วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การปลูกสับประรด

                                                               การเตรียมดิน    
              เนื่องจากสับปะรดเป็นพืชหลายฤดูกว่าจะรื้อแปลงปลูกใหม่กินเวลานานถึง 4-5 ปี  ซึ่งจะเก็บผลได้ถึง 3 ครั้ง แต่การเก็บผลในรุ่นที่ 3  มักจะลดลงอย่างมากถ้าหากมีการปฏิบัติดูแลรักษาไม่เพียงพอ  จึงนิยมเก็บผลเพียง  
2 ครั้ง  ก็รื้อแปลงเพื่อปลูกใหม่  
                ดังนั้นการเตรียมดินต้องเตรียมอย่างดี  การปรับระดับให้เรียบเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะจะทำให้ไม่มีน้ำท่วมขัง การไถดินให้ลึกจะช่วยให้การระบายน้ำและอากาศในดินเป็นไปอย่างสะดวก  เป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติทุกครั้งที่รื้อแปลงเพื่อปลูกใหม่  
                การเตรียมดินสำหรับการปลูกสับปะรดนั้น  หากเป็นที่เปิดใหม่มักใช้รถไถดันรากไม้ใหญ่ ๆ  ให้โผล่ขึ้นมาแล้วจุดไฟเผา  ต่อจากนั้นไถดินให้ลึก 20-30 เซนติเมตร  ไถพรวนอีก 2-3 ครั้ง  จนซากต้นไม้ใบหญ้ากลายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ปล่อยทิ้งเอาไว้ระยะหนึ่ง เพื่อให้เศษซากพืชเน่าสลายในดิน  แล้วปรับระดับให้เรียบเสมอ  แล้วจึงไถดินให้ลึกถึงระดับ 40-50 เซนติเมตร  เป็นการเปิดหน้าดินให้ลึกเพื่อระบายน้ำและอากาศ  
หากดินเป็นแปลงสับปะรดเก่า ใช้รถแทรกเตอร์ลากพรวน จานไถกลับไปมาจนต้นและใบแหลกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยไถกลบเศษต้นและใบสับปะรดนั้นลงในดินปล่อยเอาไว้สัก ระยะหนึ่งเพื่อให้เน่าเปื่อยเป็นอินทรีย์วัตถุและเป็นการปรับโครงสร้างของ ดินให้ดีขึ้น  แล้วจึงไถดินให้ลึก 40-50 เซนติเมตร และใช้พรวนจานไถอีกครั้งเมื่อใกล้ระยะเวลาที่จะปลูก 
                                                            การเตรียมหน่อพันธุ์ก่อนปลูก   
                                                                                                  - การคัดขนาดหน่อหรือจุกก่อนปลูก   
               ถือว่าจำเป็นอย่างยิ่งในการปลูกสับปะรดควรจะมีการคัดขนาดแบ่งเป็นกลุ่มอย่างชัดเจน และมีขนาดเท่า ๆ กัน และปลูกเป็นแปลง ๆ หรือชุด ๆ ไป  จะทำให้การเติบโตของต้นสม่ำเสมอกันทั้งแปลง  ใส่ปุ๋ยแต่ละต้นได้พร้อมกันและใส่ปริมาณต่อต้นเท่า ๆ กัน  บังคับผลได้พร้อมกันทั้งแปลง  ง่ายต่อการบำรุงรักษา  สับปะรดแก่พร้อมกันง่ายต่อการประเมินผลผลิตและเก็บเกี่ยว 
                                                                    หน่อ  
          ขนาด                  น้ำหนัก (กรัม)         ความยาว-สูง (ซม.)    
