วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ชะอม


ชื่อที่เรียก
ต้นชะอม
ชื่ออื่นๆ
ต้นชะอม
หมวดหมู่ทรัพยากร
พืช
ลักษณะ
ชะอมเป็นไม้พุ่มขนาดย่อม แต่เคยมีพบชะอมในป่า ลักษณะเป็นต้นไม้ใหญ่ วัดเส้นรอบวงของลำต้นได้ 1.2 เมตร ไม้ชะอมที่ปลูกตามบ้าน จะพบในลักษณะไม้พุ่ม และ เจ้าของมักตัดแต่งกิ่ง เพื่อให้ออกยอดไม่สูงเกินไป จะได้ เก็บยอดได้สะดวก ตามลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลม ใบเป็นใบประกอบขนาดเล็ก มีก้านใบแยกเป็นใบอยู่  2 ทาง ลักษณะคล้ายใบกระถินหรือใบส้มป่อย

ประโยชน์
ยาขับลมชั้นดีระดับหนึ่ง แต่ในด้านลบ ผมคุ้นๆ ว่าชะอมจะมีกรดยูลิคอยู่สูง ซึ่งจะมีผลเสียต่อไขข้อกระดูก จนอาจส่งผลเป็นโรคเก๊าได้ในวัยสูงอายุ สำหรับ ดอกแค คุ้นๆ ว่าจะมีประโยชน์กับเม็ดเลือด แต่ที่แน่ๆ คือ กากใยอาหารครับ ดูแลรักษากระเพาะได้เป็นอย่างดี

แหล่งที่พบ
โรงเรียนชลบุรี "สุขบท" หลังอาคาร4
ตำบล
บางทราย
อำเภอ
เมืองชลบุรี
จังหวัด
ชลบุรี
ชื่อสามัญ
ชะอม
ชื่อวิทยาศาสตร์
Acacia Pennata (L.) Willd.Subsp.InsuavisNielsen
ชื่อวงศ์
LEGUMINOSAE
แหล่งที่มาของข้อมูล
http://www.skb.ac.th/~botanical/
ต้นชะอม เป็นไม่พุ่มขนาดย่อม จัดอยู่ในวงศ์ ลำต้นและกิ่งก้านจะมีหนามแหลม ส่วนลักษณะของใบชะอม เป็นใบประกอบสีเขียวขนาดเล็ก มีก้านใบย่อยแตกออกจากแกนกลางใบ มีลักษณะคล้ายกับใบส้มป่อยหรือใบกระถิน ใบอ่อนจะมีกลิ่นฉุน ใบย่อยมีขนาดเล็กออกตรงข้ามกัน คล้ายรูปรีประมาณ 13-28 คู่ ปลายใบแหลมขอบใบเรียบ ใบย่อยจะหุบในเวลาเย็น และแผ่ออกเพื่อรับแสงในช่วงกลางวัน ส่วนดอกชะอม มีขนาดเล็กออกตามซอกใบ มีสีขาวถึงขาวนวล

วิธีการปลูกชะอม ปลูกโดย การปักชำ การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง หรือการโน้มกิ่งลงดิน โดยไม่ต้องต่อตาหรือชำกิ่ง การปลูกผักชะอมส่วนมากจะใช้วิธีการเพาะเมล็ด เพราะจะได้ต้นที่แข็งแรงและทนทานต่อสภาพแวดล้อม มีหนามหนากว่าการปลูกด้วยวิธีอื่น

การปลูกชะอม ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด โดยนำมาเมล็ดชะอมมาใส่ถุงพลาสติก รดน้ำวันละครั้ง เมื่อเมล็ดงอกก็ให้ทำการย้ายลงดิน โดยปลูกห่างหันประมาณ 1 เมตร และให้ปุ๋ยสดหรือมูลสัตว์ในการบำรุงต้น ถ้าปลูกในฤดูร้อนแล้วหมั่นรดน้ำจะเจริญเติบโตได้ดีกว่าการปลูกในฤดูฝน เพราะเมล็ดชะอมมีโอกาสเน่าได้สูง ผักชะอม ปกติแล้วจะไม่ค่อยมีโรคและแมลงศัตรูพืชมารบกวนเท่าไหร่ หากพบก็ใช้ปูนขาวโรยไว้รอบโคนต้น แต่ถ้าเป็นแมลงมีหนอนกินยอดชะอมก็ให้ใช้ยาฆ่าแมลงฉีดทุกๆ 8 วัน การเก็บยอดชะอม ควรเก็บให้เลือกยอดไว้ 3-4 ยอดเพื่อให้ต้นได้โต เพื่อความปลอดภัยควรเก็บหลังจากการฉีดยาฆ่าแมลงแล้วไม่น้อยกว่า 7 วัน และสามารถเก็บเกี่ยวจากต้นที่ปลูกกิ่งตอนได้ 10-15 วัน และตัดยอดขายได้ทุกๆ 2 วัน
ประโยชน์ของชะอม

