วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การทำยางแผ่น


การทำยางแผ่นรมควัน

          เนื่องจากเจ้าของสวนยางในประเทศไทยเกือบทุกสวนยังคงทำยางแบบเก่า  คือ ยางแผ่นรมควันกันอยู่  และคงจะต้องทำเช่นนี้ต่อไป จนกว่ารัฐหรือเอกชนจะสร้างโรงงานผลิตยางแท่งทั่วทุกท้องที่ที่มีการปลูกยาง  ความสำคัญของการทำยางทุกชนิด ขึ้นอยู่กับความสะอาดเป็นสำคัญ  ถ้าสะอาดมากก็ถือว่าเป็นยางชั้นดีมาก และขายได้ราคาสูง  ฉะนั้น ในการทำยางแต่ละขั้น  จะต้องระมัดระวังให้สะอาดที่สุด ต่อไปนี้จะได้กล่าวถึง  วิธีทำยางแผ่นรมควันเป็นขั้น ๆ  นับตั้งแต่ได้น้ำยางมาจากสวน
ขั้นที่ ๑ 
          น้ำยางที่ได้มาจากสวนจะต้องกรองให้สะอาดเสียก่อน การกรองครั้งแรกให้กรองด้วยตะแกรงลวด  (ที่ไม่เป็นสนิมหรือทองเหลือง) ขนาด  ๔๐  ตา หรือ  รู/นิ้ว เพื่อกรองเอาผงหยาบ ๆ  เช่น เศษเปลือก  ผง ผงจากใบไม้หรือดินทราย ฯลฯ ออกชั้นหนึ่งก่อน เมื่อกรองเอาผงหยาบ ๆ  ออกแล้ว  จะต้องเติมน้ำประมาณ ๑ เท่า เพื่อให้น้ำยางใส การเติมน้ำควรใช้เครื่องวัดความเข้มข้นของน้ำยาง ให้น้ำยางสม่ำเสมอกันทุกครั้ง เพื่อให้น้ำยางในปริมาตรเดียวกัน มีเนื้อยางเท่า ๆ  กัน   การทำแผ่นจะได้บางและมีน้ำหนักเท่ากัน เมื่อนำเข้ารมในโรงรมควันจะได้สุกพร้อมกัน  เมื่อเติมน้ำจนมีความเข้มข้นตามต้องการแล้ว โดยปกติจะเติมให้มีเนื้อยางผสมอยู่ในน้ำเพียงร้อยละ ๑๕ (น้ำยางที่ได้มาจากต้นมีเนื้อยางแห้งประมาณร้อยละ ๓๐-๓๕ ของน้ำยางทั้งหมด) แล้วจึงกรองด้วยตะแกรงกรองชนิดละเอียดขนาด ๖๐ รู/นิ้ว เทรวมลงไปในถังรวมน้ำยาง  เพื่อให้น้ำยางทุก ๆ  ต้นผสมเป็นเนื้อเดียวกัน   ถังรวมน้ำยางดังกล่าวนี้ มีความสำคัญในการที่จะทำยางชั้นดีอยู่มาก ถ้าเป็นสวนยางขนาดใหญ่  จะมีถังอะลูมิเนียมรวมน้ำยางขนาดจุ ๓,๐๐๐-๔,๐๐๐  ลิตร  หรืออาจทำถังหรืออ่างซีเมนต์บรรจุ โดยไม่จำกัดจำนวนก็ได้ เมื่อเอาน้ำยางที่กรองผสมกันหมดแล้ว ปล่อยให้น้ำยางตกตะกอนประมาณ ๒๐ - ๓๐ นาที แล้วจึงเอาน้ำยางตอนบน ๆ  ไปใช้ทำแผ่นต่อไป ส่วนน้ำยางตอนล่างซึ่งมีเป็นจำนวนน้อยมาก  อาจจะมีผงเล็ก ๆ  ตกตะกอนอยู่บ้าง  จะแยกเอาไปใช้ทำเป็นยางแผ่นชั้นต่ำ เพราะเป็นยางที่มีความสะอาดน้อยกว่า



ขั้นที่ ๒ 
          ถ้าเป็นสวนขนาดเล็กจะนำน้ำยางที่กรอง และผสมน้ำแล้ว  ตวงใส่ตะกงเดี่ยว ซึ่งทำด้วยอะลูมิเนียม หรือสังกะสี       ขนาดกว้างยาวสูงประมาณ  ๔๕ x ๒๖ x   เซนติเมตร  บรรจุน้ำยางได้ประมาณ ๖-๗  ลิตร  ทำยางได้หนักแผ่นละ  ๗๐๐-๘๐๐ กรัม  ถ้าเป็นสวนขนาดใหญ่ จะใช้ตะกงขนาดใหญ่  มีแผ่นกั้นเป็นช่อง ๆ  ซึ่งเรียกว่า  ตะกงตับ ก็ได้  ทำยางได้ตะกงละ ๑๕๐ แผ่น 
ขั้นที่ ๓ 