          เล็ก    300-50030-50
         กลาง    500-70050-75 เป็นขนาดที่เหมาะสมที่สุด
         ใหญ่    700-90065-85
      ใหญ่มากมากกว่า 900มากกว่า 70
                                                                    
                                                                     จุก  
            ขนาดนํ้าหนัก (กรัม)
             เล็ก100-200
            กลาง200-300 เป็นขนาดที่เหมาสมที่สุด
            ใหญ่300-400
           ใหญ่มากมากกว่า 400
                        การชุบหน่อหรือจุกด้วยสารเคมีก่อนปลูก   
        เป็นการลดอัตราการสูญเสียของต้น  อันเนื่องมาจากโรคยอดเน่าหรือต้นเน่า  ทั้งเป็นการประหยัดแรงงานและเวลาในการปลูกหน่อซ่อมแซมใหม่อีกด้วย  การชุบหน่ออาจทำได้โดยเครื่องจักรอัตโนมัติ  แต่เกษตรกรโดยทั่ว ๆ ไปอาจใช้ถัง 200 ลิตร  แล้วผ่าครึ่งถัง หรือสร้างบ่อซิเมนต์ขนาดย่อม ๆ  ใช้เป็นที่ชุบหน่อก็จะสะดวกยิ่งขึ้น 
สำหรับสารเคมีกันเชื้อรา และอัตราที่ใช้โดยเลือกใช้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง    มีดังนี้ 
1.  แคปตาโฟล  เช่น  ไดโฟลาแทน 80%  อัตรา 60-120   กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ 86 กรัมต่อน้ำ 8.6 ลิตร  ชุบได้ 1,000 หน่อ 
2.  ฟอสเอธิล อลูมินั่ม  เช่น  อาลีเอท อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร 
3.  เมตาแลกซิล  เช่น  ริโดมิล อัตรา 30-45 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร 
ถ้าพบเพลี้ยแป้งมากับหน่อพันธุ์ควรผสมสารฆ่าแมลง มาลาไธออน อัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ลงไปในสารชุบหน่อพันธุ์ด้วยโดยจุ่มหน่อพันธุ์ให้ชุ่มก่อนปลูก  จุ่มนานประมาณ 3 นาที และถ้าปลูกไปแล้ว  หากมีฝนตกชุก  ควรใช้สารเคมีดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่งฉีดซ้ำอีกทั่วทั้งแปลง  ในกรณีปลูกซ่อมหรือปลูกปริมาณน้อย  การชุบหน่อพันธุ์อาจจะสิ้นเปลือง  ใช้วิธีหยอดยอดก็ได้  โดยใช้อาลีเอท 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร  ใช้หยอดยอดละ 50 ซีซี  หรือเต็มยอด  ให้ทำทันทีหลังจากปลูกสำเร็จสามารถป้องกันโรคได้นานประมาณ 4 เดือ
                           การควบคุมและกำจัดวัชพืช   
ในปัจจุบันนิยมใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชมากกว่าใช้แรงคน  เพราะประหยัดและรวดเร็วกว่า  หากทำการควบคุมวัชพืชได้ดี  สามารถเพิ่มผลผลิตได้มากกว่าเดิมถึง 1 ใน 4 เท่าตัว  การใช้แรงงานคนกำจัดวัชพืชโดยถากด้วยจอบ  ต้องทำไม่ต่ำกว่า 8 ครั้งต่อ 1 ฤดูปลูก  การใช้จอบจะรบกวนระบบรากของสับปะรดทำให้การเจริญเติบโตของต้นและคุณภาพของผลผลิตต่ำกว่า ใช้สารเคมี สารเคมีกำจัดวัชพืชที่นิยมใช้ในแปลงสับปะรด ได้แก่  ไดยูรอน  เช่น  ไดยูเร็กซ์    โวร็อกซ์   คารอน  เป็นต้น  ซึ่งเป็นสารเคมีคุมวัชพืชใบกว้างได้ผลดี  ใช้ฉีดพ่นก่อนวัชพืชจะงอก และโบรมาซิล  เช่น  ไลก้าร์-เอ็กซ์  ซึ่งเป็นสารเคมีฆ่าวัชพืชใบแคบได้ผลดีใช้ฉีดพ่นในแปลงสับปะรด  เมื่อมีวัชพืชงอกขึ้นมาแล้วหรือจะใช้ทั้ง 2 ชนิดผสมกันโดยใช้โบรมาซิล 363 กรัม และไดยูรอน 363 กรัม  ผสมน้ำฉีดพ่นในเนื้อที่ 1 ไร่  ฉีดทันทีหลังจากปลูกสับปะรดหากหญ้าสูงอาจต้องเพิ่มปริมาณยาเพิ่มขึ้น  จึงไม่ควรปล่อยไว้นาน  แล้ว  สามารถควบคุมวัชพืชทั้งชนิดใบแคบและใบกว้างอื่น ๆ ได้นานถึง 4 เดือน  
ในแปลงสับปะรดที่ปลูกแซมในสวนยางพารา หรือสวนไม้ผลอื่น ๆ  ไม่แนะนำให้ใช้โบรมาซิล  เพราะถ้าใช้ซ้ำซาก จะเกิดการสะสมในดินโดยสารเคมีจะจับตัวกับเม็ดดิน  เมื่อน้ำพัดพาไปจะเกิดอันตรายกับพืชอื่น ๆ ได้  ให้ใช้อะทราซิน  เช่น  เอเทรก90 หรืออะมีทริน80   ผสมกับไดยูรอน แทน
การใช้สารเคมีกำจัด วัชพืช  ควรผสมสารจับใบลงไปประมาณ 0.1-0.3% โดยริมาตร  จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น  อาจพ่นซ้ำอีก 1 ครั้ง  เมื่อพบว่าวัชพืชงอกขึ้นมา  โดยพ่นหมดทั้งแปลง หรือเฉพาะจุดก็ได้  
ข้อควรระวัง ภายหลังจากการใช้สารเคมีเร่งดอกสับปะรดแล้วห้ามใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชจนกว่าจะเก็บผลเสร็จสิ้น

                          ธาตุอาหารที่จำเป็นและการใช้ปุ๋ยเคมีในสับปะรด  
           สับปะรดเป็นพืชที่ต้องการธาตุไนโตรเจน และโพแทสเซียมสูง  ถ้าขาดไนโตรเจนจะเริ่มแสดงอาการที่ ใบอ่อนจะมีสีเขียวจาง ๆ  แต่ใบแก่ยังคงมีสีเขียวเข้ม  ต่อมาใบที่งอกใหม่จะมีขอบสีแดง  แต่บัวใบสีเหลืองซีดถึงช่วงนี้แล้วต้องรีบแก้ไขโดยให้ปุ๋ยทันที มิฉะนั้นจะทำให้ผลผลิตลดลงมาก หน่อและตะเกียงจะไม่เกิดเลย  ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตเป็นแหล่งไนโตรเจน  ที่หาได้ง่ายและราคาไม่แพงนัก
             ถ้าขาดโพแทสเซียม  ปลายใบจะไหม้  จะมีจุดไหม้ที่ใบแก่  ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและเหี่ยวแห้งไป  ผลมีขนาดเล็กสุกช้า และมีปริมาณกรดในเนื้อสับปะรดน้อยมาก  ธาตุโพแทสเซียมนี้ได้จากปุ๋ยโพแทสเซียมซัลเฟตเป็นส่วนใหญ่   ความต้องการธาตุฟอสฟอรัสในสับปะรด  นับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับธาตุอาหารหลักทั้งสอง  เพราะส่วนใหญ่ในดินมีฟอสฟอรัสเพียงพออยู่แล้ว  แต่ถ้าในดินขาดธาตุฟอสฟอรัสแล้วจะทำให้ต้นไม่แข็งแรง  หน่อและตะเกียบจะลดจำนวนลงมาก  
