วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ผิวโดนแมลงน้ำกรด


แมลงก้นกระดก แมลงน้ำกรด ภัยร้ายยามค่ำคืน มารู้จักกับแมลง แมลงก้นกระดก แมลงน้ำกรด (Paederus fuscipes) ภัยร้ายยามค่ำคืนกัน เจ้าแมลงก้นกระดก หรือ แมลงน้ำกรด นัน้เป็นแมลงขนาดเล็กประมาณ 1 ซม. หัวมีสีดำ ท้องมีสีส้ม แมลงชนิดนี้มักจะงอส่วนท้ายเมื่อเกาะอยู่กับพื้น จึงมักเรียกว่า “แมลงก้นกระดก” มักอาศัยบริเวณพงหญ้าที่มีความชื้น ชอบออกมาเล่นไฟและแสงสว่างตามบ้านเรือน โดยเฉพาะจะมีมากในช่วงปลายฤดูฝน แมลงชนิดนี้จะปล่อยสาร Pederin ออกมาทำลายเนื้อเยื่อผิวหนังของผู้ที่สัมผัสโดน

 โดยความรุนแรงจะขึ้นกับความเข้มข้นของสาร Pederin ที่สัมผัสโดน ซึ่งอาการจะยังไม่เกิดทันทีที่

สัมผัส แต่จะเริ่มเกิดผื่นและอาการแสบ เมื่อผ่านไปประมาณ 24 ชั่วโมง หลังการสัมผัส
 ต่อมาจะเกิดเป็นผื่นแดงขอบเขตชัดเจน หรือรอยไหม้ลักษณะเป็นทางยาว อันเกิดจากการปัดด้วยมือ นอกจากมีการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติมที่บริเวณผื่นเดิม

 ทำให้ผื่นหายช้าลงและอาจลุกลามจนมีโอกาสเกิดแผลเป็นหลังจากผื่นหายแล้วได้ ยังไงก็ระมัดระวังกันให้ดี เพราะมักจะพบเจอได้บ่อยที่ตามบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ก่อนนอนก็อย่าลืมปัดที่หลับที่นอนใด้ดีก่อนเข้านอนกันด้วยนะ เพื่อความปลอดภัยจาก แมลงก้นกระดก แมลงน้ำกรด ภัยร้ายยามหลับ

ลมพิษ..



มลพิษทุกวันนี้มีมากขึ้นทำให้โรคผิวหนังเป็นโรคที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ วันนี้ thai-health.net ขอเสนอโรคลมพิษ เป็นโรคผิวหนังที่มีลักษณะเป็นผื่นนูนแดง ไม่มีขุย มีอาการคัน เมื่อเกาหรือลูบ ผื่นจะยิ่งขึ้นตามมา เกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย ผื่นมักจะเป็นอยู่ไม่นาน โดยมากมักไม่เกิน 24 ชั่วโมง ก็จะยุบไปเอง

ลมพิษ
ลมพิษเป็นปฏิกิริยาตอบสนองของ หลอดเลือดในชั้นหนังแท้ ต่อสิ่งกระตุ้นจากภายนอก และภายในร่างกาย เช่น อาหาร ยา เชื้อโรค และสภาวะทางฟิสิกส์ อาการของผื่นลมพิษเกิดขึ้น เมื่อร่างกายผู้ป่วยได้รับสิ่ง ที่ตัวเองแพ้เข้าสู่ผิวหนัง โดยการรับประทาน สัมผัส หรือโดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ เข้าใต้ผิวหนัง หรือเข้าหลอดเลือด สิ่งกระตุ้นที่ผู้ป่วย จะทำให้หลอดเลือดใต้ผิวหนังขยายตัว สารน้ำในหลอดเลือด จะซึมออกนอกหลอดเลือด เกิดอาการแดง บวม ร้อน คัน บางครั้งอาจมีอาการเจ็บร่วมด้วยได้ ถ้าการขยายตัวของหลอดเลือด เกิดในหนังแท้ส่วนบนๆ อาการบวม แดง ร้อน จะเห็นชัดเจนเรียกลมพิษชนิดตื้น (Urticari) ถ้าการขยายตัวของหลอดเลือด เกิดในส่วนลึกของหนังแท้ อาการแดงมักเห็นไม่ชัดเจน แต่จะพบอาการบวมมากกว่าเรียก ลมพิษชนิดลึก (Angioedem)

