วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ถุงมือแพทย์...กับอุตสาหกรรมยางพาพร

                                         ถุงมือแพทย์

ทราบกันดีว่าในตลาดยางนั้น ร้อยละ 80 ใช้ในการผลิตยางรถยนต์ ดังนั้นการเติบโตของตลาดยางจึงขึ้นอยู่กับการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งเฉลี่ย 3-4 ต่อปี
สำหรับตลาดถุงมือยาง มีเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับความต้องการยางในอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยไทยมีส่วนแบ่งในตลาดถุงมือยางในตลาดโลกร้อยละ 10 หรือคิดเป็นมูลค่าการส่งออกเฉลี่ย 4,000 ล้านบาทต่อปี ในขณะที่ตลาดถุงมือยางในประเทศมีมูลค่าประมาณ 10 ล้านบาทเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ผู้ผลิตถุงมือยางยังคงเน้นตลาดส่งออกมากกว่า
เมื่อราวๆ 20 ปีก่อน ประเทศไทยได้เริ่มมีการ ผลิตถุงมือยาง ก่อนหน้านั้นเราต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ ในช่วงนั้นคุณภาพของถุงมือยางยังไม่เป็นที่ยอมรับ ต่อมาได้รับการส่งเสริมการ จากรัฐบาล จึงมีผู้ประกอบการจากต่างประเทศเข้ามาลงทุน และได้นำเอา Know How และเทคโนโลยีในการผลิตเข้ามาด้วย
นับแต่นั้น (ราวๆ 20 ปีก่อน) เราจึงสามารถส่งออกถุงมือยางไปจำหน่ายยังต่างประเทศได้ ในปัจจุบัน ผู้ผลิตถุงมือยางร่วมกันก่อตั้งสมาคมผู้ผลิตถุงมือยาง ในปีเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรองทางการค้าระหว่างประเทศในกลุ่มตลาดผู้ส่งออกถุงมือยางรายใหญ่ ตลอดจนเป็นการช่วยเหลือทางด้านวัตถุดิบ เทคโนโลยี และข่าวสารการตลาดต่างๆ เพื่อการขยายตลาดส่งออกอย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุดิบสำคัญในการทำถุงมือยางคือน้ำยางข้น และสารเคมีบางชนิด เช่น สารประกอบโปแตสเซียม สารประกอบจำพวกไฮด๊อกไซด์ โปแตสเซียมคลอเลต กำมะถัน และซิงค์อ๊อกไซด์ เป็นต้น
ประเทศไทยแม้ว่าจะเป็นแหล่งผลิตยางธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่เราก็เป็นผู้ผลิตถุงมือยางรายใหญ่เช่นกัน
การทำถุงมือยาง เราจะจุ่มแบบพิมพ์ที่ประกอบจากเซรามิค จุ่มลงในสารละลายที่ช่วยให้น้ำยางจับตัวก่อน เมื่อยกพิมพ์ขึ้น ฟิล์มที่จับตัวบริเวณผิงแม่พิมพ์จากแห้ง และนำไปอบในตู้อบ นาน 30 นาที ที่อุณหภูมิ 120 องศาเซลเซียส