              อาการขาดธาตุเหล็ก  เริ่มจากใบอ่อนมีสีซีดคล้ายขาดไนโตรเจนและมีรอยแต้มสีแดงขึ้นทั่วไป  มีสีน้ำตาลที่ปลายรากและไม่มีรากแขนงให้เห็น  ผลจะแก่เร็วขึ้น  แต่มีกรดในเนื้อต่ำ  การแก้ไขอาการขาดธาตุเหล็กนั้นโดยการใช้เหล็กซัลเฟตฉีดพ่นในอัตรา 1-3 ในบริเวณที่มีแมงกานีสสูงหรือในดินที่มีระดับความเป็นกรด-ด่างที่สูงกว่า 5.8  จะพบอาการขาดธาตุเหล็กอยู่เสมอในดินทรายที่มีอินทรียวัตถุต่ำจะพบอาการขาดธาตุทองแดง และสังกะสีอาการปรากฏคือที่ยอดของใบอ่อน จะบิด เบี้ยวใบจะแคบ และมีสีเหลืองอ่อนความ ทนทานของผล ต่อแสงแดดจะลดลง  ทำให้ผิวเปลือกไหม้เกรียมเป็นหย่อม ๆ  แก้ไขโดยใช้สังกะสีซัลเฟตและทองแดงซัลเฟตในรูปสารละลายฉีดพ่นให้ทั่วทั้งต้นและใบ   ปุ๋ยที่จะใส่ให้สับปะรดนับเป็นปัจจัยสำคัญในการควบคุมความเป็นกรด-ด่างของดิน  การใช้ปุ๋ยเคมีในรูปแคลเซียมจะมีส่วนเพิ่มความเป็นด่าง  ในขณะเดียวกันการใช้ปุ๋ยเคมีที่อยู่ในรูปซัลเฟตจะเพิ่มความเป็นกรดในดิน  การให้ปุ๋ยสับปะรดนั้นผู้ปลูกแต่ละรายก็ใช้ปุ๋ยแตกต่างกันไป  เนื่องจากสภาพดิน และปัจจัยอื่น ๆ  ส่วนใหญ่จะใช้ปุ๋ย 3-4 ครั้งต่อรุ่น  ปุ๋ยที่ใช้มากคือ ปุ๋ยไนโตรเจนและปุ๋ยผสมสูตรต่าง ๆ  เช่น  12-4-18+ธาตุอาหารเสริม  
                 ปุ๋ยสำหรับสับปะรด  กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำการใส่ปุ๋ยดังนี้ คือ  
                                                             สับปะรดรุ่นแรก  
             ครั้งที่ 1  ก่อนปลูกใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอก ตันผสมปุ๋ยหินฟอสเฟตสูตร 0-3-0 อัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่   โรยเป็นแถวหลังไถแปรตามแนวร่องปลูกเพื่อปรับปรุงดินสำหรับกระตุ้นการออกราก  
            ครั้งที่2 หลังปลูก1-2 เดือนหรือระยะเริ่มออกรากใส่ปุ๋ยสูตรที่มีสัดส่วนไนโตรเจนสูง  เช่น  สูตร 21-0-0 หรือ 16-20-0 อัตรา 7-10 กรัมต่อต้น  ใส่ดินโคนต้นฝังหรือกลบปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกในขณะดินมีความชื้นเพียงพอ  
             ครั้งที่ 3  หลังปลูก 4-6 เดือน  ใส่ปุ๋ยครบสูตรที่มีสัดส่วนโพแทสเซียมสูง 3:1:4  เช่นสูตร 12-4-18+ธาตุอาหารเสริม, 15-5-20, 13-13-21 หรือสูตรใกล้เคียง  ซึ่งไนโตรเจนไม่ควรเกิน 15%  ป้องกันสารไนเตรทตกค้างอัตรา 10 กรัมต่อต้น  ใส่บริเวณกาบใบล่างในขณะกาบใบมีน้ำเพียงพอที่จะละลายปุ๋ย  