ผื่นลมพิษชนิดตื้น เกิดบริเวณใดของผิวหนังก็ได้ มีขนาดตั้งแต่เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 เซนติเมตร จนถึงขนาด 20 เซนติเมตร ผื่นมีหลายรูปแบบเช่น กลม รี วงแหวน วงแหวนหลายๆ วงมาต่อกัน หรือเป็นรูปแผนที่ ผื่นลมพิษชนิดลึก มักเกิดบริเวณรอบตา ปาก ปลายแขน รายที่เป็นรุนแรงจะบวมมาก โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า และลำคอ ซึ่งเป็นเครื่องเตือนว่า ผู้ป่วยอาจเกิดอันตราย จากการอุดตันของทางเดินลมหายใจ ถ้าผู้ป่วยมีอาการแน่น หายใจไม่สะดวก ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพื่อรับการรักษา

ลักษณะอาการของผื่นลมพิษ
มีลักษณะสำคัญ คือ อาการบวม แดงที่ผิวหนังแต่ละตำแหน่ง เป็นอยู่ไม่เกิน 24 ชม. ก็จะยุบไป แต่จะไปเกิดบริเวณอื่นของผิวหนังได้ มี 2 ชนิด คือ

1.ลมพิษชนิดฉับพลัน คือ ผื่นลมพิษที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว บางรายอาจรุนแรง ลมพิษชนิดนี้หายไปภายใน 6 สัปดาห์ แตกต่างจากลมพิษชนิดเรื้อรัง คือ อาการของโรคเพิ่งเกิดขึ้น ผู้ป่วยจึงสามารถบอกถึง ความสัมพันธ์ของผื่นลมพิษกับสาเหตุของโรคได้ โรคติดเชื้อ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส เป็นสาเหตุของลมพิษชนิดฉับพลันที่พบบ่อย อาการผื่นลมพิษ อาจนำหน้าอาการไอเจ็บคอ ท้องเดิน ที่เกิดจากเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย หรือเกิดภายหลังอาการดังกล่าวก็ได้ แต่มักอยู่ในระยะ 2 สัปดาห์ หลังเกิดอาการ และลมพิษชนิดเรื้อรังได้ และที่แตกต่างอีกประการหนึ่ง ของผู้ที่เป็นโรคลมพิษเฉียบพลัน คือ มักพบความสัมพันธ์ชัดเจน กับสารเคมีที่เป็นสาเหตุ เช่น ยา หรืออาหารที่ผู้ป่วยรับประทาน ซึ่งผู้ป่วยมักจะได้สารเคมีนั้นในระยะ 2 สัปดาห์เกิดผื่น

2.ลมพิษชนิดเรื้อรัง คือ ผื่นลมพิษที่เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปไม่รุนแรง ผื่นจะขึ้นๆ ยุบๆ เป็นอยู่นานเกิน 6 สัปดาห์ ส่วนใหญ่หาสาเหตุไม่ได้ ผู้ป่วยจึงมีอาการผื่นลมพิษเป็นๆ หายๆ นานเป็นเดือนหรือเป็นปี

สาเหตุของลมพิษ

1.เกิดจากเชื้อโรค ได้แก่ ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา หรือพยาธิ เป็นสาเหตุของลมพิษที่พบบ่อย เชื้อโรคเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายทางใดก็ได้ เช่น ทางเดินอาหาร ทางเดินลมหายใจ ทางเดินปัสสาวะและผิวหนัง