          การทำให้ยางจับตัวเป็นก้อน โดยค่อย ๆ  ผสมน้ำกรดฟอร์มิกกับน้ำให้เจือจางเพียง  ๑%  หรือ  ๒% เทลงไปในน้ำยางตามอัตราส่วน ถ้าจะให้ยางแข็งตัวจับเป็นก้อนในวันรุ่งขึ้น  จะใช้กรดเพียง  ๔ ซีซี / เนื้อยางแห้ง ๑,๐๐๐ กรัมหรือ    กิโลกรัม ถ้าจะให้ยางแข็งตัวภายใน ๑-๒ ชั่วโมง ก็ให้ใช้กรดฟอร์มิกมากขึ้น เป็น ๘-๑๐ ซีซี / ยางแห้ง ๑,๐๐๐ กรัม ซึ่งเท่ากับเป็นการใช้กรดฟอร์มิกประมาณ  ๑% ของน้ำหนักเนื้อยางแห้ง การใส่กรดลงไปในน้ำยางต้องค่อย ๆ  ใส่ลงไปทีละน้อย แล้วรีบคนให้ทั่ว เพื่อไม่ให้น้ำยางตรงที่ถูกกรดจับตัวเป็นก้อนในทันทีทันใด เมื่อใส่น้ำกรดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ตักฟองเอาออก และระวังไม่ให้ฝุ่น ผงหรือสิ่งสกปรกตกลงไป
          น้ำกรดที่ทำให้ยางจับตัวเป็นก้อนมิใช่มีแต่กรดฟอร์มิกแต่อย่างเดียว กรดน้ำส้มหรือกรดอะเซติกก็ใช้ได้ดี ถ้าใช้กรดน้ำส้มจะต้องใช้เพิ่มขึ้นประมาณเกือบเท่าตัวของกรดฟอร์มิก กรดกำมะถันก็ใช้ได้และราคาก็ถูกกว่า แต่การใช้ค่อนข้างยาก ต้องใช้การคำนวณให้แน่นอน ถ้าใช้มากไปน้อยไปทำให้ยางเสียได้ง่าย  ขณะนี้ปรากฏว่า ยางเสียหายมาก ทั้งนี้เพราะน้ำกรดที่ขายในตลาดไม่ทราบว่ากรดอะไรแน่นอน จึงไม่แนะนำให้ใช้กรดกำมะถันและกรดชนิดอื่น ๆ 

ขั้นที่ ๔ 
          เมื่อยางในตะกงจับตัวเป็นก้อนดีแล้ว  ตัวก้อนยางจะจับตัวเป็นแผ่นลอยอยู่เหนือน้ำ และน้ำที่อยู่รอบ ๆ  ยางจะใส (ถ้าน้ำขุ่นอยู่แสดงว่า ยังจับตัวกันไม่เรียบร้อย)  ให้เอาน้ำสะอาดราดลงบนยางเพื่อไล่ฝุ่นละอองออก แล้วนำตะกงยางคว่ำลงบนโต๊ะที่ล้างสะอาดดีแล้วมาทีละแผ่น ใช้ไม้ลูกกลิ้งหรือขวดเบียร์ค่อย ๆ กลิ้งและกดให้แบนจนตลอดแผ่น เพื่อไล่น้ำออกตรงปลายที่จะนำเข้าเครื่อง (คือทางด้านกว้าง) ทำให้แบนมาก ๆ  จะได้ส่งเข้าเครื่องรีดได้สะดวก
          เครื่องรีดยางหรือเครื่องทำแผ่นยางที่กล่าวนี้  คล้าย ๆ กับเครื่องรีดปลาหมึก  แต่ใหญ่กว่ามากใช้มือหมุน มีลูกกลิ้ง ๑ คู่ ยาวประมาณ ๕๐-๖๐ เซนติเมตร (๒๐ - ๒๔ นิ้ว) เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑๐ เซน ติเมตร (๔ นิ้ว)  มีที่ขันให้ลูกกลิ้งทั้งสองเบียดกันหรือห่างกันได้ เครื่องรีดยางชุดหนึ่งอย่างน้อยจะต้องมี ๒ เครื่อง คือ เครื่องรีดเกลี้ยง ๑ เครื่อง และเครื่องรีดดอกอีก    เครื่อง  ที่ลูกกลิ้งทั้ง ๒ อันของเครื่องรีดดอกนั้น มีร่องเป็นเกลียวรอบตัวและเต็มลูกกลิ้ง  แต่ละร่องมีขนาดกว้างประมาณ ๓ มิลลิเมตร วนเอียงประมาณ ๔๕ องศา ขนานกันทุกร่อง จากปลายข้างหนึ่งไปยังปลายอีกข้างหนึ่ง
          ยางที่แข็งตัวและนวดให้ส่วนน้ำออกไปบ้างแล้ว  จะนำเข้าเครื่อง  รีดเกลี้ยง ๒ - ๓  ครั้ง จนแผ่นยางบางประมาณ ๒-๓  มิลลิเมตร จึงนำเข้าเครื่องรีดดอก  ยางแผ่นจะปรากฏเป็นร่องเล็ก ๆ  เฉียงพาดไปทั่วแผ่น ทั้งนี้ เพื่อทำให้เกิดเนื้อที่มากขึ้นกว่าแผ่นเลี่ยน ๆ  ซึ่งจะสามารถรับความร้อนและควันได้มาก จนทำให้ยางสุกทั่วแผ่นเร็วขึ้น
          ส่วนสวนยางขนาดใหญ่ จะไม่ใช้เครื่องรีดด้วยมือ  ดังกล่าวนี้ เพราะทำได้ช้า จะใช้เครื่องรีดยางอัตโนมัติ  เครื่องรีดยางชนิดนี้จะมีลูกกลิ้ง ๔ หรือ ๕ คู่เรียงเกือบชิดกัน คู่สุดท้ายจะเป็นลูกกลิ้งดอก เครื่องหนึ่งจะทำยางแผ่นได้ชั่วโมงละ ๗๐๐-๘๐๐  แผ่นขึ้นไป
          ยางที่รีดเป็นแผ่นเสร็จแล้ว จะนำไปแช่น้ำ อาจจะเป็นในอ่างใหญ่หรือบ่อซีเมนต์ที่มีน้ำไหลผ่านเข้าและออกได้ตลอดเวลา เพื่อไล่น้ำกรดและสิ่งสกปรก หรือ  คราบน้ำมันของเครื่องรีดดอกให้หมดแช่ไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง 
ขั้นที่ ๕ 
          เมื่อแช่ยางล้างน้ำกรดออกเสร็จแล้ว  นำยางไปผึ่งบนราวไม้ไผ่หรือลวดเพื่อให้แห้ง  เมื่อแห้งหรือน้ำหยุดหยดจากยางแล้ว  นำเข้ารมในโรงรมต่อไป  ในทางปฏิบัติ เจ้าของสวนยางขนาดเล็กมักจะขายยางแผ่นที่แห้งแล้วให้ผู้ค้ายาง  หรือผู้ส่งยางออกนอกประเทศ  ซึ่งผู้ค้ายางหรือผู้ส่งยางออกจะนำยางที่ซื้อไปรมควัน  ยางแผ่นที่ไม่รมจะส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศไม่ได้เพราะไม่มีผู้ซื้อยางชนิดนี้
          ส่วนสวนยางขนาดใหญ่  จะมีรถรมยางเดินบนรางเหล็กมารับยางที่แช่น้ำแล้ว  เอาไปผึ่งบนราวไม้บนรถรมยาง รถรมยางดังกล่าวนี้ มีขนาดกว้างยาวสูงประมาณ  ๒๑๕ x ๒๗๕ x ๓๑๐  เซนติเมตร  พาดยางได้คันละประมาณ  ๔๐๐-๖๐๐ แผ่น ในการรมจะนำเข้ารมทั้งรถทั้งยาง นับว่าสะดวกดีมาก
          การรมจะใช้ความร้อนประมาณ  ๑๐๐  องศาฟาเรนไฮต์ สำหรับ ๓-๔ ชั่วโมงแรก  แล้วจะค่อย    เพิ่มขึ้น  สำหรับวันแรกจะใช้ความร้อนไม่เกิน ๑๒๐  องศาฟาเรนไฮต์ วันที่ ๒ เพิ่มขึ้นเป็น ๑๓๐  องศาฟาเรนไฮต์   และในวันที่ ๓  ที่ ๔  จะใช้ความร้อน  ๑๔๕  องศาฟาเรนไฮต์  ซึ่งเป็นความร้อนสูงสุดสำหรับการรมยาง ความร้อนภายในโรงรมยางแต่ละวัน ควรอยู่ในระดับขาดเกินจากที่กำหนดไว้เพียง ฑ๕  องศาฟาเรนไฮต์เท่านั้น ถ้ายางแผ่นทำได้มาตรฐาน  คือ มีความหนาประมาณ ๒-๓  มิลลิเมตร และใช้กรดผสมยางชั้นดี จะรมได้ที่หรือสุกภายใน ๔ - ๕  วัน หลังจากนั้น จะเอาออกมาคัดเลือกเป็นยางชั้น  ๑-๒-๓-๔  และ ๕ ตามมาตรฐานสากลต่อไป  ชั้นของยางถือเอาความสะอาดเป็นเกณฑ์และตัดสินกันด้วยตา ตาของผู้ขายในประเทศไทยกับตาของผู้ซื้อในต่างประเทศมักจะไม่ตรงกัน จึงมีการโต้แย้งเรียกร้องเงินคืนหรือตัดราคากันอยู่เป็นประจำ
          โรงรมยาง  โดยที่สวนยางมีอยู่หลายขนาด  ฉะนั้น  โรงรมยางจึงมีหลายแบบ  คือ  แบบจิ๋ว  รมได้ครั้งละประมาณ ๑๐๐-๑๕๐ แผ่น โรงรมแบบ ๒ ชั้น  มีหลายขนาด รมได้ตั้งแต่ ๑,๐๐๐-๓๐,๐๐๐ แผ่น  แต่โรงรมเหล่านี้ คนต้องเอายางเข้าไปในโรงรม  โดยพาดไว้บนราวไม้ให้เป็นระเบียบ  เมื่อรมสุกแล้ว  ต้องเข้าไปลำเลียงเอาออกมา
          ส่วนสวนยางขนาดใหญ่จะใช้รถรมยางเข้าช่วย  เมื่อต้องใช้รถรมยาง โรงรมยางก็ต้องทำให้เหมาะกับรถรมยางที่ต้องเดินบนรางเหล็ก  โรงรมยางสำหรับรถรมยางจึงมี ๒ แบบ คือ แบบห้องแถว และ แบบอุโมงค์ สำหรับแบบห้องแถว  รถรมยางจะถูกนำเข้ารมเป็นห้อง  ๆ มีความร้อนและควันแยกเข้าเป็นห้อง ๆ ไป  ส่วนแบบอุโมงค์นั้นเป็นเหมือนอุโมงค์รถไฟ คือ เข้าทางเดียว เมื่อเข้าไปแล้วจะถอยกลับทางเก่าไม่ได้ ต้องออกอีกทางหนึ่ง
          อย่างไรก็ดี  โรงรมทุกแบบจะต้องให้ความร้อนเป็นขั้น ๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว และความสำคัญของโรงรมยางที่ดีนั้น  จะต้องประกอบด้วยลักษณะต่อไปนี้
          (๑) กระจายความร้อนได้สม่ำเสมอเท่ากันทั่วห้อง  เว้นแต่แบบอุโมงค์ความร้อนตรงตอนที่จะออกจะสูงกว่าตรงตอนแรกที่เข้าไป
          (๒)มีการควบคุมอุณหภูมิได้ดี
          (๓)การระบายอากาศดี
          (๔)มีการป้องกันไฟไหม้ไว้เป็นอย่างดี
          (๕)น้ำที่หยดจากยางมีทางไหลออกได้เร็วดี
          (๖)ควัน  และความร้อนไม่รั่วไหลออกได้ 

