วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

กาบ้า


สารกาบ้า (GABA)

                  สารกาบ้า (gaba)  หรือ     gamma aminobutyric        ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท                           ( neurotransmitter )  ในระบบประสาทส่วนกลางและเป็นสารสื่อประสาทประเภทสารยับยั้ง ( inhibitor) โดยจะทำหน้าที่รักษาสมดุลในสมองที่ได้รับการกระตุ้นซึ่งช่วยทำให้สมองเกิด การผ่อนคลายและนอนหลับสบาย อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นต่อมไร้ท่อ anterior pituitary ซึ่งทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต ( high) ทำให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อทำให้กล้ามเนื้อเกิดการกระชับและเกิดสารป้องกัน ไขมันที่ชื่อ lipotropic ในวงการแพทย์มีการนำสารกาบา มาใช้ในการรักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาทต่างๆหลายโรค เช่นโรควิตกกังวลโรคนอนไม่หลับ โรคลมชัก เป็นต้น สารกาบา ยังมีผลกระตุ้นฮอร์โมนทำให้ระดับฮอร์โมนมีสม่ำเสมอ ช่วยชลอความแก่ และขับเอ็นไซม์ขจัดสารพิษออกจากร่างกาย ควบคุมระดับน้ำตาลและพลาสมาคลอเลสเตอรอลในกระแสเลือด  ทำให้เลือดไหลหมุนเวียนดีและลดความดันเลือดลง กระตุ้นการขับถ่ายน้ำดีสู่ลำไส้เพื่อสลายไขมัน ป้องกันโรคมะเร็งลำไส้และช่วยขับสารแห่งความสุข


              จากการศึกษาและวิจัยพบว่า การบริโภคข้าวกล้องงอกที่มีสารกาบามากกว่าข้าวกล้องปกติ 15 เท่า จะสามารถป้องกันการทำลายสมอง และโรคสูญเสียความทรงจำ หรือ  อัลไซเมอร์ได้ ดังนั้น จึงได้มีการนำสารกาบามาใช้ในวงการแพทย์เพื่อการรักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาทต่างๆ หลายโรค เช่น โรควิตกกังวล โรคนอนไม่หลับ โรคลมชัก เป็นต้น รวมทั้งผลการวิจัยด้านสุขภาพระบุว่าข้าวกล้องงอกที่ประกอบด้วยสารกาบา มีผลช่วยลดความดันโลหิต ลด LDL (Low Density lipoprotein) ลดอาการ อัลไซเมอร์ ลดน้ำหนัก ทำให้ผิวพรรณดี และใช้บำบัดโรคเกี่ยวกับระบบประสาทส่วนกลางได้อีก


สาร กาบ้า คืออะไร article
            GABA เป็นกรดอามิโนที่ผลิตจากกระบวนการ decarboxylation ของกรดอามิโน (glutamic acid) กรดนี้จะมีบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท (neurotransmitter) ในระบบประสาทส่วนกลาง  นอกจากนี้ GABA ยังถือเป็นสารสื่อประสาทประเภท สารยับยั้ง (inhibitor) โดยจะทำหน้าที่รักษาสมดุลในสมองที่ได้รับการกระตุ้นซึ่งช่วยทำให้สมองเกิดการผ่อนคลายและนอนหลับสบาย อีกทั้งยังทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นต่อมไร้ท่อ (anterior pituitary) ซึ่งทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต (HGH) ทำให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อ ทำให้กล้ามเนื้อเกิดความกระชับและเกิดสาร lipotropic ซึ่งเป็นสารป้องกันการสะสมไขมัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น