2.สารเคมี ที่สำคัญคือ อาหารและยา ที่ผู้ป่วยรับประทานอยู่ในช่วง 1-2 สัปดาห์ ก่อนเกิดผื่นลมพิษ ปัจจุบันสารเคมี อาจปนเปื้อนมากับอาหารที่รับประทาน โดยไม่สามารถทราบได้เลย ตัวอย่าง เช่น ยาปฏิชีวนะที่ตกค้างอยู่ในเนื้อไก่ เนื้อปลา ยาฆ่าแมลงที่ปนเปื้อนอยู่ในผัก ผลไม้ เป็นต้น จึงเป็นการยากที่จะจับสาเหตุ ของลมพิษในผู้ป่วยทุกรายได้

3.สภาวะทางฟิสิกส์ เช่น ความร้อน ความเย็น แสงแดด เป็นสาเหตุสำคัญของผื่นลมพิษได้เช่นกัน

การดูแลรักษาผู้ป่วยลมพิษ

•หลีกเลี่ยง หรือกำจัดสาเหตุของผื่นลมพิษ ถ้าสามารถทำได้ ผู้ป่วยจะหายขาดจากโรคลมพิษ วิธีกำจัดสาเหตุของลมพิษให้ปฏิบัติ ดังนี้

1.ควรดื่มน้ำมากๆ เพื่อเป็นการขับสารพิษ ที่เป็นต้นเหตุของผื่นลมพิษออกไปทางไต และควรระวัง ไม่ให้ท้องผูก เพื่อเป็นการกำจัดของเสียออกทางอุจจาระ

2.หลีกเลี่ยงปัจจัยที่เป็นต้นเหตุของลมพิษ ได้แก่ อาหารทะเล อาหารหมักดอง อาหารที่มียากันบูด อาหารกระป๋อง ถั่ว เนื้อสัตว์ เช่น ไก่ หมู เพราะอาจมียาปฏิชีวนะตกค้างอยู่ในเนื้อ นอกจากนี้ ผักผลไม้ที่รับประทานควรแช่น้ำ และล้างให้สะอาด เพื่อกำจัดยาฆ่าแมลง และสารเคมีที่ปนเปื้อนบนผิว หรือเปลือกผลไม้

•กรณีที่ไม่ทราบสาเหตุของผื่นลมพิษ หรือทราบสาเหตุแต่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ให้ผู้ป่วยรับประทานยาแก้แพ้ ได้แก่ ยาต้านฮิสตามีน ซึ่งมีอยู่ 2 กลุ่ม ดังนี้

1.ยาต้านฮิสตามีนชนิดทำให้ง่วงน้อย ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์กดอาการลมพิษได้ดี ทำให้ง่วงนอน แต่ราคาแพง ได้แก่ Astemizole, Loratadine เป็นต้น

2.ยาต้านฮิสตามีนชนิดที่ทำให้ง่วงซึม มีฤทธิ์กดอาการผื่นคันดีมาก ข้อจำกัดของยากลุ่มนี้คือ อาการง่วงนอน ซึ่งพบบ่อยกว่ายากลุ่มแรก ยากลุ่มนี้มีหลายชนิดเช่น Chlorpheniramine, Brompheniramine เป็นต้น

กรณีที่เป็นลมพิษเรื้อรัง หาสาเหตุไม่ได้ ควรรับประทานยาต้านฮิสตามีน เพื่อคุมอาการของลมพิษให้สงบ ติดต่อกันนาน 2-4 สัปดาห์ ขนาดของยาต้านฮิสตามีน ที่จะใช้การคุมอาการลมพิษ จะแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน การรับประทานยาต้านฮิสตามีนในระยะยาว ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ และกรณีที่ผื่นลมพิษรุนแรง รวมกับอาการแน่นหน้าอก ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อให้การรักษาที่ถูกต้องต่อไป


วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ชะอม


ชื่อที่เรียก
ต้นชะอม
ชื่ออื่นๆ
ต้นชะอม
หมวดหมู่ทรัพยากร
พืช
ลักษณะ
ชะอมเป็นไม้พุ่มขนาดย่อม แต่เคยมีพบชะอมในป่า ลักษณะเป็นต้นไม้ใหญ่ วัดเส้นรอบวงของลำต้นได้ 1.2 เมตร ไม้ชะอมที่ปลูกตามบ้าน จะพบในลักษณะไม้พุ่ม และ เจ้าของมักตัดแต่งกิ่ง เพื่อให้ออกยอดไม่สูงเกินไป จะได้ เก็บยอดได้สะดวก ตามลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลม ใบเป็นใบประกอบขนาดเล็ก มีก้านใบแยกเป็นใบอยู่  2 ทาง ลักษณะคล้ายใบกระถินหรือใบส้มป่อย

ประโยชน์
ยาขับลมชั้นดีระดับหนึ่ง แต่ในด้านลบ ผมคุ้นๆ ว่าชะอมจะมีกรดยูลิคอยู่สูง ซึ่งจะมีผลเสียต่อไขข้อกระดูก จนอาจส่งผลเป็นโรคเก๊าได้ในวัยสูงอายุ สำหรับ ดอกแค คุ้นๆ ว่าจะมีประโยชน์กับเม็ดเลือด แต่ที่แน่ๆ คือ กากใยอาหารครับ ดูแลรักษากระเพาะได้เป็นอย่างดี

แหล่งที่พบ
โรงเรียนชลบุรี "สุขบท" หลังอาคาร4
ตำบล
บางทราย
อำเภอ
เมืองชลบุรี
จังหวัด
ชลบุรี
ชื่อสามัญ
ชะอม
ชื่อวิทยาศาสตร์
Acacia Pennata (L.) Willd.Subsp.InsuavisNielsen
ชื่อวงศ์
LEGUMINOSAE
แหล่งที่มาของข้อมูล
http://www.skb.ac.th/~botanical/
ต้นชะอม เป็นไม่พุ่มขนาดย่อม จัดอยู่ในวงศ์ ลำต้นและกิ่งก้านจะมีหนามแหลม ส่วนลักษณะของใบชะอม เป็นใบประกอบสีเขียวขนาดเล็ก มีก้านใบย่อยแตกออกจากแกนกลางใบ มีลักษณะคล้ายกับใบส้มป่อยหรือใบกระถิน ใบอ่อนจะมีกลิ่นฉุน ใบย่อยมีขนาดเล็กออกตรงข้ามกัน คล้ายรูปรีประมาณ 13-28 คู่ ปลายใบแหลมขอบใบเรียบ ใบย่อยจะหุบในเวลาเย็น และแผ่ออกเพื่อรับแสงในช่วงกลางวัน ส่วนดอกชะอม มีขนาดเล็กออกตามซอกใบ มีสีขาวถึงขาวนวล

วิธีการปลูกชะอม ปลูกโดย การปักชำ การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง หรือการโน้มกิ่งลงดิน โดยไม่ต้องต่อตาหรือชำกิ่ง การปลูกผักชะอมส่วนมากจะใช้วิธีการเพาะเมล็ด เพราะจะได้ต้นที่แข็งแรงและทนทานต่อสภาพแวดล้อม มีหนามหนากว่าการปลูกด้วยวิธีอื่น

การปลูกชะอม ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด โดยนำมาเมล็ดชะอมมาใส่ถุงพลาสติก รดน้ำวันละครั้ง เมื่อเมล็ดงอกก็ให้ทำการย้ายลงดิน โดยปลูกห่างหันประมาณ 1 เมตร และให้ปุ๋ยสดหรือมูลสัตว์ในการบำรุงต้น ถ้าปลูกในฤดูร้อนแล้วหมั่นรดน้ำจะเจริญเติบโตได้ดีกว่าการปลูกในฤดูฝน เพราะเมล็ดชะอมมีโอกาสเน่าได้สูง ผักชะอม ปกติแล้วจะไม่ค่อยมีโรคและแมลงศัตรูพืชมารบกวนเท่าไหร่ หากพบก็ใช้ปูนขาวโรยไว้รอบโคนต้น แต่ถ้าเป็นแมลงมีหนอนกินยอดชะอมก็ให้ใช้ยาฆ่าแมลงฉีดทุกๆ 8 วัน การเก็บยอดชะอม ควรเก็บให้เลือกยอดไว้ 3-4 ยอดเพื่อให้ต้นได้โต เพื่อความปลอดภัยควรเก็บหลังจากการฉีดยาฆ่าแมลงแล้วไม่น้อยกว่า 7 วัน และสามารถเก็บเกี่ยวจากต้นที่ปลูกกิ่งตอนได้ 10-15 วัน และตัดยอดขายได้ทุกๆ 2 วัน
ประโยชน์ของชะอม