ขั้นที่ ๖ 
          การทำห่อยาง เมื่อได้คัดเลือกยางเป็นชั้น ๆ  ดีแล้ว  จะต้องห่อยางให้เป็นไปตามข้อบังคับสากล  ซึ่งสมาคมผู้ค้ายางของประเทศต่าง ๆ  ได้ตกลงกันไว้  คือ จะต้องใช้ยางที่มีคุณภาพชั้นเดียวกันห่อยาง ยางห่อหนึ่งจะต้องอัดให้แน่น ให้มีน้ำหนักตั้งแต่ ๒๒๔ - ๒๕๐  ปอนด์ (๑๐ ห่อจะเท่ากับน้ำหนัก ๑ ตัน) ไม่ต้องมีลวดรัด  ห่อหนึ่งจะมีปริมาตรประมาณ    ลูกบาศก์ฟุต   ฉะนั้น  การห่อยางจะต้องห่อให้กว้าง ยาว สูงประมาณ  ๒๐ x ๒๔ x ๑๘ นิ้ว   การทำห่อโดยวิธีอื่น  เรือเดินทะเลจะไม่รับขนส่งให้
          ยางทุกห่อจะต้องทาด้วยแป้งสีขาว  ตามสูตรการผสมแป้งของข้อบังคับสากล ทั้งนี้เพื่อมิให้ห่อยางติดกัน  และจะต้องเขียนบอกชั้นของยางไว้ ๒ ด้าน โดยใช้ตัวอักษรใหญ่ขนาด ๘ นิ้ว ชื่อของบริษัทผู้ส่งยางออก  จะต้องเขียนให้เห็น ๒  ด้านเช่นกัน  โดยใช้ตัวอักษรขนาด ๕ นิ้ว ถ้าจะมีเลขบอกครั้งที่หรือจำนวนก็ให้เขียนไว้ใต้ชื่อของบริษัทผู้ส่งยางออกโดยใช้เขียนด้วย๕นิ้ว 

