วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

น้ำยางข้น


                                                     น้ำยางข้น
น้ำยางข้น (Concentrated latex) : หมายถึงน้ำยางธรรมชาติที่ผ่านกระบวนการเพิ่มความเข้มข้น โดยน้ำยางธรรมชาติที่ผ่านกระบวนการเพิ่มความเข้มข้นแล้วจะมีปริมาณเนื้อยางประมาณร้อยละ 55-65 ซึ่งสูงกว่าน้ำยางสดที่มีปริมาณเนื้อยางประมาณร้อยละ 25-30 ทำให้สามารถทำการขนส่งได้ง่ายขึ้นเป็นอย่างมาก
 กระบวนการเตรียมน้ำยางข้นจากน้ำยางสด
  • การทำครีม (Creaming method) : การทำน้ำยางข้นโดยวิธีการทำครีม เป็นวิธีที่อาศัยหลักการที่อนุภาคของเม็ดยางเบากว่าน้ำ เป็นไปตามกฎของ Stokes การทำน้ำยางข้นโดยวิธีการทำครีม ไม่ค่อยนิยมกันมากนัก เนื่องจากต้องใช้เวลานานในการเตรียมสารและใช้เวลาทำค่อนข้างนาน สารทำครีมได้แก่ gum bragacarth, sodium aginate, tragon seed gum, ammonium aginate, locust bean gum และ pectin สมบัติของสารทำครีม คือ เป็นคอลลอยด์ที่ชอบน้ำ และจะพองตัวเมื่อใส่ในน้ำมัน ขั้นตอนการทำครีม ค่อนข้างง่าย คือ
    • ใส่สารทำครีม ปริมาณ 0.3% ในส่วนของน้ำ สงในน้ำยางสดที่เก็บรักษาโดยแอมโมเนีย
    • กวนให้สารทำครีมละลาย ตั้งทิ้งไว้ 24-40 ชั่วโมง
    • กรองเอาชั้นน้ำออกจากของผสม
    • ปรับปริมาณเนื้อยางและความเข้มข้นของแอมโมเนียภายหลัง
ความเข้มข้นของเนื้อยางจะสูงประมาณ 55% ในช่วงระยะเวลา 18 ชั่วโมง ในการทำน้ำยางข้นโดยวิธีการทำครีม หากต้องการเนื้อยางสูงถึง 60% ต้องตั้งทิ้งไว้อย่างน้อย 4-5 วัน
  • การเซนตริฟิวส์ (Centifuge method)                                                               
  •                                                                               วิธีการผลิตยางน้ำข้นของไทย
    รวบรวมโดย charit  phomkum
               น้ำยางสด (Latex) ที่ได้จากการกรีด (Tapping) ต้นยางออกมาใหม่ๆ จะอยู่ในสภาพที่เรียกว่า Colloids ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่สำคัญดังนี้
    ส่วนที่เป็นน้ำ (Watery)      ส่วนนี้ทำหน้าที่เป็นตัวกลาง (Medium) ของ (Colliods) มีอยู่ประมาณ 60% ของน้ำยางบริสุทธิ์ มีความถ่วงจำเพาะ (S.gr)1
    ส่วนที่เป็นของแข็งแต่ไม่ใช่ยาง (Non-rubber solid)     ประกอบด้วย Protein , Lipids , Carbohydrate และ Inorganic salts มีอยู่ทั้งสิ้นประมาณ 5% โดยน้ำหนักของน้ำยาง มีทั้งที่อยู่ในรูปสารละลายและสารแขวนลอยองค์ประกอบเหล่านี้ทำให้ส่วนที่เป็นน้ำกลายเป็นน้ำที่ไม่บริสุทธิ์น้ำยางที่รวมเอาส่วนนี้เข้าไปด้วยเรียกว่า Serum มีความถ่วงจำเพาะประมาณ 1.02
    ส่วนที่เป็นยาง (Rubber Hydrocarbon) เป็นส่วนที่มนุษย์เรานำไปใช้ประโยชน์ พวกยางแผ่น ยางแท่ง ยางเครพ หรือยางทุกรูปแบบที่ซื้อขายกันอยู่ในตลาดได้ไปจากส่วนนี้ทั้งสิ้น น้ำยางที่ยังสดอยู่ส่วนนี้จะอยู่กันเป็นเม็ดๆ เรียกว่า อนุภาคยาง (Rubber Particles) ซึ่งแขวนลอย (Suspended) อยู่ในส่วนที่เป็นของเหลว (Serum) และมีประจุไฟฟ้าเป็นลบ (Negative Charges) อนุภาคยางมีความถ่วงจำเพาะ 0.92 ซึ่งเบากว่าส่วนที่เป็นตัวกลางซึ่งมี ถ.พ. 1.02 แต่ที่อนุภาคยางไม่ลอยฟ่องอยู่บนผิวของตัวกลางก็เพราะว่า แรงผลักดันซึ่งกันและกันอันเนื่องมาจากการมีประจุดไฟฟ้าที่เหมือนกันทำให้อนุภาคยางเคลื่อนที่ไปมาแบบไร้ทิศ (Brownian Movement) อยู่เสมอ อนุภาคยางจะอยุดการเคลื่อนที่เมื่อประจุไฟฟ้ารวมของน้ำยางเป็นศูนย์ (Isoelectric Point) จากนั้นก็จะจับตัวกันเป็นก้อนลอยฟ่องบนผิดของ Serum การทำยางแผ่น ยางแท่ง หรือยางเครพ ที่เราเติมกรดลงไปก็เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวนี้ ในทางตรงกันข้ามเวลาถนอมน้ำยาง เราจะเติม Ammonia ลงไปก็เพื่อให้ประจุลบที่เกิดจาก (OH) ไปคลอบอนุภาคยางเอาไว้ เพื่อทำหน้าที่เป็นด่านป้องกันประจะบวก (Positive Charges) ใดๆ ที่จะเข้าไปทำให้ประจุลบบนอนุภาคยางเป็นศูนย์นั่นเอง
               ส่วนที่เป็นยางนี้มีอยู่ในน้ำยางในปริมาณไม่แน่นอน มีตั้งแต่ 22% จนถึง 48% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ อายุ ระบบกรีด และฤดูกาล ดังนั้นในการซื้อจากน้ำหนักหรือปริมาณของน้ำยางโดยตรงได้ จะต้องใช้น้ำหนักของส่วนที่เป็นยางเรียนว่า DRC หรือ Dry Rubber Content แต่เพียงอย่างเดียว แต่โดยทั่วไปแล้วน้ำยางสดจะมีส่วนเป็นยาง หรือ DRC เฉลี่ยประมาณ 35%
              ดังได้กล่าวมาแล้ว น้ำยางสดซึ่งมี DRC 35% ก็สามารถเก็บไว้ใช้ประโยชน์ได้ เพียงแต่เติม Ammonia เพื่อป้องกันไม่ให้อนุภาคยางจับตัวกันก็ใช้ได้ แต่การทำเช่นนี้ไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ เพราะน้ำยางมีน้ำมากเกินไป ดังนั้นจึงมีการทำให้ส่วนที่เป็นน้ำพร่องออกเสียก่อน แล้วค่อยเติมสารกันบูด (Preservative) เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำยางจับตัวภายหลัง น้ำยางที่ได้นี้จึงเรียกกันว่า "น้ำยางข้น" (Concentrated Latex) จากวิทยาศาสตร์เบื้องต้นของน้ำยางที่กล่าวมาจะเห็นว่า มีแนวทางทำน้ำยางสดให้เป็นน้ำยางข้นอย่างง่ายๆ ได้ 3 วิธี
        1.              การให้ความร้อนเพื่อให้ส่วนที่.   เป็นน้ำระเหยออกไปเรียกว่า (Evaporation Method)น้ำยางข้นที่ได้เรียก Evaporation Latex                                                                                                                                                           
          2.              การเติมสารบางอย่าง (Creaming Agents) ลง    ไปเพื่อทำให้อนุภาคยางโตขึ้นและหยุดการเคลื่อนที่เรียกว่า (Creaming Method) และน้ำยางที่ได้เรียก Creamed Latex                                                                                                   .     3.               การแยกเอาส่วนที่ไม่ใช่ยางซึ่งมีทั้งส่วนที่เป็นน้ำและส่วนที่เป็นของแข็ง (Non-Rubber solid) ออกจากส่วนที่เป็นยางโดยใช้แรงเหวี่ยง (Centrifuging Force) น้ำยางที่ได้เรียก Centrifuged Latex วิธีนี้นิยมกันมากเพราะทำได้เร็วและน้ำยางข้นที่ได้มีความบริสุทธิ์สูงขึ้นด้วย ประเทศไทยเราผลิตน้ำยางข้นโดยใช้วิธีนี้กันหมดทั้ง
ประเทศ

