมีผลงานวิจัยที่ยืนยันออกมาแล้วว่า เกษตรกรชาวสวนยางสามารถใช้สารเคมีเร่งน้ำยางได้ทุกช่วงของการให้ผลผลิต ตั้งแต่เริ่มเปิดกรีดจนกระทั่งใกล้จะโค่นทิ้งแต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ ความเหมาะสมและพันธุ์ยางด้วย
นางพิสมัย จันทุมา นักวิชาการเกษตร ระดับชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร เผยว่า ปัจจุบันสารเคมีเร่งน้ำยางที่เกษตรกรชาวสวนยางนิยมใช้ มีจำหน่ายทั้งไปตามท้องตลาด เช่น อีเทรล อีทีฟอน เป็นต้น ซึ้งจะให้สารออกฤทธิ์ที่ชื่อว่า เอทธิฟอน โดยใช้อัตราความเข็มข้น 2.5% ด้วยการผสมน้ำ แล้วใช้ทาหรือหยดลงบนรอยกรีดทุกๆ 2 เดือน สามารถทำให้ได้รับผลผลิตเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม 30% ซึ้งวิธีการนี้สามารถใช้ได้กับต้นยางอายุยังน้อย ตั้งแต่เริ่มปิดกรีดไปจนกว่าจะโค่นทิ้ง
ข้อดีของการใช้สารเร่งน้ำยางจะช่วยย่นระยะเวลาการกรีดลง ปกติจะกรีดทุกวันก็จะเปลี่ยนมาเป็นวันเว้นวันหรือกรีดวันเว้นสองวัน แต่ได้ปริมาณน้ำยางเท่าเดิม เจ้าของสวนจะได้มีเวลาไปทำอย่างอื่นได้ แล้วก็ไม่มีผลกระทบต่อต้นยางพารา หากทำตามขั้นตอนอย่างถูกวิธี ซึ้งขณะนี้วิธีดังกล่าวก็มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย
สำหรับอีกรูปแบบหนึ่งเป็นการใช้แก๊ส เอทธีลีน ซึ้งเป็นฮอร์โมนพืชที่อยู่ในรูปแก๊ส ซึ้งเหมาะกับต้นยางพาราอายุมากหรือใกล้โค่นทิ้งเป็นการเพิ่ม ฮอร์โมนหรือแก๊สเอทธีลีน ความเข็มข้น 68-99% เข้าสู่เปลือกยางและท่อน้ำยาง โดยจะใช้ร่วมกับอุปกรณ์การให้ฮอร์โมน มีอยู่หลายแบบ เช่น RRIMFLOW (ริมโฟลว์)AGROBASE(อโกรเบส)และLET I (เลท ไอ) เป็นต้น แต่โดยกลักการแล้วจะเหมือนกันคือ จะมีการติดอุปกรณ์ให้ฮอร์โมนหรือแก๊สไว้ใกล้รอยกรีดและมีการอัดฮอร์โมนเข้าสู่อุปกรณ์นี้ 6-15 วันต่อครั้งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดขออุปกรณ์ที่ติดตั้งดังกล่าวด้วย
ส่วนการกรีดนั้นจะใช้รอยกรีดสั้น มีความยาว 1/8ของลำต้นหรือ ประมาณ 4 นิ้วโดยการกรีดวันเว้นสองวันหรือเว้น 48-72 ชั่วโมงเพื่อให้ต้นยางสามารถสร้างน้ำยางมาทดแทนได้ทัน โดยวิธีการใช้แก๊สนั้นจะทำให้น้ำยางไหลนานประมาณ 13-15 ชั่วโมงทำให้ได้ผลผลิตน้ำยางเพิ่มขึ้น แต่หากใช้ไม่ถูกวิธีนอกจากจะทำให้ผลผลิตลดลงแล้วยังเป็นอันตรายต่อต้นยางได้ และยังมีผลกระทบต่อคุณภาพของน้ำยาง ได้แก่ ปริมาณเนื้อยางแห้งลดลง เป็นต้น
สำรูปแบบการเร่งน้ำยางด้วยวิธีใช้แก๊สนั้น จะไม่แนะนำให้เกษตรกรใช้โดยเฉพาะต้นยางอายุยังน้อย หรือเริ่มเปิดกรีด เพราะจะมีผลเสียมากกว่าผลดี เนื่องจากรูปแบบดังกล่าวนี้จะเป็นการดึงน้ำจากส่วนต่างๆของลำต้นมาใช้มากเกินไป จะทำให้เปลือกแตกและแห้ง ไม่สามรถทำการกรีดต่อไปได้ บางครั้งอาจถึงขั้นต้นยางแสดงอาการเปลือกแห้งถาวรในที่สุดทำให้สูญเสียโอกาสที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิตยาง เพราะวิธีการนี้จะเหมาะสำหรับต้นยางพาราที่มีอายุมากหรือใกล้จะโค่นทิ้งเท่านั้น
อัตราส่วน อีทีฟอน52 ผสมน้ำ อัตราส่วนเท่าใหร่ครับ?สำหรับทาหน้ายาง
ตอบลบ5% อีทีฟอน100ccเติมน้ำให้ครับ1 ลิตร
ลบ(900cc)
อีทีฟ่อน 52 เขาใช้ในสับประรดครับ ในยางใช้ 1.5 ก็พอ
ตอบลบเราใช้อีทีฟ่อนฉีดพ่นต้นยางพาราได้ไหมค่ะ?
ตอบลบแต่ถ้าใช้แปรงทาหน้ายางมรอัตราส่วนใช้ยังไง?
รบกวนช่วยตอบรายละเอียดด้วยค่ะ🙇🙇
ถ้ากรีด2คืนเว้นคืนจะได้น้ำยางมากกว่าเดิมมั้ยคับแล้วมีผลอะไรกับต้นยางรึป่าว
ตอบลบมีผลกระทบต่อต้นยางใหมครับ
ตอบลบ