การปลูกสับประรด

                                                               การเตรียมดิน    
              เนื่องจากสับปะรดเป็นพืชหลายฤดูกว่าจะรื้อแปลงปลูกใหม่กินเวลานานถึง 4-5 ปี  ซึ่งจะเก็บผลได้ถึง 3 ครั้ง แต่การเก็บผลในรุ่นที่ 3  มักจะลดลงอย่างมากถ้าหากมีการปฏิบัติดูแลรักษาไม่เพียงพอ  จึงนิยมเก็บผลเพียง  
2 ครั้ง  ก็รื้อแปลงเพื่อปลูกใหม่  
                ดังนั้นการเตรียมดินต้องเตรียมอย่างดี  การปรับระดับให้เรียบเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะจะทำให้ไม่มีน้ำท่วมขัง การไถดินให้ลึกจะช่วยให้การระบายน้ำและอากาศในดินเป็นไปอย่างสะดวก  เป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติทุกครั้งที่รื้อแปลงเพื่อปลูกใหม่  
                การเตรียมดินสำหรับการปลูกสับปะรดนั้น  หากเป็นที่เปิดใหม่มักใช้รถไถดันรากไม้ใหญ่ ๆ  ให้โผล่ขึ้นมาแล้วจุดไฟเผา  ต่อจากนั้นไถดินให้ลึก 20-30 เซนติเมตร  ไถพรวนอีก 2-3 ครั้ง  จนซากต้นไม้ใบหญ้ากลายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ปล่อยทิ้งเอาไว้ระยะหนึ่ง เพื่อให้เศษซากพืชเน่าสลายในดิน  แล้วปรับระดับให้เรียบเสมอ  แล้วจึงไถดินให้ลึกถึงระดับ 40-50 เซนติเมตร  เป็นการเปิดหน้าดินให้ลึกเพื่อระบายน้ำและอากาศ  
หากดินเป็นแปลงสับปะรดเก่า ใช้รถแทรกเตอร์ลากพรวน จานไถกลับไปมาจนต้นและใบแหลกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยไถกลบเศษต้นและใบสับปะรดนั้นลงในดินปล่อยเอาไว้สัก ระยะหนึ่งเพื่อให้เน่าเปื่อยเป็นอินทรีย์วัตถุและเป็นการปรับโครงสร้างของ ดินให้ดีขึ้น  แล้วจึงไถดินให้ลึก 40-50 เซนติเมตร และใช้พรวนจานไถอีกครั้งเมื่อใกล้ระยะเวลาที่จะปลูก 
                                                            การเตรียมหน่อพันธุ์ก่อนปลูก   
                                                                                                  - การคัดขนาดหน่อหรือจุกก่อนปลูก   
               ถือว่าจำเป็นอย่างยิ่งในการปลูกสับปะรดควรจะมีการคัดขนาดแบ่งเป็นกลุ่มอย่างชัดเจน และมีขนาดเท่า ๆ กัน และปลูกเป็นแปลง ๆ หรือชุด ๆ ไป  จะทำให้การเติบโตของต้นสม่ำเสมอกันทั้งแปลง  ใส่ปุ๋ยแต่ละต้นได้พร้อมกันและใส่ปริมาณต่อต้นเท่า ๆ กัน  บังคับผลได้พร้อมกันทั้งแปลง  ง่ายต่อการบำรุงรักษา  สับปะรดแก่พร้อมกันง่ายต่อการประเมินผลผลิตและเก็บเกี่ยว 
                                                                    หน่อ  
          ขนาด                  น้ำหนัก (กรัม)         ความยาว-สูง (ซม.)    
          เล็ก    300-50030-50
         กลาง    500-70050-75 เป็นขนาดที่เหมาะสมที่สุด
         ใหญ่    700-90065-85
      ใหญ่มากมากกว่า 900มากกว่า 70
                                                                    