.การแยกตัวของน้ำยางเมื่อถูกปั่น
   หากเข้าใจลักษณะของการแยกตัวขององค์ประกอบของน้ำยางสดเวลาถูกปั่นด้วยเครื่อง Centrifuging Machine แล้ว จะสามารถประมาณการ การใช้น้ำยางสดและน้ำยางข้นที่ได้อย่างถูกต้องน้ำยางสดเมื่อนำมาปั่น องค์ประกอบต่างๆ จะแยกตัวออกเป็น น้ำยางข้น (Concentrate Latex) และหางน้ำยาง (Skim Latex) ดังนี้
ตาราง : การแยกตัวขององค์ประกอบของน้ำยางสด เมื่อถูกปั่น
องค์ประกอบ
น้ำยางสด
(Fleld Latex)
100 gm
น้ำยางข้น
(concentrated Latex)
50 gm
หางน้ำยาง
(Skim Latex)
50 gm
DRC
32.5 gm
30 gm 60%
2.5 gm 5.0%
TSC
36.0 gm
30.75 gm 61.50%
5.25 gm 10.50%
TSC-DRC
3.5 gm
0.75 gm 1.5%
2.75 gm 5.50%
VFA No
0.10
0.060
0.040
Mg++
200 ppm on Latex
120 ppm
80 ppm
Serum
64 gm
19.25 gm 38.50%
44.75 gm 89.50%
รวม
100 gm
50 gm 100%
50 gm 100 %
  

1 ความคิดเห็น:

  1. อือ.. อ่านเข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อนเป็นภาษาเคมีเกินไป ดีครับ

    ตอบลบ