วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

ฮอร์โมนเพศชาย


                             การให้ฮอร์โมนเพศชายทดแทน article


                      ภาวะขาดฮอร์โมนเพศชายเริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นสำหรับชายสูงอายุ เพราะมีผลทั้งร่างกาย จิตใจและสุขภาพทางเพศรักษาโดยการให้ฮอร์โมนทดแทนเพื่อคงระดับฮอร์โมนให้อยู่ในระดับปกติ จะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของบุคคลนั้นๆ ให้ดียิ่งขึ้น
ผลดีของการให้ฮอร์โมนเพศชายทดแทน
  • ทำให้กระดูกมีความหนาแน่นขึ้น ป้องกันภาวะกระดูกพรุน
  • มวลกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น
  • ลดไขมันส่วนเกิน ( ลงพุง )
  • ความจำและอารมณ์ดีขึ้น ลดอาการซึมเศร้า
  • ความรู้สึกและความต้องการทางเพศดีขึ้น
          ผลข้างเคียงต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย :: ก่อนได้รับฮอร์โมนเพศชายเสริม แพทย์จะซักประวัติ ตรวจร่างกายโดยทั่วไป รวมถึงตรวจความเข้มข้นของเลือด ระดับไขมันในเลือด การทำงานของตับ และต่อมลูกหมาก
          ผลต่อความเข้มข้นของเลือด :: การให้ฮอร์โมนเพศชายทดแทนในระยะยาว จะเพิ่มระดับความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงทำให้หัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้น ซึ่งไม่ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ สามารถป้องกันได้โดยการตรวจเลือดเป็นประจำ ถ้าระดับความเข้มข้นของเลือดสูงขึ้น  ก็ควรได้รับการลดขนาดฮอร์โมนลงหรือบริจาคโลหิต
           ผลต่อระบบไขมันในเลือด :: ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มากขึ้นที่แสดงให้เห็นว่า ฮอร์โมนเพศชายช่วยลดระดับไขมันที่ไม่ดี ( LDL - Cholesterol ) และเพิ่มระดับไขมันที่ดี ( HDL - Cholesterol ) ส่งผลให้ลดการเกิดอุดตันของหลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจและลดการเกิดการอุดตันของหลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจและลดการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ การให้ฮอร์โมนเพศชาย เสริมจึงมีความปลอดภัยต่อไขมัน
           ผลต่อตับ :: ขณะนี้มีฮอร์โมนเพศชายชื่อ เทสทอสเตโรน อันเดคาโนแอท ( Testosterone Undecanoate ) เป็นฮอร์โมนชนิดรับประทานที่ถูกดูดซึมผ่านระบบน้ำเหลืองโดยไม่ผ่านตับ จึงไม่เป็นพิษต่อตับ ความปลอดภัยจึงมีสูง ส่วนฮอร์โมนเพศชายชนิดอื่นๆ เช่น ชนิดฉีด ยังต้องคำนึงถึงผลข้าเคียงต่อตับ ต้องตรวจระดับการทำงานของตับอย่างสม่ำเสมอ
           ผลต่อต่อมลูกหมาก :: ต่อมลูกหมากโตเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้ชายสูงวัยสุภาพบุรุษบางท่านเมื่อได้ยินคำว่า " ฮอร์โมน " ก็จะกลัวว่าอาจทำให้เกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก จากการศึกษาพบว่าการใช้ฮอร์โมนเพศชายเสริมไม่ก่อให้เกิดโรคต่อมลูกหมากโตหรือมะเร็งต่อมลกหมาก แต่ถ้าหากมีโรคทั้งสองนี้อยู่แล้วการให้ฮอร์โมนเพศชายเสริมจะทำให้จะทำให้โรคเป็นมากขึ้นสามารถเปรียบเทียบฮอร์โมนเพศชายเหมือนออกซิเจน และโรคต่อมลูกหมากเหมือนไฟไหม้ กล่าวคือ ออกซิเจนทำให้ไฟไหม้ลุกลามมากขึ้น แต่มิได้เป็นต้นเหตุของไฟไหม้
สิ่งสำคัญก่อนการได้รับฮอร์โมนเพศชายเสริม คือ การตรวจต่อมลูกหมากโดยใช้นิ้วผ่านทางทวารหนัก การตรวจระดับค่า PSA ( Prostate specific Antigen ) ในเลือดหากต้องการความแม่นยำมากขึ้น สามารถทำการตรวจอัลตราซาวด์ต่อมลูกหมากทางทวารหนักและนำชิ้นเนื้อมาตรวจได้ถ้าผลการตรวจเป็นปกติ การใช้ฮอร์โมนเพศชายเสริมถือได้ว่ามีความปลอดภัยสูง และควรมีการตรวจร่างกายและตรวจเลือดเป็นประจำในระหว่างที่กินฮอร์โมนโดยอยู่ในความดูแลของ
แพทย์อย่างใกล้ชิด