                                                                     จุก  
            ขนาดนํ้าหนัก (กรัม)
             เล็ก100-200
            กลาง200-300 เป็นขนาดที่เหมาสมที่สุด
            ใหญ่300-400
           ใหญ่มากมากกว่า 400
                        การชุบหน่อหรือจุกด้วยสารเคมีก่อนปลูก   
        เป็นการลดอัตราการสูญเสียของต้น  อันเนื่องมาจากโรคยอดเน่าหรือต้นเน่า  ทั้งเป็นการประหยัดแรงงานและเวลาในการปลูกหน่อซ่อมแซมใหม่อีกด้วย  การชุบหน่ออาจทำได้โดยเครื่องจักรอัตโนมัติ  แต่เกษตรกรโดยทั่ว ๆ ไปอาจใช้ถัง 200 ลิตร  แล้วผ่าครึ่งถัง หรือสร้างบ่อซิเมนต์ขนาดย่อม ๆ  ใช้เป็นที่ชุบหน่อก็จะสะดวกยิ่งขึ้น 
สำหรับสารเคมีกันเชื้อรา และอัตราที่ใช้โดยเลือกใช้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง    มีดังนี้ 
1.  แคปตาโฟล  เช่น  ไดโฟลาแทน 80%  อัตรา 60-120   กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ 86 กรัมต่อน้ำ 8.6 ลิตร  ชุบได้ 1,000 หน่อ 
2.  ฟอสเอธิล อลูมินั่ม  เช่น  อาลีเอท อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร 
3.  เมตาแลกซิล  เช่น  ริโดมิล อัตรา 30-45 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร 
ถ้าพบเพลี้ยแป้งมากับหน่อพันธุ์ควรผสมสารฆ่าแมลง มาลาไธออน อัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ลงไปในสารชุบหน่อพันธุ์ด้วยโดยจุ่มหน่อพันธุ์ให้ชุ่มก่อนปลูก  จุ่มนานประมาณ 3 นาที และถ้าปลูกไปแล้ว  หากมีฝนตกชุก  ควรใช้สารเคมีดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่งฉีดซ้ำอีกทั่วทั้งแปลง  ในกรณีปลูกซ่อมหรือปลูกปริมาณน้อย  การชุบหน่อพันธุ์อาจจะสิ้นเปลือง  ใช้วิธีหยอดยอดก็ได้  โดยใช้อาลีเอท 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร  ใช้หยอดยอดละ 50 ซีซี  หรือเต็มยอด  ให้ทำทันทีหลังจากปลูกสำเร็จสามารถป้องกันโรคได้นานประมาณ 4 เดือ
                           การควบคุมและกำจัดวัชพืช   
ในปัจจุบันนิยมใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชมากกว่าใช้แรงคน  เพราะประหยัดและรวดเร็วกว่า  หากทำการควบคุมวัชพืชได้ดี  สามารถเพิ่มผลผลิตได้มากกว่าเดิมถึง 1 ใน 4 เท่าตัว  การใช้แรงงานคนกำจัดวัชพืชโดยถากด้วยจอบ  ต้องทำไม่ต่ำกว่า 8 ครั้งต่อ 1 ฤดูปลูก  การใช้จอบจะรบกวนระบบรากของสับปะรดทำให้การเจริญเติบโตของต้นและคุณภาพของผลผลิตต่ำกว่า ใช้สารเคมี สารเคมีกำจัดวัชพืชที่นิยมใช้ในแปลงสับปะรด ได้แก่  ไดยูรอน  เช่น  ไดยูเร็กซ์    โวร็อกซ์   คารอน  เป็นต้น  ซึ่งเป็นสารเคมีคุมวัชพืชใบกว้างได้ผลดี  ใช้ฉีดพ่นก่อนวัชพืชจะงอก และโบรมาซิล  เช่น  ไลก้าร์-เอ็กซ์  ซึ่งเป็นสารเคมีฆ่าวัชพืชใบแคบได้ผลดีใช้ฉีดพ่นในแปลงสับปะรด  เมื่อมีวัชพืชงอกขึ้นมาแล้วหรือจะใช้ทั้ง 2 ชนิดผสมกันโดยใช้โบรมาซิล 363 กรัม และไดยูรอน 363 กรัม  ผสมน้ำฉีดพ่นในเนื้อที่ 1 ไร่  ฉีดทันทีหลังจากปลูกสับปะรดหากหญ้าสูงอาจต้องเพิ่มปริมาณยาเพิ่มขึ้น  จึงไม่ควรปล่อยไว้นาน  แล้ว  สามารถควบคุมวัชพืชทั้งชนิดใบแคบและใบกว้างอื่น ๆ ได้นานถึง 4 เดือน  
ในแปลงสับปะรดที่ปลูกแซมในสวนยางพารา หรือสวนไม้ผลอื่น ๆ  ไม่แนะนำให้ใช้โบรมาซิล  เพราะถ้าใช้ซ้ำซาก จะเกิดการสะสมในดินโดยสารเคมีจะจับตัวกับเม็ดดิน  เมื่อน้ำพัดพาไปจะเกิดอันตรายกับพืชอื่น ๆ ได้  ให้ใช้อะทราซิน  เช่น  เอเทรก90 หรืออะมีทริน80   ผสมกับไดยูรอน แทน
การใช้สารเคมีกำจัด วัชพืช  ควรผสมสารจับใบลงไปประมาณ 0.1-0.3% โดยริมาตร  จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น  อาจพ่นซ้ำอีก 1 ครั้ง  เมื่อพบว่าวัชพืชงอกขึ้นมา  โดยพ่นหมดทั้งแปลง หรือเฉพาะจุดก็ได้  
ข้อควรระวัง ภายหลังจากการใช้สารเคมีเร่งดอกสับปะรดแล้วห้ามใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชจนกว่าจะเก็บผลเสร็จสิ้น