ประโยชน์ชะอมช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ เนื่องจากมีวิตามินเอสูง
สรรพคุณของชะอม ยอดชะอมช่วยลดความร้อนในร่างกายได้
ผักรสมันอย่างชะอม มีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ
ชะอม สรรพคุณช่วยในการขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูก
รากชะอมนำมาฝนกินช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง และช่วยขับลมในลำไส้
สรรพคุณชะอมมีส่วนช่วยบำรุงเส้นเอ็น
ช่วยแก้อาการลิ้นอักเสบเป็นผื่นแดง
ประโยชน์ของชะอม ช่วยฟื้นฟูผมแห้งเสีย แตกปลาย ด้วยสูตรน้ำชะอมหมักผม เพียงแค่นำใบชะอมประมาณ 1 กำมือมาต้มกับน้ำเปล่า 3 ถ้วย จนได้น้ำชะอมเข้มข้นกรองเอาแต่น้ำ เมื่อสระผมเสร็จให้นำมาผ้าขนหนูมาชุบน้ำชะอมที่เตรียมไว้ บิดพอหมาด นำมาเช็ดผมให้ทั่ว แล้วทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีแล้วล้างออก จะช่วยทำให้ผมแห้งๆ กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง
ชะอม ประโยชน์นำมาทำเป็นเมนูอาหารได้หลากหลายเมนู เมนูชะอม เช่น ไข่ชะอม ไข่ทอดชะอม ชะอมชุบไข่ แกงส้มชะอมกุ้ง แกงส้มชะอมไข่ นำมาลวกหรือนึ่งใช้เป็นผักจิ้มกับน้ำพริก น้ำพริกกะปิ รับประทานร่วมกับส้มตำมะม่วง ตำส้มโอ หรือจะนำไปปรุงเป็นแกงรวมกับปลา เนื้อ ไก่ กบ เขียด หรือต้มเป็นอ่อม ทำแกงลาว แกงแค เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของยอดชะอม 100 กรัม

พลังงาน 57 กิโลแคลอรี่
เส้นใยอาหาร 5.7 กรัม
ธาตุแคลเซียม 58 มิลลิกรัม
ธาตุฟอสฟอรัส 80 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 4.1 มิลลิกรัม
วิตามินเอ 10066 IU
วิตามินบี1 0.05 มิลลิกรัม
วิตามินบี2 0.25 มิลลิกรัม
วิตามินบี3 1.5 มิลลิกรัม
วิตามินซี 58 มิลลิกรัม
โทษของชะอม

สำหรับคุณแม่ที่เพิ่งมีบุตรอ่อน ไม่ควรรับประทานผักชะอม เพราะจะทำให้น้ำนมแม่แห้งได้
ผักชะอม สำหรับคุณแม่ลูกอ่อน จะแพ้กลิ่นของผักชนิดนี้อย่างมาก ดังนั้นควรอยู่ห่างๆ
การรับประทานผักชะอมในหน้าฝน อาจจะมีรสเปรี้ยว กลิ่นฉุน บางครั้งอาจทำให้มีอาการปวดท้องได้ (ปกตินิยมรับประทานผักชะอมหน้าร้อน)
กรดยูริกเป็นตัวการที่ทำให้เกิดข้ออักเสบในผู้ป่วยโรคเกาต์ ซึ่งเกิดมาจากสารพิวรีน (Purine) โดยผักชะอมนั้นก็มีสารพิวรีนในระดับปานกลางถึงระดับสูง ผู้ป่วยโรคเกาต์สามารถรับประทานได้ แต่ควรรับประทานในปริมาณที่จำกัด หากเป็นมากก็ไม่ควรรับประทาน เพราะจะทำให้ปวดกระดูกได้
อาจพบเชื้อก่อโรคอย่าง ซาลโมเนลลา (Salmonella) ซึ่งเป็นเชื้อที่สามารถพบได้ทั่วไปในสภาพแวดล้อม เช่น ดิน น้ำ อากาศ เมื่อเรานำผักชะอมที่ปนเปื้อนสารชนิดนี้มาประกอบอาหารโดยไม่ล้างทำความสะอาดหลายๆครั้ง หรือไม่นำมาปรุงให้สุกก่อนรับประทาน อาจมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อชนิดได้ โดยผู้ที่ได้รับเชื้อชนิดอาจจะมีอาการท้องเสีย ปวดท้อง ถ่ายเหลวเป็นน้ำสีเสียว หรือถ่ายเป็นมูกมีเลือดปน มีไข้ เป็นต้น