ทำไมฮอร์โมนเพศชายจึงลดลง ? article
                    เมื่ออายุมากขึ้นระดับฮอร์โมนในเพศชายจะลดลงอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป การลดลงของฮอร์โมนมิได้ลดลงเท่ากันในชายที่มีอายุเดียวกัน ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน การลดลงของฮอร์โมนนี้จะเริ่มเห็นได้ชัดเจนเมื่อมีอายุโดยประมาณ 50 ปีขึ้นไป โดยเฉลี่ยลดลงปีละ 1% สาเหตุของการลดลงของฮอร์โมนเพศชายเกิดจาก ::
  • มีการลดลงของเนื้อเยือในอัณฑะที่ใช้สร้างฮอร์โมนเพศชาย
  • มีการลดลงของฮอร์โมนจากสมองและต่อมใต้สมองที่ทำหน้าที่กระตุ้นอัณฑะให้สร้างฮอร์โมนเพศชาย
  • มีการเพิ่มขึ้นของโปรตีนที่จับกับฮอร์โมนเพศชายทำให้ปริมาณฮอร์โมนที่ออกฤทธิ์มีลดลง
  • สาเหตุที่กล่าวมานี้เป็นไปเองตามธรรมชาติของอายุที่มากขึ้น การดูแลสุขภาพกายใจให้ดี ก็มิอาจหลีกเลี่ยงภาวะลดลงของฮอร์โมนได้  แต่จะช่วยชะลอหรือยืดเวลาการลดลงให้นานขึ้น

คุณเข้าสู่ภาวะขาดฮอร์โมนเพศชายหรือยัง? article
แบบสอบถามทั้ง 10 คำถามนี้ คุณสามารถทำได้ด้วยตัวเอง เพื่อเป็นแนวทางให้ทราบว่า คุณมีโอกาสอยู่ในภาวะขาดฮอร์โมนเพศชายได้หรือไม่ ตอบคำถามแต่ละข้อโดยตอบว่า ใช่ หรือ ไม่ใช่
1.             คุณมีความต้องการทางเพศลดลงหรือไม่?
2.             คุณเคยรู้สึกเหนื่อยง่าย ไม่มีเรี่ยวแรงไม่กระปรี้กระเปร่าเหมือนร่างกายขาดพลังงานหรือไม่?
3.             คุณเคยรู้สึกว่าความแข็งแรงและความมีพละกำลังลดลงไปหรือไม่?
4.             ความสูงของคุณลดลงหรือไม่? (ภาวะกระดูกเสื่อม)
5.             คุณรู้สึกว่าความสุข ความสนุกสนานในชีวิตลดน้อยลงหรือถอยห่างออกไปหรือไม่?
6.             คุณรู้สึกเศร้า หดหู่ เหงาหงอยหรือไม่?
7.             คุณรู้สึกว่าช่วงเวลาปฏิบัติกิจกรรมทางเพศการแข็งตัวของอวัยวะเพศลดลงหรือไม่?
8.             คุณนอนหลับง่าย คล้ายคนหมดแรงหรือไม่?
9.             คุณเคยรูสึกว่าความสามารถในการเล่นกีฬาลดลงหรือไม่?
10.      ความสามารถในการทำงานของคุณลดลงหรือไม่?
ถ้าคุณตอบว่าใช่ในข้อ 1 หรือข้อ 7 เพียงข้อเดียวหรือตอบว่าใช่ในข้ออื่นๆ รวม 3 ข้อ แสดงว่าคุณอาจอยู่ในภาวะขาดฮอร์โมนในเพศชาย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น