                          ธาตุอาหารที่จำเป็นและการใช้ปุ๋ยเคมีในสับปะรด  
           สับปะรดเป็นพืชที่ต้องการธาตุไนโตรเจน และโพแทสเซียมสูง  ถ้าขาดไนโตรเจนจะเริ่มแสดงอาการที่ ใบอ่อนจะมีสีเขียวจาง ๆ  แต่ใบแก่ยังคงมีสีเขียวเข้ม  ต่อมาใบที่งอกใหม่จะมีขอบสีแดง  แต่บัวใบสีเหลืองซีดถึงช่วงนี้แล้วต้องรีบแก้ไขโดยให้ปุ๋ยทันที มิฉะนั้นจะทำให้ผลผลิตลดลงมาก หน่อและตะเกียงจะไม่เกิดเลย  ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตเป็นแหล่งไนโตรเจน  ที่หาได้ง่ายและราคาไม่แพงนัก
             ถ้าขาดโพแทสเซียม  ปลายใบจะไหม้  จะมีจุดไหม้ที่ใบแก่  ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและเหี่ยวแห้งไป  ผลมีขนาดเล็กสุกช้า และมีปริมาณกรดในเนื้อสับปะรดน้อยมาก  ธาตุโพแทสเซียมนี้ได้จากปุ๋ยโพแทสเซียมซัลเฟตเป็นส่วนใหญ่   ความต้องการธาตุฟอสฟอรัสในสับปะรด  นับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับธาตุอาหารหลักทั้งสอง  เพราะส่วนใหญ่ในดินมีฟอสฟอรัสเพียงพออยู่แล้ว  แต่ถ้าในดินขาดธาตุฟอสฟอรัสแล้วจะทำให้ต้นไม่แข็งแรง  หน่อและตะเกียบจะลดจำนวนลงมาก  
              อาการขาดธาตุเหล็ก  เริ่มจากใบอ่อนมีสีซีดคล้ายขาดไนโตรเจนและมีรอยแต้มสีแดงขึ้นทั่วไป  มีสีน้ำตาลที่ปลายรากและไม่มีรากแขนงให้เห็น  ผลจะแก่เร็วขึ้น  แต่มีกรดในเนื้อต่ำ  การแก้ไขอาการขาดธาตุเหล็กนั้นโดยการใช้เหล็กซัลเฟตฉีดพ่นในอัตรา 1-3 ในบริเวณที่มีแมงกานีสสูงหรือในดินที่มีระดับความเป็นกรด-ด่างที่สูงกว่า 5.8  จะพบอาการขาดธาตุเหล็กอยู่เสมอในดินทรายที่มีอินทรียวัตถุต่ำจะพบอาการขาดธาตุทองแดง และสังกะสีอาการปรากฏคือที่ยอดของใบอ่อน จะบิด เบี้ยวใบจะแคบ และมีสีเหลืองอ่อนความ ทนทานของผล ต่อแสงแดดจะลดลง  ทำให้ผิวเปลือกไหม้เกรียมเป็นหย่อม ๆ  แก้ไขโดยใช้สังกะสีซัลเฟตและทองแดงซัลเฟตในรูปสารละลายฉีดพ่นให้ทั่วทั้งต้นและใบ   ปุ๋ยที่จะใส่ให้สับปะรดนับเป็นปัจจัยสำคัญในการควบคุมความเป็นกรด-ด่างของดิน  การใช้ปุ๋ยเคมีในรูปแคลเซียมจะมีส่วนเพิ่มความเป็นด่าง  ในขณะเดียวกันการใช้ปุ๋ยเคมีที่อยู่ในรูปซัลเฟตจะเพิ่มความเป็นกรดในดิน  การให้ปุ๋ยสับปะรดนั้นผู้ปลูกแต่ละรายก็ใช้ปุ๋ยแตกต่างกันไป  เนื่องจากสภาพดิน และปัจจัยอื่น ๆ  ส่วนใหญ่จะใช้ปุ๋ย 3-4 ครั้งต่อรุ่น  ปุ๋ยที่ใช้มากคือ ปุ๋ยไนโตรเจนและปุ๋ยผสมสูตรต่าง ๆ  เช่น  12-4-18+ธาตุอาหารเสริม  
                 ปุ๋ยสำหรับสับปะรด  กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำการใส่ปุ๋ยดังนี้ คือ  
                                                             สับปะรดรุ่นแรก  
             ครั้งที่ 1  ก่อนปลูกใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอก ตันผสมปุ๋ยหินฟอสเฟตสูตร 0-3-0 อัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่   โรยเป็นแถวหลังไถแปรตามแนวร่องปลูกเพื่อปรับปรุงดินสำหรับกระตุ้นการออกราก  
            ครั้งที่2 หลังปลูก1-2 เดือนหรือระยะเริ่มออกรากใส่ปุ๋ยสูตรที่มีสัดส่วนไนโตรเจนสูง  เช่น  สูตร 21-0-0 หรือ 16-20-0 อัตรา 7-10 กรัมต่อต้น  ใส่ดินโคนต้นฝังหรือกลบปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกในขณะดินมีความชื้นเพียงพอ  
             ครั้งที่ 3  หลังปลูก 4-6 เดือน  ใส่ปุ๋ยครบสูตรที่มีสัดส่วนโพแทสเซียมสูง 3:1:4  เช่นสูตร 12-4-18+ธาตุอาหารเสริม, 15-5-20, 13-13-21 หรือสูตรใกล้เคียง  ซึ่งไนโตรเจนไม่ควรเกิน 15%  ป้องกันสารไนเตรทตกค้างอัตรา 10 กรัมต่อต้น  ใส่บริเวณกาบใบล่างในขณะกาบใบมีน้ำเพียงพอที่จะละลายปุ๋ย  
              ครั้งที่4  ก่อนบังคับผล1-2 เดือน  ให้ธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมได้แก่ แคลเซียม โบรอน โดยฉีดพ่นเข้าทางใบ  
             ครั้งที่ 5  หลังบังคับผลประมาณ เดือน  ใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ (0-0-60) หรือโพแทสเซียมซัลเฟต (0-0-50) อัตรา 7-10 กรัมต่อต้น  ใส่บริเวณกาบใบล่างในขณะกาบใบมีน้ำเพียงพอที่จะละลายปุ๋ย  
                                                 สับปะรดที่ไว้หน่อ(หลังเก็บผลรุ่นแรก)  
หลังจากเก็บเกี่ยวประมาณ 1 เดือน  ใส่ปุ๋ยสูตร 21-0-0 หรือ 16-20-0 บริเวณกาบใบล่างอัตรา 10กรัมต่อต้น  เพื่อบำรุงต้นตอและเร่งหน่อ  
ระยะดูแลรักษาต้นตอจนถึงระยะบังคับผล และระยะเก็บเกี่ยวใส่สูตรและอัตราเดียวกับต้นรุ่นแรก (ครั้งที่ 3-5)  ถ้ามีฝนให้ใส่ที่กาบใบหน้าแล้งอาจใช้วิธีฉีดพ่นทางใบ  
                                   การใช้สารเคมีเร่งการออกดอกในสับปะรด  
                     
