ฮอร์โมนออกซิน
ออกซิน (Auxin) คือฮอร์โมนที่พืชสร้างขึ้นบริเวณปลายรากและปลายยอด ทำหน้าที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของยอดแต่ยับยั้งการเจริญเติบโตของราก
ออกซินเป็นฮอร์โมนพืชชนิดแรกๆที่มนุษย์ค้นพบโดยในปี ค.ศ. 1880 ชาร์ล ดาวิน(Charles Darwin) สังเกตว่ายอดอ่อนของหญ้าคานารี(Canary grass) มักจะโค้งเข้าหาแสงเสมอ เขาจึงทำการทดลองและพบว่า หากส่วนของยอดอ่อนถูกเด็ดออกไป ลำต้นจะไม่โค้งเข้าหาแสง ซึ้งในทางตรงกันข้าม หากยอดอ่อนของพืชยังอยู่ ลำต้นมักจะโค้งเข้าหาแสงเสมอ ดาวิน จึงสรุปว่า ส่วนปลายของยอดอ่อน สามารถควบคุมให้ส่วนลำต้นโค้งเขาหาแสง หลังจากนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงค้นพบว่ามีสารชนิดหนึ่ง ถูกลำเลียงมาจากส่วนของปลายยอดอ่อนซึ้งส่งผลต่อการเจริญเติบโต รวมถึงการโค้งเข้าหาแสงของพืช และเรียกสารนั้นว่า ออกซิน (Auxin)ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า (auxein) แปลว่าการเติบโต
นอกเหนือจากการที่ออกซินจะมีผลต่อยอด และ รากของพืชแล้ว ออกซินยังส่งผลต่อการแตกกิ่งก้านด้านข้างของพืชโดยออกซินจะยับยั้งการแตกกิ่งก้านด้านข้าง แต่หากตัดปลายยอดออก ออกซินก็จะถูกสร้างขึ้น ส่งผลให้พืชสามารถแตกกิ่งก้านทางด้านข้างได้
มนุษย์จึงนำสารที่ค้นพบนี้มาใช้ประโยชน์ในหลายด้าน เช่น
1.การขยายพันธ์พืช โดยการชุบกิ่งปักชำ กิ่งตอน
2.กระตุ้นการออกดอก หรือเติบโตของผล
3.ใช้กำจัดวัชพืชได้ถ้ามีสารออกซินในปริมาณสูง
ไซโตไคนิน
ไซโตไคนิน (Cytokinin) เป็นกลุ่มของสารควบคุมการเจริญเติบโตที่เป็นอนุพันธ์ของอะดีนีนโดยมีโซ่ข้างมาเชื่อมต่อกับเบสที่ตำแหน่ง N6 ไซโตไคนินแบ่งได้เป็นสองชนิดตามชนิดของโซ่ข้างคือ ไอโซพรีนอยด์ ไซโตไคนิน (Isoprenoid cytokinin) มีโซ่ข้างเป็นสารกลุ่มไอโซพรีน กับ อะโรมาติก ไซโตไคนิน (Aromatic cytokinin) มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการขยายตัวและการเปลี่ยนแปลงของเซลล์พืช นอกจากนั้นยังควบคุมกระบวนการที่สำคัญต่างๆในการเจริญและพัฒนาการของพืชการออกฤทธิ์ทางสรีรวิทยาที่สำคัญของไซโตไคนินได้แก่[1]
- ควบคุมการแบ่งเซลล์หรือวัฏจักรของเซลล์ เป็นหน้าที่หลักของไซโตไคนิน * ควบคุมการเกิดรูปร่าง อัตราส่วนของไซโตไคนินต่อออกซินจะมีผลต่อการพัฒนาของแคลลัส โดยแคลลัสที่ได้รับอัตราส่วนของไซโตไคนินต่อออกซินต่ำ (ออกซินมากกว่าไซโตไคนิน) จะเกิดราก แคลลัสที่ได้รับอัตราส่วนของไซโตไคนินต่อออกซินสูง (ไซโตไคนินมากกว่าออกซิน) จะเกิดตายอด[2]
- สนับสนุนการขยายตัวของเซลล์ ที่เกี่ยวข้องกับการดูดน้ำเข้าไปภายในเซลล์ เพราะไม่ทำให้น้ำหนักแห้งเพิ่มขึ้น [3]
- สนับสนุนการพัฒนาและการแตกตาข้าง ไซโตไคนินสามารถกระตุ้นให้ตาข้างที่ถูกยับยั้งด้วยตายอดเจริญออกมาได้ [4]
- การชลอการชรา ความชราของพืชเกิดจากกระบวนการแก่ตัวของเซลล์ มีการสูญเสียคลอโรฟิลล์ RNA โปรตีน และไขมัน ไซโตไคนินช่วยให้พืชหลายชนิด เช่น หน่อไม้ฝรั่ง ต้นหอม คงความเขียวสดอยู่ได้นาน
- การเกิดปม ปมที่เกิดในพืชเป็นเนื้อเยื่อที่ไม่มีการกำหนดพัฒนาและมีลักษณะคล้ายเนื้องอก เกิดจากเชื้อ Agrobacterium tumefaciens [5]
- ทำให้เกิดสีเขียว สนับสนุนการเกิดคลอโรฟิลล์และการเปลี่ยนอีทิโอพลาสต์ไปเป็นคลอโรพลาสต์
- ไซโตไคนินจากปลายรากมีผลต่อการเจริญของลำต้นและราก การตัดรากออกไปจะทำให้การเจริญเติบโตของลำต้นหยุดชะงัก
- การเพิ่มไซโตไคนินจากภายนอกลดขนาดของเนื้อเยื่อเจริญที่ปลายรากลงโดยไม่กระทบต่ออัตราการขยายตัวของเซลล์ภายในเนื้อเยื่อเจริญ แต่ไซโตไคนินปริมาณมากจะมีความจำเป็นในการรักษากิจกรรมของเนื้อเยื่อเจริญที่ปลายยอด[6]
- กระตุ้นการออกดอกของพืชวันสั้นบางชนิด เช่นในแหนเป็ด ไซโตไคนินกระตุ้นให้พืชสร้างสารฟลอริเจน (Florigen) ซึ่งชักนำให้พืชออกดอกได้ ไซโตไคนินยังช่วยให้เกิดดอกตัวเมียมากขึ้น [7]
- ทำลายระยะพักตัวของพืช ของเมล็ดพืชหลายชนิดได้ เช่น ผักกาดหอม [8]