แกงจืดตำลึงหมูสับ


“แกงจืดตำลึงหมูสับ”  เป็นเมนูอาหารที่มีคุณประโยชน์มากมาย ปรุงง่ายไม่ยุ่งยาก  ตำลึง มีรสชาติอร่อย เป็นผักที่ไม่มีรสขม รับประทานง่าย  ปลูกได้ไม่ยาก ตำลึงมักถูกเรียกว่า รั้วกินได้ เพราะมักปลูกเป็นรั้วบ้าน แล้วยังสามารถขึ้นได้เองตามธรรมชาติถือเป็นผักริมรั้วที่ปลอดสารพิษ และราคาไม่แพง มีทุกฤดูกาล โดยพาะฤดูฝน
คุณค่าอาหารทางโภชนาการ
        อาหารประเภทนี้ เหมาะกับทุกเพศ ทุกวัย เป็นอย่างยิ่ง ตำลึงเป็นผักข้างรั้วที่ขึ้นง่าย แล้วก็มีให้เราเก็บรับประทานได้ตลอดปี ในสมัยโบราณเราก็จะมีการปลูกตำลึงไว้ที่รั้วบ้าน มีการศึกษาวิจัยถึงประโยชน์ของตำลึงค่อนข้างมาก  การศึกษาวิจัยของสถาบันโภชนาการพบว่าตำลึง เป็นผักที่มีเบต้าแคโรทีนสูง เป็นแหล่งของวิตามินเอที่ดีมาก นั่นหมายถึงว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระขณะเดียวกันสามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ ที่ช่วยในเรื่องของภูมิต้านทาน ช่วยในเรื่องของการมองเห็น  ถ้าขาดวิตามินเอ ร่างกายของเราก็จะอ่อนแอ อาจจะเกิดโรคติดเชื้อค่อนข้างง่าย มีงานวิจัยที่พบว่า ตำลึง เป็นแหล่งของสารฟลาโวนอยด์ที่ดีแล้วก็สามารถช่วยในการป้องกันโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน หรือว่าโรคมะเร็งได้ นอกจากนั้น ยังมีงานวิจัยที่ศึกษาพบว่าตำลึงสามารถช่วยลดน้ำตาล และสถาบันโภชนาการเอง ก็ศึกษาพบว่า ตำลึงมีแคลเซียมค่อนข้างสูง และแคลเซียมที่อยู่ในตำลึง ร่างกายสามารถดูดซึมเอาไปใช้ได้เทียบเท่ากับแคลเซียมที่อยู่ในนม เพราะฉะนั้นในผู้ที่ไม่สามารถดื่มนมได้ เนื่องจากแพ้นม หรือดื่มนมแล้วท้องเสีย ก็หันมารับประทานตำลึงให้มากขึ้น ก็จะช่วยให้ได้รับแคลเซียมไปช่วยในการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง ซึ่งก็เหมาะทั้งเด็กและผู้สูงอายุที่ต้องการแคลเซียมมากกว่าวัยอื่นๆ ดังนั้นหันมากินตำลึงหมูสับกันเถอะ
ข้อมูลคุณค่าโภชนาการโดย...ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมศรี เจริญเกียรติกุล