เนื่องจากสับปะรดมีอายุการออกดอกค่อนข้างช้า และไม่สม่ำเสมอซึ่งมีผลไปถึงการเก็บผลด้วย  แต่ในบรรดาพืชมีดอกทั้งหลาย  สับปะรดนับว่าเป็นพืชที่ใช้สารเคมีเร่งให้ออกดอกก่อนกำหนดได้ง่าย  
สารเคมีที่ใช้เร่งดอกสับปะรด ที่นิยมใช้กันมากได้แก่  
1. เอทธิฟอน   
เป็นสารเคมีที่ให้ก๊าซเอทธิลินโดยตรง  เมื่อเอทธิฟอนเข้าไปในเนื้อเยื่อสับปะรด  จะแตกตัวปล่อยเอทธิลินออกมา  เอทธิลินเป็นตัวชักนำให้เกิดการสร้างตาดอกขึ้น  ซึ่งจะทำให้เก็บผลได้ก่อนกำหนดประมาณ2เดือน  
เอทธิฟอน  มีชื่อการค้าหลายชื่อ  แต่ที่นิยมคือ อีเทรล (39.5% เอทธิฟอน) อีทีฟอน 48%  อีเกอร์ 48 %    โดยใช้ในอัตรา 8 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร(หรือ 2 ลิตรต่อน้ำ 1000   ลิตรเติมโบรอนลงไป 1 กิโลกรัมสำหรับชนิดผงหรือ 500 ซีซี สำหรับชนิดน้ำ) และเติมปุ๋ยยูเรียอีก 300 กรัม(46-0-0  10 กิโลกรัม สำหรับน้ำ 1000  ลิตร )  ผสมให้เข้ากันดีแล้วใช้หยอดยอดหรือฉีดพ่น ต้นละ 70-80 ซีซี หยอด 2 ครั้ง ห่างกัน 5-7 วัน  สารนี้เมื่อผสมน้ำแล้วต้องใช้ทันทีอย่างช้าไม่เกิน 2 ชั่วโมง  มิฉะนั้นสารเคมีจะลดประสิทธิภาพลงเวลาที่เหมาะสมในการหยอด คือ ตอนเช้ามืด และต้นสับปะรดต้องมีลักษณะพร้อมที่จะออกดอก  หากฝนตกมาภายใน ชั่วโมงหลังการใช้สารนี้ให้ทำซ้ำอีกครั้ง ให้เร็วเท่าที่จะทำได้  
ปริมาณการใช้เอทธิฟอนจะมากหรือน้อย  ขึ้นอยู่กับฤดูกาลและขนาดต้นสับปะรด  ถ้าต้นสมบูรณ์มากให้ใช้ปริมาณมากขึ้นหรือหากจำเป็นต้องหยอดยอดในตอนกลางคืนช่วงที่มีอากาศร้อนอบอ้าว  ให้ใช้ปริมาณมากขึ้นอีกเท่าตัว  

  