ประโยชน์ชะอมช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ เนื่องจากมีวิตามินเอสูง
สรรพคุณของชะอม ยอดชะอมช่วยลดความร้อนในร่างกายได้
ผักรสมันอย่างชะอม มีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ
ชะอม สรรพคุณช่วยในการขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูก
รากชะอมนำมาฝนกินช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง และช่วยขับลมในลำไส้
สรรพคุณชะอมมีส่วนช่วยบำรุงเส้นเอ็น
ช่วยแก้อาการลิ้นอักเสบเป็นผื่นแดง
ประโยชน์ของชะอม ช่วยฟื้นฟูผมแห้งเสีย แตกปลาย ด้วยสูตรน้ำชะอมหมักผม เพียงแค่นำใบชะอมประมาณ 1 กำมือมาต้มกับน้ำเปล่า 3 ถ้วย จนได้น้ำชะอมเข้มข้นกรองเอาแต่น้ำ เมื่อสระผมเสร็จให้นำมาผ้าขนหนูมาชุบน้ำชะอมที่เตรียมไว้ บิดพอหมาด นำมาเช็ดผมให้ทั่ว แล้วทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีแล้วล้างออก จะช่วยทำให้ผมแห้งๆ กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง
ชะอม ประโยชน์นำมาทำเป็นเมนูอาหารได้หลากหลายเมนู เมนูชะอม เช่น ไข่ชะอม ไข่ทอดชะอม ชะอมชุบไข่ แกงส้มชะอมกุ้ง แกงส้มชะอมไข่ นำมาลวกหรือนึ่งใช้เป็นผักจิ้มกับน้ำพริก น้ำพริกกะปิ รับประทานร่วมกับส้มตำมะม่วง ตำส้มโอ หรือจะนำไปปรุงเป็นแกงรวมกับปลา เนื้อ ไก่ กบ เขียด หรือต้มเป็นอ่อม ทำแกงลาว แกงแค เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของยอดชะอม 100 กรัม

พลังงาน 57 กิโลแคลอรี่
เส้นใยอาหาร 5.7 กรัม
ธาตุแคลเซียม 58 มิลลิกรัม
ธาตุฟอสฟอรัส 80 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 4.1 มิลลิกรัม
วิตามินเอ 10066 IU
วิตามินบี1 0.05 มิลลิกรัม
วิตามินบี2 0.25 มิลลิกรัม
วิตามินบี3 1.5 มิลลิกรัม
วิตามินซี 58 มิลลิกรัม
โทษของชะอม

สำหรับคุณแม่ที่เพิ่งมีบุตรอ่อน ไม่ควรรับประทานผักชะอม เพราะจะทำให้น้ำนมแม่แห้งได้
ผักชะอม สำหรับคุณแม่ลูกอ่อน จะแพ้กลิ่นของผักชนิดนี้อย่างมาก ดังนั้นควรอยู่ห่างๆ
การรับประทานผักชะอมในหน้าฝน อาจจะมีรสเปรี้ยว กลิ่นฉุน บางครั้งอาจทำให้มีอาการปวดท้องได้ (ปกตินิยมรับประทานผักชะอมหน้าร้อน)
กรดยูริกเป็นตัวการที่ทำให้เกิดข้ออักเสบในผู้ป่วยโรคเกาต์ ซึ่งเกิดมาจากสารพิวรีน (Purine) โดยผักชะอมนั้นก็มีสารพิวรีนในระดับปานกลางถึงระดับสูง ผู้ป่วยโรคเกาต์สามารถรับประทานได้ แต่ควรรับประทานในปริมาณที่จำกัด หากเป็นมากก็ไม่ควรรับประทาน เพราะจะทำให้ปวดกระดูกได้
อาจพบเชื้อก่อโรคอย่าง ซาลโมเนลลา (Salmonella) ซึ่งเป็นเชื้อที่สามารถพบได้ทั่วไปในสภาพแวดล้อม เช่น ดิน น้ำ อากาศ เมื่อเรานำผักชะอมที่ปนเปื้อนสารชนิดนี้มาประกอบอาหารโดยไม่ล้างทำความสะอาดหลายๆครั้ง หรือไม่นำมาปรุงให้สุกก่อนรับประทาน อาจมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อชนิดได้ โดยผู้ที่ได้รับเชื้อชนิดอาจจะมีอาการท้องเสีย ปวดท้อง ถ่ายเหลวเป็นน้ำสีเสียว หรือถ่ายเป็นมูกมีเลือดปน มีไข้ เป็นต้น





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น