ส่วนผสม
วิธีทำ
- ใบตำลึง
3
ถ้วยตวง
- หมูสับ
100
กรัม
- ซีอิ๊วขาว
½
ช้อนโต๊ะ
- น้ำซุปกระดูกหมู          
3 ¼
ถ้วยตวง
- รากผักชี
1
ช้อนชา
- พริกไทย
¼
ช้อนชา
- กระเทียม
4
กลีบ
- เกลือ                
½
ช้อนชา
 

1.
โขลกรากผักชี พริกไทย กระเทียม ให้ละเอียดเข้ากัน ตักใส่ถ้วย นำเนื้อหมูสับลงไปคลุก ใส่ซีอิ๊วเล็กน้อย  คลุกเคล้าให้เข้ากัน หมักทิ้งไว้ ประมาณ 5 – 10 นาที
2.
นำน้ำซุปใส่ในหม้อแกง ตั้งไฟให้เดือด นำหมูที่หมักไว้ปั้นเป็นก้อน ใส่ลงในหม้อ รอสักครู่ให้หมูสุกปรุงรสโดยใส่เกลือ
3.
ใส่ตำลึงที่เตรียมไว้ลงไป ตั้งจนไฟเดือดต่ออีกสัก 4 – 5 นาที ยกลง ตักใส่ชามเสิร์ฟ
 จาก....โครงการเผยแพร่และอนุรักษ์อาหารไทยผ่านเว็บไซต์สถาบันโภชนาการ

ตำลึง


อที่เรียก
ตำลึง
ชื่ออื่นๆ
-
หมวดหมู่ทรัพยากร
พืช
ลักษณะ
 ชื่อ : ตำลึง
    ชื่อสามัญ : Ivy Gourd

    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coccinia grandis Voigt.

    วงศ์ : CUCURBITACEAE

ประโยชน์ของตำลึง

 ว่าด้วยการกินผักนั้น ย่อมเป็นเรื่องดีอยู่แล้ว ไม่ว่าใบอ่อนหรือแก่ ตำลึงที่ว่าดีนั้นก็เพราะทั้งปลูกง่ายแลให้สารอาหารที่มีคุณค่ายิ่งกับร่างกาย ตอนนี้ใครต่อใครเขาก็นิยมเบต้า-แคโรทีน ที่สามารถป้องกันมะเร็งกัน ตำลึงของเราก็มีสารตัวนี้แบบไม่น้อยหน้าใคร แถมยังมีแคลเซียมในปริมาณสูง ธาตุเหล็กและฟอสฟอรัสอยู่อีกไม่น้อย



การปลูกและดูแล



   ตำลึงขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด แต่ถ้าเป็นดินร่วนซุยก็จะทำให้การเจริญเติบโตดี ชอบแสงแดดตั้งแต่รำไรไปจนถึงแดดแรง แต่หากจะปลูกตำลึงในที่ที่แดดค่อนข้างจัดก็ควรให้น้ำมากหน่อย ตำลึงขยายพันธุ์ได้ด้วยการเพาะเมล็ดและปักชำ แต่อยากสบายก็อาจไปขุดเอาต้นเล็กที่ขึ้นอยู่ใกล้เถาแก่มาลงปลูกในแปลงของเราก็ง่ายดี

          ผักดีๆ แบบนี้หาไม่ได้ง่าย ๆ แบบที่ปลูกแล้วก็ปลูกเลย ในหน้าฝนก็โตเร็วจนแทบไม่ต้องให้ปุ๋ย หรือบางทีก็แทบไม่ต้องรดน้ำ ไม่มีโรค หรือแมลงรบกวน อยากให้เป็นระเบียบก็ทำค้าง หรือวัสดุยึดเกาะไว้ให้สักหน่อย เท่านี้ตำลึงของเราก็เติบโตงอกรากขยายเถาให้เราเก็บกินสบาย ๆ