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

น้ำยางข้น


                                                     น้ำยางข้น
น้ำยางข้น (Concentrated latex) : หมายถึงน้ำยางธรรมชาติที่ผ่านกระบวนการเพิ่มความเข้มข้น โดยน้ำยางธรรมชาติที่ผ่านกระบวนการเพิ่มความเข้มข้นแล้วจะมีปริมาณเนื้อยางประมาณร้อยละ 55-65 ซึ่งสูงกว่าน้ำยางสดที่มีปริมาณเนื้อยางประมาณร้อยละ 25-30 ทำให้สามารถทำการขนส่งได้ง่ายขึ้นเป็นอย่างมาก
 กระบวนการเตรียมน้ำยางข้นจากน้ำยางสด
  • การทำครีม (Creaming method) : การทำน้ำยางข้นโดยวิธีการทำครีม เป็นวิธีที่อาศัยหลักการที่อนุภาคของเม็ดยางเบากว่าน้ำ เป็นไปตามกฎของ Stokes การทำน้ำยางข้นโดยวิธีการทำครีม ไม่ค่อยนิยมกันมากนัก เนื่องจากต้องใช้เวลานานในการเตรียมสารและใช้เวลาทำค่อนข้างนาน สารทำครีมได้แก่ gum bragacarth, sodium aginate, tragon seed gum, ammonium aginate, locust bean gum และ pectin สมบัติของสารทำครีม คือ เป็นคอลลอยด์ที่ชอบน้ำ และจะพองตัวเมื่อใส่ในน้ำมัน ขั้นตอนการทำครีม ค่อนข้างง่าย คือ
    • ใส่สารทำครีม ปริมาณ 0.3% ในส่วนของน้ำ สงในน้ำยางสดที่เก็บรักษาโดยแอมโมเนีย
    • กวนให้สารทำครีมละลาย ตั้งทิ้งไว้ 24-40 ชั่วโมง
    • กรองเอาชั้นน้ำออกจากของผสม
    • ปรับปริมาณเนื้อยางและความเข้มข้นของแอมโมเนียภายหลัง
ความเข้มข้นของเนื้อยางจะสูงประมาณ 55% ในช่วงระยะเวลา 18 ชั่วโมง ในการทำน้ำยางข้นโดยวิธีการทำครีม หากต้องการเนื้อยางสูงถึง 60% ต้องตั้งทิ้งไว้อย่างน้อย 4-5 วัน
  • การเซนตริฟิวส์ (Centifuge method)                                                               
  •                                                                               วิธีการผลิตยางน้ำข้นของไทย
    รวบรวมโดย charit  phomkum
               น้ำยางสด (Latex) ที่ได้จากการกรีด (Tapping) ต้นยางออกมาใหม่ๆ จะอยู่ในสภาพที่เรียกว่า Colloids ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่สำคัญดังนี้
    ส่วนที่เป็นน้ำ (Watery)      ส่วนนี้ทำหน้าที่เป็นตัวกลาง (Medium) ของ (Colliods) มีอยู่ประมาณ 60% ของน้ำยางบริสุทธิ์ มีความถ่วงจำเพาะ (S.gr)1
    ส่วนที่เป็นของแข็งแต่ไม่ใช่ยาง (Non-rubber solid)     ประกอบด้วย Protein , Lipids , Carbohydrate และ Inorganic salts มีอยู่ทั้งสิ้นประมาณ 5% โดยน้ำหนักของน้ำยาง มีทั้งที่อยู่ในรูปสารละลายและสารแขวนลอยองค์ประกอบเหล่านี้ทำให้ส่วนที่เป็นน้ำกลายเป็นน้ำที่ไม่บริสุทธิ์น้ำยางที่รวมเอาส่วนนี้เข้าไปด้วยเรียกว่า Serum มีความถ่วงจำเพาะประมาณ 1.02
    ส่วนที่เป็นยาง (Rubber Hydrocarbon) เป็นส่วนที่มนุษย์เรานำไปใช้ประโยชน์ พวกยางแผ่น ยางแท่ง ยางเครพ หรือยางทุกรูปแบบที่ซื้อขายกันอยู่ในตลาดได้ไปจากส่วนนี้ทั้งสิ้น น้ำยางที่ยังสดอยู่ส่วนนี้จะอยู่กันเป็นเม็ดๆ เรียกว่า อนุภาคยาง (Rubber Particles) ซึ่งแขวนลอย (Suspended) อยู่ในส่วนที่เป็นของเหลว (Serum) และมีประจุไฟฟ้าเป็นลบ (Negative Charges) อนุภาคยางมีความถ่วงจำเพาะ 0.92 ซึ่งเบากว่าส่วนที่เป็นตัวกลางซึ่งมี ถ.พ. 1.02 แต่ที่อนุภาคยางไม่ลอยฟ่องอยู่บนผิวของตัวกลางก็เพราะว่า แรงผลักดันซึ่งกันและกันอันเนื่องมาจากการมีประจุดไฟฟ้าที่เหมือนกันทำให้อนุภาคยางเคลื่อนที่ไปมาแบบไร้ทิศ (Brownian Movement) อยู่เสมอ อนุภาคยางจะอยุดการเคลื่อนที่เมื่อประจุไฟฟ้ารวมของน้ำยางเป็นศูนย์ (Isoelectric Point) จากนั้นก็จะจับตัวกันเป็นก้อนลอยฟ่องบนผิดของ Serum การทำยางแผ่น ยางแท่ง หรือยางเครพ ที่เราเติมกรดลงไปก็เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวนี้ ในทางตรงกันข้ามเวลาถนอมน้ำยาง เราจะเติม Ammonia ลงไปก็เพื่อให้ประจุลบที่เกิดจาก (OH) ไปคลอบอนุภาคยางเอาไว้ เพื่อทำหน้าที่เป็นด่านป้องกันประจะบวก (Positive Charges) ใดๆ ที่จะเข้าไปทำให้ประจุลบบนอนุภาคยางเป็นศูนย์นั่นเอง
               ส่วนที่เป็นยางนี้มีอยู่ในน้ำยางในปริมาณไม่แน่นอน มีตั้งแต่ 22% จนถึง 48% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ อายุ ระบบกรีด และฤดูกาล ดังนั้นในการซื้อจากน้ำหนักหรือปริมาณของน้ำยางโดยตรงได้ จะต้องใช้น้ำหนักของส่วนที่เป็นยางเรียนว่า DRC หรือ Dry Rubber Content แต่เพียงอย่างเดียว แต่โดยทั่วไปแล้วน้ำยางสดจะมีส่วนเป็นยาง หรือ DRC เฉลี่ยประมาณ 35%
              ดังได้กล่าวมาแล้ว น้ำยางสดซึ่งมี DRC 35% ก็สามารถเก็บไว้ใช้ประโยชน์ได้ เพียงแต่เติม Ammonia เพื่อป้องกันไม่ให้อนุภาคยางจับตัวกันก็ใช้ได้ แต่การทำเช่นนี้ไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ เพราะน้ำยางมีน้ำมากเกินไป ดังนั้นจึงมีการทำให้ส่วนที่เป็นน้ำพร่องออกเสียก่อน แล้วค่อยเติมสารกันบูด (Preservative) เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำยางจับตัวภายหลัง น้ำยางที่ได้นี้จึงเรียกกันว่า "น้ำยางข้น" (Concentrated Latex) จากวิทยาศาสตร์เบื้องต้นของน้ำยางที่กล่าวมาจะเห็นว่า มีแนวทางทำน้ำยางสดให้เป็นน้ำยางข้นอย่างง่ายๆ ได้ 3 วิธี
        1.              การให้ความร้อนเพื่อให้ส่วนที่.   เป็นน้ำระเหยออกไปเรียกว่า (Evaporation Method)น้ำยางข้นที่ได้เรียก Evaporation Latex                                                                                                                                                           
          2.              การเติมสารบางอย่าง (Creaming Agents) ลง    ไปเพื่อทำให้อนุภาคยางโตขึ้นและหยุดการเคลื่อนที่เรียกว่า (Creaming Method) และน้ำยางที่ได้เรียก Creamed Latex                                                                                                   .     3.               การแยกเอาส่วนที่ไม่ใช่ยางซึ่งมีทั้งส่วนที่เป็นน้ำและส่วนที่เป็นของแข็ง (Non-Rubber solid) ออกจากส่วนที่เป็นยางโดยใช้แรงเหวี่ยง (Centrifuging Force) น้ำยางที่ได้เรียก Centrifuged Latex วิธีนี้นิยมกันมากเพราะทำได้เร็วและน้ำยางข้นที่ได้มีความบริสุทธิ์สูงขึ้นด้วย ประเทศไทยเราผลิตน้ำยางข้นโดยใช้วิธีนี้กันหมดทั้ง
ประเทศ

.การแยกตัวของน้ำยางเมื่อถูกปั่น
   หากเข้าใจลักษณะของการแยกตัวขององค์ประกอบของน้ำยางสดเวลาถูกปั่นด้วยเครื่อง Centrifuging Machine แล้ว จะสามารถประมาณการ การใช้น้ำยางสดและน้ำยางข้นที่ได้อย่างถูกต้องน้ำยางสดเมื่อนำมาปั่น องค์ประกอบต่างๆ จะแยกตัวออกเป็น น้ำยางข้น (Concentrate Latex) และหางน้ำยาง (Skim Latex) ดังนี้
ตาราง : การแยกตัวขององค์ประกอบของน้ำยางสด เมื่อถูกปั่น
องค์ประกอบ
น้ำยางสด
(Fleld Latex)
100 gm
น้ำยางข้น
(concentrated Latex)
50 gm
หางน้ำยาง
(Skim Latex)
50 gm
DRC
32.5 gm
30 gm 60%
2.5 gm 5.0%
TSC
36.0 gm
30.75 gm 61.50%
5.25 gm 10.50%
TSC-DRC
3.5 gm
0.75 gm 1.5%
2.75 gm 5.50%
VFA No
0.10
0.060
0.040
Mg++
200 ppm on Latex
120 ppm
80 ppm
Serum
64 gm
19.25 gm 38.50%
44.75 gm 89.50%
รวม
100 gm
50 gm 100%
50 gm 100 %