              ครั้งที่4  ก่อนบังคับผล1-2 เดือน  ให้ธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมได้แก่ แคลเซียม โบรอน โดยฉีดพ่นเข้าทางใบ  
             ครั้งที่ 5  หลังบังคับผลประมาณ เดือน  ใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ (0-0-60) หรือโพแทสเซียมซัลเฟต (0-0-50) อัตรา 7-10 กรัมต่อต้น  ใส่บริเวณกาบใบล่างในขณะกาบใบมีน้ำเพียงพอที่จะละลายปุ๋ย  
                                                 สับปะรดที่ไว้หน่อ(หลังเก็บผลรุ่นแรก)  
หลังจากเก็บเกี่ยวประมาณ 1 เดือน  ใส่ปุ๋ยสูตร 21-0-0 หรือ 16-20-0 บริเวณกาบใบล่างอัตรา 10กรัมต่อต้น  เพื่อบำรุงต้นตอและเร่งหน่อ  
ระยะดูแลรักษาต้นตอจนถึงระยะบังคับผล และระยะเก็บเกี่ยวใส่สูตรและอัตราเดียวกับต้นรุ่นแรก (ครั้งที่ 3-5)  ถ้ามีฝนให้ใส่ที่กาบใบหน้าแล้งอาจใช้วิธีฉีดพ่นทางใบ  
                                   การใช้สารเคมีเร่งการออกดอกในสับปะรด  
                     
เนื่องจากสับปะรดมีอายุการออกดอกค่อนข้างช้า และไม่สม่ำเสมอซึ่งมีผลไปถึงการเก็บผลด้วย  แต่ในบรรดาพืชมีดอกทั้งหลาย  สับปะรดนับว่าเป็นพืชที่ใช้สารเคมีเร่งให้ออกดอกก่อนกำหนดได้ง่าย  
สารเคมีที่ใช้เร่งดอกสับปะรด ที่นิยมใช้กันมากได้แก่  
1. เอทธิฟอน   
เป็นสารเคมีที่ให้ก๊าซเอทธิลินโดยตรง  เมื่อเอทธิฟอนเข้าไปในเนื้อเยื่อสับปะรด  จะแตกตัวปล่อยเอทธิลินออกมา  เอทธิลินเป็นตัวชักนำให้เกิดการสร้างตาดอกขึ้น  ซึ่งจะทำให้เก็บผลได้ก่อนกำหนดประมาณ2เดือน  
เอทธิฟอน  มีชื่อการค้าหลายชื่อ  แต่ที่นิยมคือ อีเทรล (39.5% เอทธิฟอน) อีทีฟอน 48%  อีเกอร์ 48 %    โดยใช้ในอัตรา 8 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร(หรือ 2 ลิตรต่อน้ำ 1000   ลิตรเติมโบรอนลงไป 1 กิโลกรัมสำหรับชนิดผงหรือ 500 ซีซี สำหรับชนิดน้ำ) และเติมปุ๋ยยูเรียอีก 300 กรัม(46-0-0  10 กิโลกรัม สำหรับน้ำ 1000  ลิตร )  ผสมให้เข้ากันดีแล้วใช้หยอดยอดหรือฉีดพ่น ต้นละ 70-80 ซีซี หยอด 2 ครั้ง ห่างกัน 5-7 วัน  สารนี้เมื่อผสมน้ำแล้วต้องใช้ทันทีอย่างช้าไม่เกิน 2 ชั่วโมง  มิฉะนั้นสารเคมีจะลดประสิทธิภาพลงเวลาที่เหมาะสมในการหยอด คือ ตอนเช้ามืด และต้นสับปะรดต้องมีลักษณะพร้อมที่จะออกดอก  หากฝนตกมาภายใน ชั่วโมงหลังการใช้สารนี้ให้ทำซ้ำอีกครั้ง ให้เร็วเท่าที่จะทำได้  
ปริมาณการใช้เอทธิฟอนจะมากหรือน้อย  ขึ้นอยู่กับฤดูกาลและขนาดต้นสับปะรด  ถ้าต้นสมบูรณ์มากให้ใช้ปริมาณมากขึ้นหรือหากจำเป็นต้องหยอดยอดในตอนกลางคืนช่วงที่มีอากาศร้อนอบอ้าว  ให้ใช้ปริมาณมากขึ้นอีกเท่าตัว  

  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น