          ตำลึงจึงเป็นเสมือนผักฝึกหัดสำหรับมือใหม่ที่ยังไม่คุ้นกับพลั่ว หรือเสียม หรือดินสีดำ ๆ เมื่อไรที่ได้เด็ดตำลึงที่ข้างรั้วของคุณเองมากินได้ เมื่อนั้นก็เป็นกำลังใจให้เหล่ามือใหม่หัดปลูกทั้งหลายได้มีมานะปลูกผักอื่น ๆ ต่อไป
คุณค่าทางอาหารของตำลึง

ยอดของตำลึงใช้ปรุงอาหาร ตำลึง 100 กรัม ประกอบไปด้วยโปรตีน 3.3 กรัม วิตามินบี1 0.17 มิลลิกรัม แคลเซียม 126 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม ไนอาซีน 1.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม ใยอาหาร 2.2 กรัม และเบต้าแคโรทีนสูงถึง 699.88 ไมโครกรัม มากกว่าฟักทองและมันเทศซึ่งมีเบต้าแคโรทีน 225 และ 175 ไมโครกรัมตามลำดับ ต่อปริมาณ 100 กรัมเหมือนกัน

ประโยชน์ของตำลึง

ใบดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ตัวร้อน ดับพิษฝี แก้ปวดแสบปวดร้อน แก้คัน ดอก แก้คัน เมล็ด ตำผสมน้ำมันมะพร้าวทาแก้หิด เถา ใช้น้ำจากเถาหยดตา แก้ตาฟาง ตาแดง ตาช้ำ ตาแฉะ พิษอักเสบในตา ดับพิษ แก้อักเสบ ชงกับน้ำดื่มแก้วิงเวียนศีรษะ ราก ดับพิษทั้งปวง แก้ตาฝ้า ลดไข้ แก้อาเจียน น้ำยาง ต้น ใบ ราก แก้โรคเบาหวาน หัว ดับพิษทั้งปวง

สรรพคุณของตำลึง

รักษาโรคเบาหวาน : ใช้เถาแก่ ๆ ประมาณ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ หรือน้ำคั้นจากผลดิบ ดื่มวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น จะสามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้

ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ : ควรรับประทานสด ๆ เพราะเอนไซม์ในตำลึงจะย่อยสลายง่ายเมื่อโดนความร้อน

ลดอาการคัน อาการอักเสบเนื่องจากแมลงกัดต่อยและพืชมีพิษ : นำใบตำลึงสด 2-20 ใบ ตำให้ละเอียดผสมกับน้ำ คั้นเอาน้ำ ทาบริเวณที่เป็นจนกว่าจะหาย (ใช้ได้ดี สำหรับหมดคันไฟ หรือใบตำแย)

แผลอักเสบ : ใช้ใบหรือรากสด ตำพอกบริเวณที่เป็น

แก้งูสวัด, เริม : ใช้ใบสด 2 กำมือ ล้างให้สะอาด ผสมพิมเสนหรือดินสอพอง 1 ใน 4 ส่วน พอกหรือทาบริเวณที่เกิดอาการ

แก้ตาช้ำตาแดง : ตัดเถาเป็นท่อนยาวประมาณ 2 นิ้วนำมาคลึงพอช้ำ แล้วเป่า จะเกิดฟองใช้หยอดตา

ทำให้ใบหน้าเต่งตึง : นำยอดตำลึง 1/2 ถ้วย น้ำผึ้งแท้ 1/2 ถ้วย นำมาผสม ปั่นให้ละเอียด พอกหน้า ทิ้งไว้ 20 นาที แล้วล้างออก ทำทุกวันได้จะดีมาก

- ใบใช้ในการแก้ไข้ ตัวร้อน ตาแดง ตาเจ็บ
- เถานำน้ำต้มจากเถาตำลึงมาหยอดตาแก้ตาแดง ตาฟาง
- ดอกตำลึงช่วยทำให้หายจากอาการคันได้
- รากใช้แก้อาการอาเจียน ตาฝ้า
- น้ำยางจากต้นและใบช่วยลดน้ำตาลในเลือด