วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ตำลึง


อที่เรียก
ตำลึง
ชื่ออื่นๆ
-
หมวดหมู่ทรัพยากร
พืช
ลักษณะ
 ชื่อ : ตำลึง
    ชื่อสามัญ : Ivy Gourd

    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coccinia grandis Voigt.

    วงศ์ : CUCURBITACEAE

ประโยชน์ของตำลึง

 ว่าด้วยการกินผักนั้น ย่อมเป็นเรื่องดีอยู่แล้ว ไม่ว่าใบอ่อนหรือแก่ ตำลึงที่ว่าดีนั้นก็เพราะทั้งปลูกง่ายแลให้สารอาหารที่มีคุณค่ายิ่งกับร่างกาย ตอนนี้ใครต่อใครเขาก็นิยมเบต้า-แคโรทีน ที่สามารถป้องกันมะเร็งกัน ตำลึงของเราก็มีสารตัวนี้แบบไม่น้อยหน้าใคร แถมยังมีแคลเซียมในปริมาณสูง ธาตุเหล็กและฟอสฟอรัสอยู่อีกไม่น้อย



การปลูกและดูแล



   ตำลึงขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด แต่ถ้าเป็นดินร่วนซุยก็จะทำให้การเจริญเติบโตดี ชอบแสงแดดตั้งแต่รำไรไปจนถึงแดดแรง แต่หากจะปลูกตำลึงในที่ที่แดดค่อนข้างจัดก็ควรให้น้ำมากหน่อย ตำลึงขยายพันธุ์ได้ด้วยการเพาะเมล็ดและปักชำ แต่อยากสบายก็อาจไปขุดเอาต้นเล็กที่ขึ้นอยู่ใกล้เถาแก่มาลงปลูกในแปลงของเราก็ง่ายดี

          ผักดีๆ แบบนี้หาไม่ได้ง่าย ๆ แบบที่ปลูกแล้วก็ปลูกเลย ในหน้าฝนก็โตเร็วจนแทบไม่ต้องให้ปุ๋ย หรือบางทีก็แทบไม่ต้องรดน้ำ ไม่มีโรค หรือแมลงรบกวน อยากให้เป็นระเบียบก็ทำค้าง หรือวัสดุยึดเกาะไว้ให้สักหน่อย เท่านี้ตำลึงของเราก็เติบโตงอกรากขยายเถาให้เราเก็บกินสบาย ๆ

          ตำลึงจึงเป็นเสมือนผักฝึกหัดสำหรับมือใหม่ที่ยังไม่คุ้นกับพลั่ว หรือเสียม หรือดินสีดำ ๆ เมื่อไรที่ได้เด็ดตำลึงที่ข้างรั้วของคุณเองมากินได้ เมื่อนั้นก็เป็นกำลังใจให้เหล่ามือใหม่หัดปลูกทั้งหลายได้มีมานะปลูกผักอื่น ๆ ต่อไป
คุณค่าทางอาหารของตำลึง

ยอดของตำลึงใช้ปรุงอาหาร ตำลึง 100 กรัม ประกอบไปด้วยโปรตีน 3.3 กรัม วิตามินบี1 0.17 มิลลิกรัม แคลเซียม 126 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม ไนอาซีน 1.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม ใยอาหาร 2.2 กรัม และเบต้าแคโรทีนสูงถึง 699.88 ไมโครกรัม มากกว่าฟักทองและมันเทศซึ่งมีเบต้าแคโรทีน 225 และ 175 ไมโครกรัมตามลำดับ ต่อปริมาณ 100 กรัมเหมือนกัน

ประโยชน์ของตำลึง

ใบดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ตัวร้อน ดับพิษฝี แก้ปวดแสบปวดร้อน แก้คัน ดอก แก้คัน เมล็ด ตำผสมน้ำมันมะพร้าวทาแก้หิด เถา ใช้น้ำจากเถาหยดตา แก้ตาฟาง ตาแดง ตาช้ำ ตาแฉะ พิษอักเสบในตา ดับพิษ แก้อักเสบ ชงกับน้ำดื่มแก้วิงเวียนศีรษะ ราก ดับพิษทั้งปวง แก้ตาฝ้า ลดไข้ แก้อาเจียน น้ำยาง ต้น ใบ ราก แก้โรคเบาหวาน หัว ดับพิษทั้งปวง

สรรพคุณของตำลึง

รักษาโรคเบาหวาน : ใช้เถาแก่ ๆ ประมาณ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ หรือน้ำคั้นจากผลดิบ ดื่มวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น จะสามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้

ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ : ควรรับประทานสด ๆ เพราะเอนไซม์ในตำลึงจะย่อยสลายง่ายเมื่อโดนความร้อน

ลดอาการคัน อาการอักเสบเนื่องจากแมลงกัดต่อยและพืชมีพิษ : นำใบตำลึงสด 2-20 ใบ ตำให้ละเอียดผสมกับน้ำ คั้นเอาน้ำ ทาบริเวณที่เป็นจนกว่าจะหาย (ใช้ได้ดี สำหรับหมดคันไฟ หรือใบตำแย)

แผลอักเสบ : ใช้ใบหรือรากสด ตำพอกบริเวณที่เป็น

แก้งูสวัด, เริม : ใช้ใบสด 2 กำมือ ล้างให้สะอาด ผสมพิมเสนหรือดินสอพอง 1 ใน 4 ส่วน พอกหรือทาบริเวณที่เกิดอาการ

แก้ตาช้ำตาแดง : ตัดเถาเป็นท่อนยาวประมาณ 2 นิ้วนำมาคลึงพอช้ำ แล้วเป่า จะเกิดฟองใช้หยอดตา

ทำให้ใบหน้าเต่งตึง : นำยอดตำลึง 1/2 ถ้วย น้ำผึ้งแท้ 1/2 ถ้วย นำมาผสม ปั่นให้ละเอียด พอกหน้า ทิ้งไว้ 20 นาที แล้วล้างออก ทำทุกวันได้จะดีมาก

- ใบใช้ในการแก้ไข้ ตัวร้อน ตาแดง ตาเจ็บ
- เถานำน้ำต้มจากเถาตำลึงมาหยอดตาแก้ตาแดง ตาฟาง
- ดอกตำลึงช่วยทำให้หายจากอาการคันได้
- รากใช้แก้อาการอาเจียน ตาฝ้า
- น้ำยางจากต้นและใบช่วยลดน้ำตาลในเลือด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น